ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 12อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 18อ่านอรรถกถา 3 / 26อ่านอรรถกถา 3 / 504
อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

               อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๓               
               วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

               แก้อรรถปาฐะบางตอนในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓               
               บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามวัตถุที่เป็นจริง.
               บทว่า วินเยน ได้แก่ โจทแล้วให้ๆ การ.
               ก็บทภาชนะแห่งสองบทว่า ธมฺเมน วินเยน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงเพียงอธิบายนี้ว่า ผู้ที่ถูกสงฆ์ยกวัตรตามธรรมดาตามวินัย เป็นผู้ถูกยกวัตรชอบแล้ว.
               บทว่า สตฺถุ สาสเนน ได้แก่ โดยญัตติสัมปทาและอนุสาวนาสัมปทา.
               แต่ในบทภาชนะแห่งบทว่า สตฺถุ สาสเนน นั้น ตรัสเพียงคำไวพจน์เท่านั้นว่า โดยชินศาสน์ คือโดยพุทธศาสน์.
               ในคำว่า สงฺฆํ วา คณํ วา เป็นต้น มีวินิฉัยดังนี้ :-
               ไม่เชื่อ คือ ไม่ประพฤติตามสงฆ์ผู้ซึ่งทำกรรม คณะ คือ บุคคลมากคน หรือบุคคลคนเดียวผู้นับเนื่องในสงฆ์นั้น หรือกรรมนั้น.
               อธิบายว่า ไม่ยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในสงฆ์เป็นต้นนั้น.
               ในคำว่า สมานสํวาสกา ภิกฺขู วุจฺจนฺติ สหายา โส เตหิสทฺธึ นตฺถิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ธรรมนี้ คือกรรมอย่างเดียวกัน อุเทศอย่างเดียวกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน ชื่อว่าสังวาสก่อน. สังวาสแห่งภิกษุเหล่านั้นเสมอกัน เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีสังวาสเสมอกัน. ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนี้ ตรัสเรียกว่า สหาย เพราะมีภาวะที่เป็นไปร่วมกันในสังวาสนั้นแห่งภิกษุ.
               บัดนี้ สังวาสซึ่งเป็นเหตุให้ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มีสังวาสเสมอกัน ไม่มีแก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรนั้น ร่วมกับภิกษุเหล่านั้น และเหล่าภิกษุที่เธอไม่มีสังวาสนั้นร่วมด้วย เป็นอันเธอมิได้ทำให้เป็นสหายของตน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกัน เรียกว่าเป็นสหายกัน ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุสหายเหล่านั้น; เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย.
               คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวแล้วในสังฆเภทสิกขาบทเป็นต้น.
               สิกขาบทนี้มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจากับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

               อรรถกถาปาราชิกสิกขาบท ๓ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 12อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 18อ่านอรรถกถา 3 / 26อ่านอรรถกถา 3 / 504
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=230&Z=324
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10789
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10789
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :