ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 195อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 196อ่านอรรถกถา 24 / 197อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ปฐมวรรคที่ ๑
๘. กรรมสูตรที่ ๓

               อรรถกถาสูตรที่#- ๙               
#- อรรถกถาแก้บาลีข้อ ๑๙๖ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ ๘ ในวรรคนี้.

               สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นวิบาก หรือทุกข์ในวัฏฏะ.
               ในสูตรนี้ ไม่มีข้ออุปมาด้วยลูกบาศก์.
               คำว่า เอวํ ในบทว่า เอวํ วิคตาภิชฺโฌ นี้เป็นเพียงนิบาต.
               อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลายเจริญเมตตา ย่อมเป็นผู้ปราศจากอภิชฌาฉันใด พระอริยสาวกก็เป็นผู้ปราศจากอภิชฌาฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการที่พระอริยสาวกนั้นข่มนิวรณ์ได้ด้วยความเป็นผู้ปราศจากอภิชฌาเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะตรัสนิสสรณะ การแล่นออกไปจากอกุศล จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น.
               บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะเป็นผู้มีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ หรือเพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสมแล้ว. กามาวจรกรรม ชื่อว่ากรรมที่ทำโดยประมาณ.
               บทว่า น ตํ ตตฺราวติฏฺฐติ ความว่า กามาวจรกรรมนั้นไม่อาจถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้ เหมือนน้ำเล็กน้อยในห้วงน้ำใหญ่ ที่แท้กรรมที่ไม่มีประมาณนี้เท่านั้น ครอบงำกามาวจรกรรมนั้นเหมือนน้ำเล็กน้อยในห้วงน้ำ ย่อมทำวิบากของตนให้บังเกิด.
               บทว่า ทหรตคฺเค แปลว่า ตั้งแต่เป็นเด็ก.
               บทว่า นายํ กาโย อาทาย คมนีโย ความว่า ไม่อาจพากายนี้ไปยังปรโลกได้.
               บทว่า จิตฺตนฺตโร แปลว่า มีจิตเป็นเหตุ.
               อีกนัยหนึ่ง แปลว่า เป็นไปในลำดับโดยจิตนั้นแล.
               อธิบายว่า จริงอยู่ จะชื่อว่าเทวะ ชื่อว่าสัตว์นรก ชื่อว่าสัตว์เดียรัจฉาน ก็เพราะปฏิสนธิจิตดวงที่ ๒ ในลำดับแห่งจุติจิตดวงที่ ๑ นั่นแล. แต่ในนัยต้น จะเป็นเทวะ หรือสัตว์นรกก็ด้วยทั้งจิตที่เป็นตัวเหตุ.
               บทว่า สพฺพนฺตํ อิธ เวทนียํ นี้ ตรัสด้วยอำนาจส่วนแห่งทิฏฐธรรมเวทนียกรรม.
               บทว่า น ตํ อนุภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นกรรมที่ไม่ดำเนินตามด้วยอำนาจอุปปัชเวทนีกรรม เพราะความเป็นอุปปัชชเวทนีกรรมถูกเมตตาตัดขาดแล้ว. แต่ข้อนี้ พึงทราบว่าเป็นปัจเวกญาณของพระอริยบุคคล คือพระโสดาบันและพระสกทาคามี.
               บทว่า อนาคามิตาย ได้แก่ เพื่อความเป็นพระอนาคามีโดยญาณ.
               บทว่า อิธ ปญฺญสฺส ความว่า ชื่อว่าปัญญา ในพระศาสนานี้เป็นของสำหรับพระอริยสาวกผู้ตั้งอยู่ในอริยปัญญา ซึ่งเป็นศาสนจารีต.
               บทว่า อนุตฺตรึ วิมุตฺตึ ได้แก่ พระอรหัต.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               
               จบอรรถกถาวรรคที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ปฐมวรรคที่ ๑ ๘. กรรมสูตรที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 195อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 196อ่านอรรถกถา 24 / 197อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7146&Z=7195
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8527
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8527
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :