ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 297 อรรถกถาอรรถาธิบาย
เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 299 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 301 อรรถาธิบายเล่มที่  27 เริ่มข้อที่ 2519
อรรถกถา ขันติวรรณนชาดก
ว่าด้วย ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถิ เม ปุริโส เทว ดังนี้.
               ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะมาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม. พระราชาแม้ทรงทราบ ก็ทรงอดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูลพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาในกาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของพระองค์ แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชาเพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่งเป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา
               จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

               ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทมีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่าง อยู่คนหนึ่ง แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรดดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระเจ้าข้า.


               ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เจโกปราธตฺถิ ความว่า บุรุษนั้นมีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง. บทว่า ตตฺถ ตฺวํ กินฺติ มญฺญสิ ความว่า พระองค์จะทรงดำริในความผิดของบุรุษนั้นในข้อนั้นว่าควรทำอย่างไร ขอพระองค์จงทรงปรับสินไหมบุรุษนั้นตามสมควรแก่ความผิดของเขาเถิด พระเจ้าข้า.

               พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
               บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจเสีย.


               อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บุรุษผู้ประทุษร้ายเช่นนี้ คือมีอุปการะมาก มีอยู่ในเรือนของเราผู้เป็นพระราชา เป็นสัตบุรุษ. ก็บุรุษนั้นมีอยู่ในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ในที่นี้แหละ แม้เราผู้เป็นราชาก็ยังอดกลั้น เพราะบุรุษนั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก.
               บทว่า องฺคสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้ประกอบด้วยส่วนแห่งคุณธรรมทั้งปวงหาได้ยาก ด้วยเหตุนั้น เราจึงสู้อดกลั้นเสียในฐานะเห็นปานนี้.

               อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่าพระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก.

               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
               พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือ เราตถาคต นี้เอง

               อำมาตย์นั้นรู้ว่า พระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่อาจทำกรรมนั้น.

               จบ อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕

.. อรรถกถา ขันติวรรณนชาดก ว่าด้วย ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก จบ.
อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 297 อรรถกถาอรรถาธิบาย
เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 299 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 301 อรรถาธิบายเล่มที่  27 เริ่มข้อที่ 2519
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=1716&Z=1723
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=37&A=5444
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=37&A=5444
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :