ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 221อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 222อ่านอรรถกถา 25 / 223อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต
ทุติยวรรค ธาตุสูตร

               อรรถกถาธาตุสูตร               
               ในธาตุสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า เทฺวมา ตัดบทเป็น เทฺว อิมา ตัณหา ท่านเรียกว่าวานะ ชื่อว่านิพพาน เพราะออกจากตัณหา หรือเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือเมื่อบรรลุนิพพานแล้ว ตัณหาไม่มี. ชื่อว่านิพพานธาตุ เพราะนิพพานนั้นชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีชีวะ และเพราะอรรถว่าเป็นสภาพทั่วไป.
               แม้ผิว่า นิพพานธาตุนั้นไม่ต่างกันโดยปรมัตถ์ แต่ปรากฏโดยปริยาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย ดังนี้ ทรงหมายถึงความต่างกันโดยปริยายนั้น เพื่อทรงแสดงถึงประเภทตามพระประสงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สอุปาทิเสสา ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น ขันธบัญจกชื่อว่า อุปาทิ เพราะให้เกิดโดยความเป็นผลจากกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น อุปาทิที่เหลือชื่อว่าอุปาทิเสสะ. ชื่อว่าอุปาทิเสสา เพราะพร้อมกับอุปาทิเสสะ. เพราะความไม่มีสอุปาทิเสสะนั้น จึงชื่อว่า อนุปาทิเสสา.
               บทว่า อรหํ ได้แก่ ไกลจากกิเลส อธิบายว่า มีกิเลสอยู่ไกล.
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
               กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ โหติ อารกาสฺส โหนฺติ ปาปกา
อกุสลา ธมฺมา สํกิเลสิกา โปโนพฺภวิกา สทรา ทุกฺขวิปากา อายตึ ชาติชรามรณิยา
เอวํ โข ภิกฺขเว อรหํ โหติ

               ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์นั้นอย่างไร.
               ภิกษุนั้นเป็นผู้ไกลจากอกุศลธรรมอันลามก ความเศร้าหมอง การมีภพใหม่ ความกระวนกระวาย วิบากแห่งทุกข์ ชาติชรามรณะ
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์.
____________________________
๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๗๘

               บทว่า ขีณาสโว ความว่า ชื่อว่าขีณาสพ เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้นของพระอรหันต์สิ้นแล้ว ตัดขาดแล้ว ละได้แล้ว สงบแล้ว ไม่ควรจะเกิด ถูกไฟคือญาณเผาแล้ว.
               บทว่า วุสิตวา ความว่า ชื่อว่าอยู่จบแล้ว เพราะอยู่แล้ว อยู่อาศัยแล้ว อาศัยแล้ว สะสมจรณะแล้วในครุสังวาสบ้าง ในอริยมรรคบ้าง ในอริยวาส ๑๐ บ้าง.
               บทว่า กตกรณีโย ความว่า ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว เพราะพระเสกขะ ๗ ตั้งแต่กัลยาณชนผู้เป็นปุถุชน ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่ควรทำทั้งหมด พระขีณาสพทำเสร็จ คือเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำเพื่อบรรลุความสิ้นทุกข์ยิ่งกว่านี้ไม่มี.
               แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า๒-
                         ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ    สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
                         อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ    กรณียํ น วิชฺชติ
                                        ภิกษุผู้มีจิตสงบแล้ว พ้นแล้วโดยชอบนั้น
                         กระทำเสร็จแล้ว ไม่มีการสะสม กิจที่ควรทำไม่มี
                         ดังนี้.
____________________________
๒- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๔   องฺ. ฉกฺก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๒๖

               บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่ ภาระ ๓ อย่างคือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑ ภาระแม้ ๓ อย่างนี้เหล่านี้ อันภิกษุนั้นปลงแล้ว คือยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โอหิตภาโร (ปลงภาระลงได้แล้ว).
               บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ได้แก่ บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว. ท่านกล่าวว่า สกตฺถํ (ประโยชน์ของตน) ก็มี เปลี่ยน เป็น .
               ชื่อว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ เพราะประโยชน์ของตนอันภิกษุบรรลุแล้ว พึงทราบพระอรหัตว่า สทฺตโถ.
               จริงอยู่ พระอรหัตนั้นชื่อว่าเป็นประโยชน์ตน เพราะเป็นประโยชน์ตน ด้วยอรรถว่าเนื่องด้วยตน ด้วยอรรถว่าไม่ละตน และด้วยเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน.
               บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ได้แก่ ชื่อว่าสังโยชน์ ในภพ เพราะสังโยชน์เหล่านี้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชาสังโยชน์ย่อมประกอบ คือเข้าไปผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ หรือภพด้วยภพ.
               ชื่อว่ามีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์เหล่านั้นของพระอรหันต์สิ้นแล้ว คือท่านละได้แล้ว ถูกไฟคือญาณเผาแล้ว.
               บทว่า สมฺมทญฺญา ในบทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต นี้ได้แก่ เพราะรู้โดยชอบ ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะรู้ คือพิจารณา ไตร่ตรอง แจ่มแจ้ง ทำให้ชัดตามความเป็นจริงโดยชอบ ซึ่งการตั้งอยู่แห่งขันธ์ทั้งหลายโดยเป็นขันธ์ แห่งอายตนะทั้งหลายโดยเป็นอายตนะ แห่งธาตุทั้งหลายโดยเป็นของสูญ แห่งทุกข์โดยการบีบคั้น แห่งสมุทัยโดยเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ แห่งนิโรธโดยเป็นความสงบแห่งมรรคโดยเป็นทัสสนะ หรือซึ่งประเภทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้.
               บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่าง คือ จิตวิมุตติและนิพพาน.
               จริงอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าพ้นด้วยจิตวิมุตติบ้าง ชื่อว่าพ้นในนิพพานบ้าง เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต (พ้นเพราะรู้โดยชอบ).
               บทว่า ตสฺส ติฏฺฐนฺเตว ปญฺจินฺทริยานิ ความว่า อินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้นของพระอรหันต์นั้น ยังตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป.
               บทว่า อวิคตตฺตา ได้แก่ เพราะยังไม่ดับด้วยการดับคือความไม่เกิด.
               บทว่า มนาปามนาปํ ได้แก่ อารมณ์มีรูปที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเป็นต้น.
               บทว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย คือย่อมได้.
               บทว่า สุขทุกฺขํ ปฏิสํเวเทติ ได้แก่ ย่อมเสวยสุขและทุกข์อันเป็นวิบาก คือย่อมได้ด้วยไตรทวาร.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอุปาทิเสสะด้วยเหตุเพียงนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส โย ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ยังมีสอุปาทิเสสะนั้น.
               บทว่า โย ราคกฺขโย ได้แก่ ความสิ้นไป คืออาการสิ้นไป ความไม่มี ความไม่เกิดในที่สุดแห่งราคะ แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ เป็นอันแสดงถึงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุอันสิ้นราคะเป็นต้น ด้วยเหตุเพียงนี้.
               บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล
               บทว่า สพฺพเวทยิตานิ ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมีสุขเวทนาเป็นต้น อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนา ท่านละได้ก่อนแล้ว.
               บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว
               บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็นด้วยความสงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือจักดับด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้นจักดับ แม้ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ.
               ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อว่า เวทยิตะ.
               ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
               บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้งหลาย ๕ คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ ทิพจักษุ ปัญญาจักษุ สมันตจักษุ.
               บทว่า อนิสฺสิเตน ได้แก่ ไม่อาศัยธรรมไรๆ โดยเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ หรือไม่ผูกพันด้วยเครื่องผูกคือราคะเป็นต้น.
               บทว่า ตาทินา ได้แก่ ผู้คงที่อันมีลักษณะคงที่ กล่าวคือความเป็นผู้มีสภาพเป็นหนึ่งในอารมณ์ทั้งปวงมีอิฏฐารมณ์เป็นต้นด้วยอุเบกขามีองค์ ๖.
               บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกา ได้แก่ นิพพานธาตุอันมีคือเป็นไปในอัตภาพนี้.
               บทว่า ภวเนตฺติสงฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นตัณหาอันนำไปสู่ภพ.
               บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่ อันมีในเบื้องหน้า คือในส่วนอื่นจากทำลายขันธ์.
               บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ในอนุปาทิเสสนิพพาน.
               บทว่า ภวานิ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส.
               อุบัติภพไม่เหลือโดยประการทั้งปวงย่อมดับ คือย่อมไม่เป็นไป.
               บทว่า เต ได้แก่ ชนเหล่านั้นมีจิตพ้นแล้วอย่างนี้.
               บทว่า ธมฺมสาราธิคมา ได้แก่ เพราะเป็นผู้มีวิมุตติเป็นสาระ คือเพราะบรรลุพระอรหัตอันเป็นสาระในธรรมทั้งหลายแห่งธรรมวินัยนี้.
               บทว่า ขเย ได้แก่ยินดี ยินดียิ่งแล้วในนิพพานอันเป็นที่สิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น.
               อีกอย่างหนึ่ง อันเป็นสาระในธรรมทั้งหลายโดยความเป็นของเที่ยง และโดยความเป็นของประเสริฐที่สุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีธรรมเป็นสาระ คือนิพพาน.
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
               วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ๓- วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ๔-
               วิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย และวิราคะ ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ชนทั้งหลายยินดีแล้วในอนุปาทิเสสนิพพานเป็นที่สิ้นสังขารทั้งปวง เพราะเหตุบรรลุธรรมอันเป็นสาระนั้น.
____________________________
๓- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๐
๔- ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๗๐   องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๓๔

               บทว่า ปหํสุ คือ ละแล้ว. บทว่า เต เป็นเพียงนิบาต.
               บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ทุติยวรรค ธาตุสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 221อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 222อ่านอรรถกถา 25 / 223อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5242&Z=5274
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=4149
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=4149
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๖  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :