ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 249อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 250อ่านอรรถกถา 25 / 251อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ตติยวรรค นิสสรณสูตร

               อรรถกถานิสสรณสูตร               
               ในนิสสรณสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า นิสฺสรณิยา ความว่า ปฏิสังยุตด้วยธาตุที่สลัดออกไป.
               บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากสัตว์.
               บทว่า กามานํ ได้แก่ กิเลสกามและวัตถุกาม.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กามานํ ได้แก่ กิเลสกาม เพราะว่าธาตุทั้งหลายเป็นที่ออกไปจากกิเลสกาม ถึงวัตถุกามก็ออกไปเหมือนกัน ไม่ใช่ออกไปโดยประการอื่น.
               สมดังที่ตรัสไว้ว่า
                                   อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ใช่กาม
                         แต่ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริของคน
                         (ต่างหาก) เป็นกาม อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลาย
                         ก็สถิตอยู่ในโลกอย่างนั้นนั่นแหละ แต่ธีรชน
                         จะนำความพอใจในกามนั้นออกไป.
๑-
____________________________
๑- องฺ. ฉกฺก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๓๔

               การปราศไป ชื่อว่า นิสสรณะ.
               บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ ปฐมฌาน โดยพิเศษแล้ว เนกขัมมะนั้นพึงเห็นว่ามีอสุภะเป็นอารมณ์ แต่ผู้ใดทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ แล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยอนาคามิผล จิตของผู้นั้นจะสลัดออกจากกามทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เนกขัมมะนี้ พึงทราบว่าเป็นการสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายอย่างอุกฤษฏ์.
               บทว่า รูปานํ ได้แก่ รูปธรรมทั้งหลาย โดยพิเศษแล้วก็คือรูปาวจรธรรมทั้งหมด แยกประเภทเป็นกุศลวิบากและกิริยาพร้อมด้วยอารมณ์ทั้งหลาย.
               บทว่า อรุปฺปํ ได้แก่ รูปาวจรฌาน แต่อาจารย์บางพวกกล่าวเนื้อความของบทว่า กามานํ ไว้ว่า ได้แก่กามาวจรธรรมทั้งหมด และกล่าวเนื้อความของบทว่า เนกขัมมะ ว่าได้แก่รูปาวจรฌานทั้ง ๕ คำนั้นไม่มีในอรรถกถาทั้งหลายและไม่ถูกด้วย.
               บทว่า ภูตํ แปลว่า เกิดแล้ว.
               บทว่า สงฺขตํ ความว่า ที่ปัจจัยทั้งหลายจัดแจง คือปรุงแต่ง ทำแล้ว.
               บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ ความว่า เกิดขึ้นจากเหตุ ด้วยบทแม้ทั้ง ๓ ย่อมครอบคลุมไปถึงธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยไม่เหลือ พระนิพพาน ชื่อว่านิโรธ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรู้กามไว้ด้วยธาตุแรก การกำหนดรู้รูปด้วยธาตุที่ ๒ การกำหนดรู้ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมดด้วยธาตุที่ ๓ จึงเป็นอันตรัสการก้าวล่วงภพไว้ครบถ้วน.
               พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
               บทว่า กามนิสฺสรณํ ญตฺวา ความว่า รู้ว่า นี้เป็นการสลัดออกจากกาม และการสลัดออกจากกามมีโดยอาการอย่างนี้.
               ชื่อว่า อติกฺกโม เพราะเป็นเหตุก้าวล่วงคืออุบายแห่งการก้าวล่วง. รู้เหตุก้าวล่วงนั้น คืออรูป.
               ธรรมชื่อว่าสัพพสังขารสมถะ เพราะเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งมวล ได้แก่พระนิพพาน เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพานนั้น.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง.

               จบอรรถกถานิสสรณสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ตติยวรรค นิสสรณสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 249อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 250อ่านอรรถกถา 25 / 251อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5789&Z=5805
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5516
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5516
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :