ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 239อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 240อ่านอรรถกถา 23 / 241อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔
๕. ฌานสูตร

               อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕               
               ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
               บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌานนั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี.
               พึงทราบเวทนาเป็นต้นด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกันเป็นต้น).
               บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.
               ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้
               ชื่อว่าโดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะอาการมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าโดยเป็นทุกข์ เพราะอาการบีบคั้น. ชื่อว่าโดยเป็นโรค เพราะอาการเสียดแทง. ชื่อว่าโดยเป็นฝี เพราะเจ็บปวดภายใน. ชื่อว่าโดยเป็นลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป. ชื่อว่าโดยเป็นความลำบาก เพราะทนได้ยาก. ชื่อว่าโดยอาพาธ เพราะถูกเบียดเบียน. ชื่อว่าโดยเป็นอื่น เพราะไม่ใช่เป็นของตน. ชื่อว่าโดยเป็นของทำลาย เพราะผุพังไป. ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะไม่เป็นเจ้าของ. ชื่อว่าโดยเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ.
               บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า.
               บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้น.
               บทว่า ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย.
               บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ.
               บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง.
               บทว่า สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก.
               บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน.
               บทว่า โส ตตฺถ ฐิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.
               พึงทราบอีกนัยหนึ่ง บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วยหกบทมีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วยสามบท คือ ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น.
               บทว่า จิตฺตํ ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ รวบรวมน้อมนำจิตเข้าไป.
               บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไปซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติและด้วยบัญญัติ. ภิกษุย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบ นี้ประณีตด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทงตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้.
               บทว่า โสตตฺถ ฐิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.
               บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตามลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.
               บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา.
               บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน นั้นนั่นเอง.
               จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถก็เป็นพระอนาคามี.
               บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน.
               ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล.
               ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.
               ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป.
               ถามว่า เพราะเหตุไร.
               ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว.
               จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้วด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูปนั้นแม้ด้วยวิปัสสนา. ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป.
               ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
               ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.
               จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
               ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่าสจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.
               บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่งคือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ.
               บทว่า วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น.
               บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าวโดยชอบ.
               บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบประณีต ดังนี้.

               จบอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔ ๕. ฌานสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 239อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 240อ่านอรรถกถา 23 / 241อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9041&Z=9145
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6959
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6959
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :