ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 226อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 227อ่านอรรถกถา 23 / 228อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ สัตตาวาสวรรคที่ ๓
๓. ตัณหาสูตร

               อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓               
               ตัณหาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ตัณหา ๒ อย่าง คือ เอสนตัณหา (ตัณหาในการแสวงหา) ๑ เอสิตตัณหา (ตัณหาในการแสวงหาได้แล้ว) ๑.
               บุคคลเดินไปตามทางแพะและทางที่มีตอไม้เป็นต้น เสาะแสวงหาโภคะด้วยตัณหาใด ตัณหานี้ ชื่อว่าเอสนตัณหา. ตัณหาใดเมื่อบุคคลเสาะแสวงหาได้โภคะแล้ว ตัณหานี้ ชื่อว่าเอสิตตัณหา.
               แต่ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ได้แก่ เอสนตัณหา.
               บทว่า ปริเยสนา ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เมื่อเอสนตัณหามีอยู่ การแสวงหานั้นก็ย่อมมี.
               บทว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปร่างเป็นต้น ก็เมื่อการแสวงหามีอยู่ การได้ก็ย่อมมี.
               ก็วินิจฉัย (การไตร่ตรอง) มี ๔ อย่าง คือ ญาณวินิจฉัย ๑ ตัณหาวินิจฉัย ๑ ทิฏฐิวินิจฉัย ๑ วิตักกวินิจฉัย ๑.
               ในวินิจฉัย ๔ อย่างนั้น บุคคลรู้ถึงสุขวินิจฉัยในข้อที่ท่านกล่าวว่า พึงรู้ถึงสุขวินิจฉัยดังนี้แล้ว พึงบำเพ็ญให้ถึงความสุขในภายใน นี้ชื่อว่า ญาณวินิจฉัย.
               บทว่า วินิจฺฉยา ได้แก่ วินิจฉัยสองอย่าง คือ ตัณหาวินิจฉัยและทิฏฐิวินิจฉัย.
               ตัณหาวิจริต ๑๐๘ ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย.
               ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิวินิจฉัย.
               แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวินิจฉัยได้แก่ วิตก เท่านั้น ดังที่มาในสูตรว่า ฉนฺโท โข เทวานมินฺท วิตกฺกนิทา โน ความว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะแลมีวิตกเป็นที่เกิด ดังนี้.
               บุคคลแม้ได้ลาภแล้ว ก็ยังไตร่ตรองถึงสิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ถึงสิ่งดีและไม่ดีด้วยวิตกว่า เท่านี้จักมีเพื่อรูปารมณ์แก่เรา เท่านี้จักมีเพื่อสัททารมณ์ เท่านี้จักมีแก่เรา เท่านี้จักมีแก่ผู้อื่น เราจักบริโภคเท่านี้ เราจักเก็บไว้เท่านี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลาภํ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย ไตร่ตรองอาศัยลาภดังนี้.
               บทว่า ฉนฺทราโค ความว่า ราคะอย่างอ่อนและราคะอย่างแรง ย่อมเกิดขึ้นในวัตถุที่ตรึกด้วยอกุศลวิตกอย่างนี้.
               จริงอยู่ บทว่า ฉนฺโท ในสูตรนี้เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน.
               บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่ ทำการยึดถือด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ.
               บทว่า มจฺฉริยํ ได้แก่ ทนต่อความเป็นของทั่วไปแก่ผู้อื่นไม่ได้.
               ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวความแห่งถ้อยคำอย่างนี้ของมัจฉริยะนั้นว่า ความอัศจรรย์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มัจฉริยะ เพราะเป็นไปแล้วในความว่า ขอความอัศจรรย์จงมีแก่เราเท่านั้น ขอจงอย่ามีแก่คนอื่นเลยดังนี้.
               บทว่า อารกฺขา ได้แก่ การรักษาไว้ด้วยดี โดยปิดประตูและเก็บรักษาไว้ในหีบเป็นต้น.
               ชื่ออธิกรณะ เพราะทำให้ยิ่ง บทนั้นเป็นชื่อของเหตุ.
               บทว่า อารกฺขาธิกรณํ เป็นนปุงสกลิงค์ภาวสาธนะ. อธิบายว่า เหตุแห่งการอารักขา.
               ในบทว่า ทณฺฑาทานํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
               การถือท่อนไม้เพื่อกั้นผู้อื่น ชื่อว่า ทณฺฑาทานํ. การถือศัตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทานํ. การทะเลาะกันด้วยกายก็ดี การทะเลาะกันด้วยวาจาก็ดี ชื่อว่า กลโห.
               ตอนแรกเป็นวิคคหะ ตอนหลังเป็นวิวาท.
               บทว่า ตุวํตุวํ ได้แก่ พูดขึ้นมึงขึ้นกู โดยไม่เคารพกัน.

               จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ สัตตาวาสวรรคที่ ๓ ๓. ตัณหาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 226อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 227อ่านอรรถกถา 23 / 228อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=8523&Z=8533
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6852
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6852
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :