ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 5อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 24 / 7อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อานิสังสวรรคที่ ๑
๖. สมาธิสูตร

               ๖. สมาธิสุตตวัณณนา [ฉบับมหาจุฬาฯ]               
               พรรณนาพระสูตรว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ               
               [๖] ในพระสูตรที่ ๖ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               คําว่า ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน (เนว ปฐวิยํ ปฐวีสญฺญี อสฺส) ความว่า ไม่พึงมีสัญญาด้วยสัญญาที่ทําปฐวีธาตุให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า ปฐวีธาตุ
               แม้ในคําเป็นต้นว่า อาโปธาตุ ก็นัยนี้เหมือนกัน
               คําว่า ไม่มีสัญญา ... ในโลกนี้ (น อิธโลเก) ความว่า ไม่พึงมีสัญญาด้วยสัญญาในฌานหมวด ๔ และหมวด ๕ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้
               คําว่า ไม่มีสัญญา ... ในปรโลก (น ปรโลเก) ความว่า ไม่พึงมีสัญญาด้วยสัญญาในฌานหมวด ๔ และหมวด ๕ ในปรโลก
               คําว่า แต่ต้องมีสัญญา (สญฺญี จ ปน อสฺส) ความว่า ก็แลเมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สมาบัติของภิกษุนั้น จึงเป็นสมาบัติที่ยังมีวิตกแน่นอน”
               คําว่า ภาวะที่สงบ ประณีต (เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ) ความว่า เมื่อภิกษุนั่งเข้าอัปปนาสมาธิว่า “ภาวะที่สงบสงัด” จิตตุปบาทย่อมเป็นไปแม้ตลอดทั้งวันว่า “ภาวะที่สงบสงัด” เท่านั้น เมื่อภิกษุนั่งเข้าอัปปนาสมาธิว่า “ภาวะที่ประณีต ละเอียด” จิตตุปบาทย่อมเป็นไปแม้ตลอดทั้งวันว่า “ภาวะที่ประณีตละเอียด” เท่านั้น
               คําว่า คือความระงับสังขารทั้งปวง (ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ) ความว่า เมื่อภิกษุนั่งเข้าอัปปนาสมาธิว่า “นิพพาน นิพพาน” จิตตุปบาทย่อมเป็นไปแม้ตลอดทั้งวันว่า “นิพพาน นิพพาน” เท่านั้น ก็คํานี้ทั้งหมด ท่านกล่าวหมายถึงสมาธิในผลสมาบัติ.

               ๖. สมาธิสุตฺตวณฺณนา               
               [๖] ฉฏฺเฐ เนว ปฐวิยํ ปฐวีสญฺญี อสฺสาติ ปฐวึ อารมฺมณํ กตฺวา
ปฐวีติ เอวํ อุปฺปนฺนาย สญฺญาย สญฺญี น ภเวยฺย. อาปาทีสุปิ เอเสว นโย.
น อิธโลเกติ อิธโลเก อุปฺปชฺชนกจตุกฺกปญฺจกชฺฌานสญฺญาย น สญฺญี ภเวยฺย.
น ปรโลเกติ ปรโลเก อุปฺปชฺชนกจตุกฺกปญฺจกชฺฌานสญฺญาย น สญฺญี ภเวยฺย.
สญฺญี จ ปน อสฺสาติ อถ จ ปนสฺส สมาปตฺติ สวิตกฺกสมาปตฺติเยว อสฺสาติ
วุจฺจติ. เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตนฺติ สนฺตํ สนฺตนฺติ อปฺเปตฺวา นิสินฺนสฺส ทิวสํปิ
จิตฺตุปฺปาโท "สนฺตํ สนฺตนฺ"เตฺวว ปวตฺตติ, ปณีตํ ปณีตนฺติ อปฺเปตฺวา นิสินฺนสฺส
ทิวสํปิ จิตฺตุปฺปาโท "ปณีตํ ปณีตนฺ"เตฺวว ปวตฺตติ. ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถติ ๑-
สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพสงฺขารสมโถติ ๑- นิพฺพานํ นิพฺพานนฺติ อปฺเปตฺวา นิสินฺนสฺส
ทิวสํปิ จิตฺตุปฺปาโท "นิพฺพานํ นิพฺพานนฺ"เตฺวว ปวตฺตีติ. สพฺพํ เจตํ
ผลสมาปตฺติสมาธึ สนฺธาย วุตฺตํ.
@เชิงอรรถ: ๑-๑ ฉ.ม. อิเม ปาฐา น ทิสฺสนฺติ

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อานิสังสวรรคที่ ๑ ๖. สมาธิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 5อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 24 / 7อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=186&Z=215
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7170
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7170
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :