ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 215อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 216อ่านอรรถกถา 24 / 217อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต นิสสายวรรคที่ ๑
๙. อเสขสูตร

               อรรถกถาอเสกขสูตรที่ ๙               
               อเสกขสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า โทณิยา พนฺโธ ความว่า ม้ากระจอกที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว.
               บทว่า อนนฺตรํ กริตฺวา ความว่า กระทำ (ราคะ) ไว้ในภายใน.
               บทว่า ฌายติ ความว่า ย่อมคิด.
               บทว่า ปชฺฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งฌานมีประการต่างๆ ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง.
               บทว่า นิชฺฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งฌานเป็นนิตย์โดยไม่มีระหว่างคั่น.
               คำว่า ปฐวิมฺปิ นิสฺสาย ฌายติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถบุคคลผู้ยังยินดีอยู่ในสมาบัติ.
               เพราะว่า ปฐวีธาตุนี้ ชื่อว่าเป็นส่วนเล็กน้อย อันบุคคลกระทำแล้ว เพราะตนยังยินดีอยู่ในสมาบัติ.
               แม้ในอาโปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               คำว่า กถญฺจ สนฺธ อาชานียฌายิตํ โหติ ความว่า ม้าสินธพผู้รู้เหตุอันสมควรและไม่สมควร คิดอย่างไร.
               ในคำเป็นอาทิว่า ยถา อิณํ พึงทราบอธิบายว่า ม้าอาชาไนยย่อมมองเห็นการตกต้อง กล่าวคือการลงแส้ตรงหน้าตน กระทำให้เป็นเสมือนหนี้ เสมือนถูกจองจำ เสมือนเสื่อมเสีย เสมือนความผิดมาก กล่าวคือโทษ.
-----------------------------------------------------
               เนว ปฐวึ นิสฺสาย ฌายตีติ สมาปตฺติสุขนิกนฺติยา อภาเวน
ปฐวีอารมฺมณาย จตุกฺกปญฺจกชฺฌานสญฺญาย น ฌายติ, นิกนฺติยา อภาเวเนว โส
อาชานีโย นาม โหตีติ. ฌายติ จ ปนาติ นิพฺพานารมฺมณาย ผลสมาปตฺติยา
ฌายติ.
               
บทว่า เนว ปฐวึ นิสฺสาย ฌายติ ความว่า บุรุษอาชาไนยนั้นย่อมไม่เพ่ง ด้วยสัญญาในอันประกอบด้วยองค์ ๔ และองค์ ๕ อันมีปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ เพราะไม่ยินดีความสุขในสมาบัติ ย่อมเพ่งอารมณ์ที่ปรากฏชัดว่า บุรุษนี้ชื่อว่าบุรุษอาชาไนย เพราะไม่มีความยินดีเลย ย่อมเพ่งด้วยผลสมาบัติอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
-------------------------
               พึงทราบเนื้อความในปาฐะว่า “เนว ปฐวึ นิสฺสาย ฌายติ” ดังนี้
               บุรุษนั้นไม่เพ่งด้วยสัญญาที่เกิดในฌานที่มีองค์ ๔ และฌานที่มีองค์ ๕ ซึ่งมีปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ เพราะไม่มีความยินดีในสุขที่เกิดขึ้นในสมาบัติ จึงได้ชื่อว่า บุรุษอาชาไนย เพราะความไม่ยินดีนั่นเอง.
               พึงทราบเนื้อความในปาฐะว่า “ฌายติ จ ปน” ดังนี้
               เพ่งด้วยผลสมาบัติที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
-----------------------------------------------------
               บทว่า ปฐวิยํ ปฐวีสญฺญา วิภูตา โหติ ความว่า ความสำคัญในฌานมีองค์ ๔ หรือฌานมีองค์ ๕ มีปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติแจ่มแจ้ง คือปรากฏแล้ว.
               ก็ในพระสูตรนี้มีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปสัญญาปรากฏชัด อัฏฐิกสัญญาไม่ปรากฏชัดดังนี้ เป็นอันท่านพระสันธะกล่าวถึงความที่ปฐวีธาตุปรากฏชัด เพราะยังมีการก้าวล่วง.
               ก็ในพระสูตรนี้ รูปสัญญานั้นชื่อว่าปรากฏชัด เพราะเป็นธรรมชาติที่เห็นได้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.
               แม้ในอาโปสัญญาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ในพระสูตรนี้ไม่ตรัสการก้าวล่วงด้วยอำนาจสมาบัติ แต่ตรัสการก้าวล่วงด้วยอำนาจวิปัสสนาวาระ เหมือนในหนหลังด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า เอวํ ฌายี ความว่า บุรุษอาชาไนยเพ่งอยู่ด้วยผลสมาบัติ อันเกิดมาตามลำดับแห่งวิปัสสนาอย่างนี้.

               จบอรรถกถาอเสกขสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต นิสสายวรรคที่ ๑ ๙. อเสขสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 215อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 216อ่านอรรถกถา 24 / 217อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7812&Z=7904
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8566
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8566
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :