ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 95อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 96อ่านอรรถกถา 24 / 97อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕
๖. โกกนุทสูตร

               อรรถกถาโกกนุทสูตรที่ ๖               
               ในโกกนุทสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ปุพฺพาปยมาโน ได้แก่ ทำตัวให้ปราศจากน้ำเช่นกับก่อนอาบ.
               ศัพท์ว่า เกฺวตฺถ อาวุโส ตัดบทว่า โก เอตฺถ อาวุโส.
               บทว่า ยาวตา อาวุโส ทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าทิฏฐิ ๖๒ อย่างมีอยู่เท่าใด.
               บทว่า ยาวตา ทิฏฺฐิฏฺฐานํ ความว่า ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ อย่างมีประมาณอย่างนี้ คือ ขันธ์เป็นฐานทิฏฐิก็มี อวิชชาก็มี ผัสสะก็มี สัญญาก็มี วิตกก็มี อโยนิโสมนสิการก็มี บาปมิตรก็มี ปรโตโฆสะ การชักชวนของคนอื่นก็มี ชื่อว่าเหตุแห่งทิฏฐิ.
               บทว่า อธิฏฺฐานํ ได้แก่ ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ
               คำนี้เป็นของทิฏฐิที่ตั้งมั่นครอบงำเป็นไป.
               บทว่า ทิฏฺฐิปริยุฏฺฐานํ ได้แก่ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
               คือ
                         ๑. ทิฏฐิคือทิฏฐิคตะ (ความเห็น)
                         ๒. ทิฏฐิคหนะ ชัฏคือทิฏฐิ
                         ๓. ทิฏฐิกันตาระ กันดารคือทิฏฐิ
                         ๔. ทิฏฐิวิสูกะ ข้าศึกคือทิฏฐิ
                         ๕. ทิฏฐิวิปผันทิตะ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ
                         ๖. ทิฏฐิสังโยชน์ สังโยชน์คือทิฏฐิ
                         ๗. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ
                         ๘. ทิฏฐิสัมพาธะ ความคับแคบคือทิฏฐิ
                         ๙. ทิฏฐิปลิโพธะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ
                         ๑๐. ทิฏฐิพันธนะ เครื่องผูกคือทิฏฐิ
                         ๑๑. ทิฏฐิปปาตะ เหวคือทิฏฐิ
                         ๑๒. ทิฏฐานุสัย อนุสัยคือทิฏฐิ
                         ๑๓. ทิฏฐิสันตาปะ เครื่องเผาคือทิฏฐิ
                         ๑๔. ทิฏฐิปริฬาหะ เครื่องเร่าร้อนคือทิฏฐิ
                         ๑๕. ทิฏฐิคันถะ เครื่องร้อยคือทิฏฐิ
                         ๑๖. ทิฏฐุปาทาน อุปาทานคือทิฏฐิ
                         ๑๗. ทิฏฐาภินิเวสะ ความยึดมั่นคือทิฏฐิ
                         ๑๘. ทิฏฐิปรามาส ความจับต้องคือทิฏฐิ.
               คำว่า สมุฏฺฐานํ เป็นไวพจน์ของทิฏฐิฐานะนั่นแล.
               สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขันธ์เป็นปัจจัย เพราะอรรถว่ายึดฐานะแห่งทิฏฐิตั้งขึ้น.
               ทุกบทพึงให้พิสดาร.
               ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิทุกอย่างได้เด็ดขาด.
               บทว่า ตมหํ ได้แก่ เรารู้ทิฏฐินั้นได้ทุกอย่าง.
               บทว่า กฺยาหํ วกฺขามิ แปลว่า เรากล่าวเพราะเหตุไร.

               จบอรรถกถาโกกนุทสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕ ๖. โกกนุทสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 95อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 96อ่านอรรถกถา 24 / 97อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4479&Z=4538
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8308
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8308
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :