ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 146อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 3 / 154อ่านอรรถกถา 3 / 504
อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑

               อรรถกถาขุททกกัณฑ์               
                         ธรรมเหล่าใด รวบรวมได้ ๑๖๖ ข้อ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์
               ทั้งหลายร้อยกรองไว้ ในลําดับแห่งติงสกกัณฑ์ บัดนี้จะพรรณนาธรรม
               แม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.

               ปาจิตตีย์               
               ลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑               
               ในบรรดา ๙ วรรคนั้น พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งลสุณวรรคก่อน.

               [ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีฉันกระเทียม]               
               สามบทว่า เทฺว ตโย ภณฺฑกา ได้แก่ จุกกระเทียม ๒-๓ จุก
               คําว่า โปฏฺฏลเก นี้ เป็นชื่อของกระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์.
               สองบทว่า น มตฺตํ ชานิตฺวา มีความว่า (ภิกษุณีถุลลนันทานั้น) ไม่รู้จักประมาณ เมื่อคนเฝ้าไร่ห้ามปรามอยู่ ใช้ให้ (พวกภิกษุณี) ขนเอากระเทียมมาเป็นอันมาก.
               สองบทว่า อญฺญตรํ หํสโยนึ ได้แก่ กําเนิดหงส์ทอง.
               สามบทว่า โส ตาสํ เอเกกํ มีความว่า หงส์นั้นเป็นสัตว์ระลึกชาติได้. ดังนั้นจึงมาหาด้วยความรักในก่อน แล้วสลัดขนให้แก่สตรีเหล่านั้นคนละขน. ขนนั้นเป็นทองคําแท้ ควรแก่การหลอมการทุบและตัดได้.
               บทว่า มาคธิกํ แปลว่า เกิดแล้วในแคว้นมคธ.
               จริงอยู่ เฉพาะกระเทียมที่เกิดในแคว้นมคธ ท่านประสงค์เอาว่า ลสุณํ ในสิกขาบทนี้. แม้กระเทียมนั้นเป็นกระเทียมที่มีเยื่อในสมบูรณ์ ไม่ใช่กระเทียมที่มีเยื่อในเพียงกลีบหรือ ๒-๓ กลีบ. แต่ในกุรุนทีท่านไม่กล่าวถึงประเทศที่เกิด กล่าวว่า กระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์ ชื่อว่า กระเทียมมคธ.
               ในคําว่า อชฺโฌหาเร อชฺโฌหาเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ถ้าภิกษุณีรวบรวมกระเทียม ๒-๓ จุกเข้าด้วยกันเคี้ยวกลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว แต่เมื่อภิกษุณีบิออกกินทีละกลีบ เป็นปาจิตตีย์มากตัว ด้วยการนับประโยคแล.
               บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสีหรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.
               แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น. กระเทียมเขียวมีเอื่อใน ๓ ชั้น กระเทียมต้น ไม่มีเยื่อใน.
               จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรีเป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) ๓ ชั้น กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว.
               แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกําลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุงด้วยปลาเนื้อก็ดี ในนํ้ามันก็ดี ในนํ้าปานะมีนํ้าพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดองที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ในยาคูและภัตก็ควร.
               คําที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

               อรรถกถาลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 146อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 3 / 154อ่านอรรถกถา 3 / 504
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=2243&Z=2314
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11223
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11223
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :