ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 435อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 436อ่านอรรถกถา 25 / 437อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค
ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒

               อรรถกถาภัทราวุธสูตร#- ที่ ๑๒               
____________________________
#- บาลีเป็น ภัทราวุธปัญหา.

               ภัทราวุธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โอกญฺชหํ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกญฺชหํ คือ ผู้ละอาลัย.
               บทว่า ตณฺหจฺฉิทํ ผู้ตัดตัณหาเสียได้ คือตัดหมู่ตัณหาทั้ง ๖. บทว่า อเนชํ ผู้ไม่หวั่นไหว คือไม่มีความทะเยอทะยานในโลกธรรมทั้งหลาย.
               บทว่า นนฺทิญฺชหํ ผู้ละความเพลิดเพลิน คือละความปรารถนามีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ ภัทราวุธมาณพกล่าวถึงตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นในที่นี้โดยประการต่างๆ เพื่อสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น.
               บทว่า กปฺปญฺชหํ ผู้ละธรรมเครื่องให้ดำริ คือละธรรมเครื่องให้ดำริสองอย่าง. บทว่า อภิยาเจ ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนเป็นอย่างยิ่ง.
               บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชนทั้งหลายมาจากชนบทได้ฟังดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้. อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้วจักกลับไปจากปาสาณกเจดีย์นี้.
               บทว่า ชนปเทหิ สงฺคตา มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้งหลาย คือมาพร้อมกัน ณ ที่นี้จากชนบททั้งหลายมีอังคะเป็นต้น.
               บทว่า วิยากโรหิ ขอจงทรงพยากรณ์ คือขอจงทรงแสดงธรรม.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลมตามอัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาสองคาถา.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทานตณฺหํ ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่น คือตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่นอารมณ์มีรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดมั่นตัณหา.
               บทว่า ยํ ยญฺหิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก คือถือมั่นสิ่งใดๆ ในประเภทมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น.
               บทว่า เตเนว มาโร อเนฺวติ ชนฺตุํ มารย่อมติดตามสัตว์ได้เพราะสิ่งนั้นแหละ. ความว่า มารคือขันธมารอันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตามสัตว์นั้นไปด้วยอำนาจกรรมาภิสังขารที่เกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นเอง.
               บทว่า ตสฺมา ปชานํ เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ คือ เมื่อรู้โทษอย่างนี้ในสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
               บทว่า อาทานสตฺเต อิติ เปกฺขมาโน ปชํ อิมํ มจฺจุเธยฺย วิสตฺตํ ภิกษุเล็งเห็นสัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่นดังนี้.
               ความว่า ภิกษุเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในบ่วงแห่งมารในโลกทั้งปวงว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วในรูปเป็นต้นอันเป็นเครื่องยึดถือ เพราะอรรถว่าพึงยึดมั่น หรือเล็งเห็นอยู่ว่าไม่สามารถจะสงเคราะห์การยึดมั่นในบุคคลผู้ยึดมั่นถือมั่น ผู้ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่น และเพื่อก้าวล่วงจากหมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในบ่วงมารนี้ได้ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแลด้วยประการฉะนี้.
               อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นก่อนเหมือนกัน.

               จบอรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒               
               แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย               
               ชื่อปรมัตถโชติกา               
               --------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 435อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 436อ่านอรรถกถา 25 / 437อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11321&Z=11341
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=10091
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=10091
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :