ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 203อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 242อ่านอรรถกถา 30 / 281อ่านอรรถกถา 30 / 663
อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค
อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส

               อรรถกถาอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า มหนฺตโอฆํ คือ โอฆะใหญ่.
               บทว่า อนิสฺสิโต ไม่อาศัยแล้ว คือไม่ติดบุคคลหรือธรรม.
               บทว่า โน วิสหามิ คือ ข้าพระองค์ไม่อาจ.
               บทว่า อารมฺมณํ อารมณ์ คือนิสัย.
               บทว่า ยํ นิสฺสิโต คือ อาศัยธรรมหรือบุคคลใด.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
               บทว่า กาโมฆํ พึงข้ามกาโมฆะได้ด้วยอนาคามิมรรค พึงข้ามภโวฆะได้ด้วยอรหัตมรรค พึงข้ามทิฏโฐฆะได้ด้วยโสดาปัตติมรรค พึงข้ามอวิชโชฆะได้ด้วยอรหัตมรรค.
               บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต ออกบวชจากตระกูลศากยะ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดงตระกูลสูงของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               บทว่า อาลมฺพณํ คือ ที่ยึดเหนี่ยว.
               บทว่า นิสฺสยํ ที่อาศัย คือที่เกี่ยวเกาะ.
               บทว่า อุปนิสฺสยํ ที่เข้าไปอาศัย คือที่พึ่ง.
               บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้นิสัยแม้มีอยู่นั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงนิสัยนั้น และทางออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺญํ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน เพ่งดู คือมีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ทั้งเข้าและออกโดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น.
               บทว่า นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือกระทำสมาบัติอันเป็นไปแล้วว่าไม่มีอะไรดังนี้ ให้เป็นอารมณ์.
               บทว่า ตรสฺสุ โอฆํ พึงข้ามโอฆะ คือพึงข้ามโอฆะ ๔ อย่างตามสมควรแห่งวิปัสสนาอันเป็นไปแล้ว จำเดิมแต่นั้น.
               บทว่า กถาหิ คือ จากความสงสัย.
               บทว่า ตณฺหกฺขยํ รตฺต มหาภิปสฺส จงพิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวัน คือจงพิจารณาดูทำนิพพานให้แจ้งตลอดคืนและวัน.
               ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสุขวิหารธรรมในปัจจุบันแก่พราหมณ์นั้น.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
               บทว่า ตญฺเญว วิญฺญาณํ อภาเวติ ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแลให้เจริญ คือกระทำอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วไม่ยังวิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วให้เจริญ คือให้ถึงความไม่มี.
               บทว่า วิภาเวติ ให้เป็นแจ้ง คือให้ถึงความไม่มีหลายๆ อย่าง.
               บทว่า อนฺตรธาเปติ ให้หายไป คือให้ถึงความไม่เห็น.
               บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสติ เห็นว่า ไม่มีอะไร คือเห็นว่าไม่มี โดยที่สุดแม้เพียงความแตกดับของเราเอง.
               บัดนี้ อุปสีวมาณพสดับแล้วว่า กาเม ปหาย ละกามทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นกามทั้งหลายที่ตนละแล้วด้วยการข่มไว้ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า สพฺเพสุ ในกามทั้งปวงดังนี้.
               บทว่า หิตฺวมญฺญํ ละสมาบัติอื่น คือละสมาบัติ ๖ อย่างอื่นเบื้องต่ำจากนั้น.
               บทว่า สญฺญาวิโมกฺเข ปรเม น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ได้แก่ในสัตตสัญญาวิโมกข์ คือในอากิญจัญญายตนสมาบัติอันสูงสุด.
               บทว่า ติฏฺเฐ นุโส ตตฺถ อนานุยายี คือ บุคคลนั้นไม่หวั่นไหวพึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นหรือหนอ.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
               บทว่า อเวธมาโน ไม่หวั่นไหว คือไม่ข้อง.
               บทว่า อวิคจฺฉ มาโน คือ ไม่ถึงความพลัดพราก.
               บทว่า อนนฺตรธายมาโน คือ ไม่ถึงความอันตรธาน.
               บทว่า อปริหายมาโน คือ ไม่ถึงความเสื่อมในระหว่าง.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงรู้ตามถึงฐานะในที่สุดหกหมื่นกัปของอุปสีวมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓.
               อุปสีวมาณพครั้นสดับถึงฐานะในสมาบัตินั้นของบุคคลนั้น บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงความเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิของบุคคลนั้น จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ติฏฺเฐ เจ หากผู้นั้นพึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปูคมฺปิ วสฺสานํ แม้มากปี. ความว่า นับปีแม้ไม่น้อย. ปาฐะว่า ปูคมฺปิ วสฺสานิ บ้าง. ในบทนั้นแปลงฉัฏฐีวิภัตติเป็นปฐมาวิภัตติ.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปูคํ แปลว่า มีมาก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปูคานิ บ้าง. ปาฐะแรกดีกว่า.
               บทว่า ตตฺเถว โสสีติ สิยา วิมุตฺโต ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้น คือบุคคลนั้นพ้นแล้วจากทุกข์ต่างๆ ในอากิญจัญญาตนะนั้น พึงถึงความเป็นผู้เย็น. อธิบายว่า เป็นผู้เที่ยงที่จะถึงนิพพานดำรงอยู่.
               บทว่า ภเวถ วิญฺญาณํ ตถาวิธสฺส วิญญาณของผู้นั้นพึงมีหรือ หรือถามถึงความขาดสูญว่าวิญญาณของผู้นั้นพึงดับโดยไม่ยึดมั่นหรือ. ย่อมถามถึงแม้ปฏิสนธิของผู้นั้นว่า พึงมีเพื่อถือปฏิสนธิหรือ.
               บทว่า ตสฺส วิญฺญาณํ จเวยฺย วิญญาณของผู้นั้นพึงเคลื่อนไป คือวิญญาณของผู้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น พึงถึงความเคลื่อนไป.
               บทว่า อุจฺฉิชฺเชยฺย คือ พึงขาดสูญ.
               บทว่า วินสฺเสยฺย คือ พึงถึงความพินาศ.
               บทว่า น ภเวยฺย คือ ถึงความไม่มี.
               บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงความดับโดยไม่ยึดมั่นของพระอริยสาวกผู้ไม่อาศัยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ในที่นั้นจึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อจฺจิ ยถา เหมือนเปลวไฟดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถํ ปเลติ ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความไม่มี.
               บทว่า น อุเปติ สงฺขยํ ไม่เข้าถึงความนับ คือไม่ถึงการพูดไปว่าไปแล้วสู่ทิศโน้น.
               บทว่า เอวํ มุนิ นามกายา วิมุตฺโต มุนีพ้นแล้วจากนามกายฉันนั้น คือ พระเสกขมุนีเกิดแล้วในที่นั้น ตามปกติเป็นผู้พ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน ยังจตุตถมรรค (อรหัตมรรค) ให้เกิดในที่นั้นแล้ว พ้นแม้จากนามกายอีก เพราะกำหนดรู้นามกายเป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตติ (พ้นทั้งสองส่วน) ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
               บทว่า ขิตฺตา ซัดไป คือดับ.
               บทว่า อุกฺขิตฺตา ซัดขึ้นไปแล้ว คือสูญหาย.
               บทว่า นุนฺนา หายไป คือไล่ออกไป.
               บทว่า ปนุนฺนา สิ้นไป คือทำให้ไกล.
               บทว่า ขมฺภิตา หมดไป คือถอยไป.
               บทว่า วิกฺขมฺภิตา หมดสิ้นไปแล้ว คือไม่เข้าไปใกล้อีกแล้ว.
               บัดนี้ อุปสีวมาณพครั้นสดับว่า อตฺถํ ปเลติ ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้มิได้กำหนดถึงการตั้งอยู่ไม่ได้โดยแยบคายของมุนีนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อตฺถงฺคโต โส มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
               บทนั้นมีความดังนี้ มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้วหรือมุนีนั้นไม่มี หรือมุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรค มีความไม่ปรวนแปรไปเป็นธรรมดา โดยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
               บทว่า นิรุทฺโธ ดับแล้วคือ ถึงความดับ.
               บทว่า อุจฺฉินฺโน ขาดสูญแล้ว คือมีสันดานขาดสูญแล้ว.
               บทว่า วินฏฺโฐ หายไปแล้ว คือถึงความพินาศ.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงถ้อยคำที่ไม่ควรกล่าวอย่างนั้นแก่อุปสีวมาณพ จึงตรัสคาถาว่า อตฺถงฺคตสฺส ผู้ดับไปแล้วดังนี้ เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถงฺคตสฺส คือ ดับ เพราะไม่ถือมั่น.
               บทว่า น ปมาณมตฺถิ ไม่มีประมาณ คือไม่มีประมาณในรูปเป็นต้น.
               บทว่า เยน นํ วชฺชุํ คือ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด.
               บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปนี้.
               บทว่า อธิวจนา จ ถ้อยคำยิ่ง คือที่พูดทำให้ยิ่งเพียงพูดว่า สิริวัฑฒกะ (เจริญด้วยสิริ) ธนวัฑฒกะ (เจริญด้วยทรัพย์) เป็นต้น ชื่อว่าอธิวจนา (ถ้อยคำยิ่ง). ทางแห่งถ้อยคำยิ่ง ชื่อว่าอธิวจนปถา ถ้อยคำที่พูดเจาะจงลงไปทำให้มีเหตุผลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่ง ฉะนั้นจึงชื่อว่าสังขาร ดังนี้ ชื่อว่านิรุตติ. ทางแห่งนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปถา. ชื่อว่าบัญญัติ เพราะบัญญัติขึ้นโดยประการนั้นๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก (ตรึก) วิตกฺโก (การตรึก) สงฺกปฺโป (ความดำริ). ทางแห่งบัญญัติทั้งหลาย ชื่อว่าคลองแห่งบัญญัติ.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตร แม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
               เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาอุปสีมาณวกนิทเทสที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 203อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 242อ่านอรรถกถา 30 / 281อ่านอรรถกถา 30 / 663
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=30&A=2389&Z=2702
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=725
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=725
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :