ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 28อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 29อ่านอรรถกถา 24 / 30อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๓
๙. โกศลสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมโกสลสูตรที่ ๙               
               ปฐมโกสลสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด.
               บทว่า กาสีโกสลา ได้แก่ ชาวแคว้นกาสีและโกศล.
               บทว่า อตฺเถว อญฺญถตฺตํ แปลว่า ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่.
               บทว่า อตฺถิ วิปริณาโม แปลว่า แม้ความแปรปรวนมีอยู่.
               บทว่า ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ได้แก่ ย่อมระอาในภาวะแม้นั้น ที่ตั้งอยู่ด้วยสมบัติ.
               บทว่า อคฺเค วิรชฺชติ ได้แก่ ย่อมคลายกำหนัด แม้ในภาวะเป็นพระเจ้าโกศลอันเลิศด้วยสมบัติ.
               บทว่า ปเคว หีนสฺมึ ความว่า จะป่วยกล่าวไปใยในกามคุณ ๕ ของเหล่ามนุษย์นอกนี้ที่ทรามกว่าอย่างแรกนั้นแล.
               บทว่า มโนมยา แปลว่า อันบังเกิดด้วยใจที่สัมปยุตด้วยฌาน.
               บทว่า พาราณเสยฺยกํ แปลว่า อันเกิดขึ้นในกรุงพาราณสี.
               จริงอยู่ ในกรุงพาราณสีนั้น แม้ฝ้ายก็อ่อน กลุ่มเส้นด้ายก็ดี การทอก็ดี ก็ทำกันด้วยความฉลาด แม้น้ำก็สะอาด จืดสนิท.
               บทว่า อุภโตภาควิมฏฺฐํ ได้แก่ ปรากฏว่าเกลี้ยงเกลาทั้ง ๒ หน้า ละมุนละไม สดใส. ตรัสปฏิปทา ๔ คละกันทั้งโลกิยและโลกุตระ.
               บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาที่ ๑ คือกามาวจรสัญญา สัญญาที่ ๒ คือรูปาวจรสัญญา สัญญาที่ ๓ คือโลกุตรสัญญา สัญญาที่ ๔ คืออากิญจัญญายตนสัญญา. แต่เพราะเหตุที่สัญญานั้นชักมาว่าเป็นยอด มิได้ทรงบัญญัติสัญญาอื่นนอกจากนั้น ฉะนั้น จึงตรัสว่าเลิศ.
               บทว่า พาหิรกานํ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปภายนอกพระศาสนา.
               บทว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา ความว่า เราไม่ได้มีมาแล้วในอดีต แม้ปัจจุบัน อัตภาพนี้ของเรา ก็ไม่พึงมี.
               บทว่า ภวิสฺสามิ น เม ภวิสฺสติ ความว่า แม้ถ้าในอนาคต เราจักไม่มีไซร้ ความกังวลอะไรของเรา ก็จักไม่มี.
               บทว่า อคฺเค วิรชฺชติ ได้แก่ ย่อมคลายความกำหนัดในอุจเฉททิฏฐิ.
               จริงอยู่ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่าเป็นเลิศเพราะเป็นเครื่องเผาพระนิพพาน ในพระศาสนานี้.
               บทว่า ปรมยกฺขวิสุทฺธึ ได้แก่ ความหมดจดในสัตว์สูงสุด คำนี้เป็นชื่อของเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. แท้จริง อากิญจัญญายตนะชื่อว่าเลิศ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา เนวสัญญานาสัญญายตนะชื่อว่าเลิศ เพราะมีอายุยืนแล.
               บทว่า ปรมทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ แปลว่า นิพพานอันยอดยิ่งในอัตภาพนี้นี่แล.
               บทว่า อนุปาทาวิโมกฺโข ได้แก่ ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔. คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัต.
               บทว่า ปริญฺญํ ได้แก่ การก้าวล่วง.
               ในคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วยปฐมฌาน ทรงบัญญัติการกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วยอรูปาวจรฌานทั้งหลาย ทรงบัญญัติการกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วยอนุปาทาปรินิพพาน. ก็พระนิพพาน ชื่อว่ากำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย เพราะละเวทนาได้หมด.
               บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานํ ได้แก่ อปัจจยปรินิพพาน นิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
               แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสพระสูตรนี้ ทรงเห็นภิกษุ ๕๐๐ รูปอยากสึก จึงตรัสเพื่อบรรเทาความอยากสึกของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุแม้เหล่านั้นบรรเทาความอยากสึกได้แล้ว ชำระญาณตามกระแสเทศนาก็เป็นโสดาบัน ต่อมาเจริญวิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัตแล.

               จบอรรถกถาปฐมโกสลสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๓ ๙. โกศลสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 28อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 29อ่านอรรถกถา 24 / 30อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=1448&Z=1589
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7604
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7604
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :