ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 19อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 20อ่านอรรถกถา 24 / 21อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ นาถกรณวรรคที่ ๒
๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยอริยวสสูตรที่ ๑๐               
               ทุติยอริยวสสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ก็เพราะเหตุที่ภิกษุชาวกุรุรัฐ มีปัญญาลึกซึ้ง ขวนขวายกันในเวลาอันสมควร ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ที่ลึกซึ้ง นำไตรลักษณ์อันละเอียดอ่อนมาอย่างนั้นเหมือนกัน เหมือนที่ตรัสมหานิทานสูตรเป็นต้น ในคัมภีร์ทีฆนิกายเป็นอาทิแก่ภิกษุเหล่านั้น ฉะนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยองค์ ๕ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กำลังอยู่ จักอยู่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้จึงตรัสเรียกว่า อริยวาส เพราะมีธรรมเครื่องอยู่สำหรับพระอริยะ เพราะเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว.
               ในบททั้งปวงก็นัยดังนี้.
               บทว่า เอวํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฉฬงฺคสมนฺนาคโต โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา.
               ถามว่า อะไรชื่อว่า ฉฬังคุเบกขาธรรม.
               ตอบว่า ธรรมทั้งหลายมีญาณเป็นต้น เมื่อกล่าวว่า ญาณย่อมได้กิริยาจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวง เมื่อกล่าวว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ติดต่อกันก็ได้มหาจิต ๘ ดวง, เมื่อกล่าวว่า ความรักความโกรธไม่มีก็ย่อมได้จิต ๑๐ ดวง โสมนัสสญาณก็ได้ด้วยอำนาจอาเสวนปัจจัย.
               บทว่า สตารกฺเขน เจตสา ความว่า ก็สติของพระขีณาสพย่อมให้สำเร็จคือหน้าที่รักษาในทวารทั้ง ๓ ทุกเวลา ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ญาณทัสสนะของพระขีณาสพนั้น ซึ่งเดินยืนหลับและตื่น ท่านจึงเรียกว่าย่อมปรากฏติดต่อกัน มีอยู่พร้อมแล้ว.
               บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ได้แก่ ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก.
               ก็ในคำว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณาน นี้ ที่ชื่อว่าสมณะ ได้แก่ผู้ถือบรรพชา. ที่ชื่อว่าพราหมณ์ ได้แก่ผู้กล่าวว่าท่านผู้เจริญ.
               บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะแต่ละแผนกเป็นอันมาก. อธิบายว่า สัจจะเป็นอันมากที่ยึดถือกันเป็นแผนกๆ อย่างนี้ว่า ความเห็นนี้เท่านั้นเป็นสัจจะ.
               บทว่า นุณฺณานิ แปลว่า ถูกนำออกแล้ว.
               บทว่า ปนุณฺณานิ แปลว่า ถูกนำออกด้วยดีแล้ว.
               บทว่า จตฺตานํ แปลว่า อันเขาสละแล้ว.
               บทว่า วนฺตานิ แปลว่า คายเสียแล้ว.
               บทว่า มุตฺตานิ ได้แก่ ตัดเครื่องผูกได้แล้ว.
               บทว่า ปหีนานิ แปลว่า อันละเสียแล้ว.
               บทว่า ปฏินิสฺสฏฺฐานิ ได้แก่ สละคืนโดยที่ทัสสนะเหล่านั้น จะไม่ขึ้นสู่จิตอีก.
               ก็บทเหล่านั้นทุกบทเป็นไวพจน์ของความที่บุคคลสละความยึดถือที่ตนยึดถืออยู่ได้แล้ว.
               บทว่า สมวยสฏฺเฐสโน ความว่า อวยา แปลว่า ไม่หย่อน. สฏฺฐา แปลว่า สละได้แล้ว. การแสวงหาอันไม่หย่อน อันสละได้แล้วของภิกษุนั้น มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่ามีการแสวงหาไม่หย่อน อันสละได้แล้วด้วยดี. อธิบายว่า ผู้แสวงหาสัจจะอันตนสละแล้วได้ด้วยดี.
               ด้วยบทว่า ราคา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตพ้นจากราคะเป็นต้น ตรัสมรรคทำกิจคือหน้าที่สำเร็จ
               ด้วยบทว่า ราโค เม ปหีโน ราคะเราละได้แล้วเป็นต้น ตรัสผลด้วยปัจจเวกขณญาณ.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาทุติยอริยวสสูตรที่ ๑๐               
               จบนาถกรณวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. เสนาสนสูตร
                         ๒. อังคสูตร
                         ๓. สังโยชนสูตร
                         ๔. ขีลสูตร
                         ๕. อัปปมาทสูตร
                         ๖. อาหุเนยยสูตร
                         ๗. นาถสูตรที่ ๑
                         ๘. นาถสูตรที่ ๒
                         ๙. อริยวสสูตรที่ ๑
                         ๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ นาถกรณวรรคที่ ๒ ๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 19อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 20อ่านอรรถกถา 24 / 21อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=768&Z=842
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7268
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7268
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :