ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 242อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 281อ่านอรรถกถา 30 / 324อ่านอรรถกถา 30 / 663
อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค
นันทมาณวกปัญหานิทเทส

               อรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในนันทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
               พึงทราบความคาถาต้นต่อไป
               ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นในโลกย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์เป็นต้น ข้อนี้เป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวผู้ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยญาณ หรือย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ กล่าวคือมีความเป็นอยู่เศร้าหมองมีประการต่างๆ ว่าเป็นมุนี.
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
               บทว่า อฏฺฐสมาปตฺติญาเณน วา คือ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ มีปฐมฌานเป็นต้น.
               บทว่า ปญฺจาภิญฺญาญาเฌน วา ด้วยญาณในอภิญญา ๕ คือ หรือด้วยญาณคือการรู้ขันธปัญจกที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนเป็นต้น.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามแม้ทั้งสองอย่างของนันทมาณพนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นมุนี จึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺฐิยา ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิว่าเป็นมุนี ดังนี้เป็นต้น.
               บัดนี้ นันทมาณพเพื่อละความสงสัยในวาทะของผู้กล่าวอยู่ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยทิฏฐิเป็นต้น จึงทูลถามว่า เยเกจิเม สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ด้วยมงคลหลายชนิด คือด้วยมงคลมีโกตุหลมงคล (มงคลเกิดจากการตื่นข่าว) เป็นต้น.
               บทว่า ตตฺถ ยตา จรนฺตา สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น คือคุ้มครองอยู่แล้วในทิฏฐิของตนนั้น.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความบริสุทธิ์อย่างนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔.
               นันทมาณพครั้นสดับว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามได้แล้ว จึงทูลถามว่า เยเกจิเม ดังนี้เป็นต้น.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามชาติชราได้ด้วยหัวข้อว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว แก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๖.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา คือ เป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้วรึงรัดแล้ว.
               บทว่า เยสีธ ตัดบทเป็น เย สุ อิธ. บทว่า สุ เป็นเพียงนิบาต.
               บทว่า ตณฺหํ ปริญฺญาย คือ กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวมาแล้วในบทก่อน.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.
               เมื่อจบเทศนา นันทมาณพพอใจพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก จึงกล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ย่อมพอใจพระวาจานั้นดังนี้เป็นต้น.
               ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้ว แม้ในนิเทศนี้และนิเทศก่อนนั่นแล.

               จบอรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค นันทมาณวกปัญหานิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 242อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 281อ่านอรรถกถา 30 / 324อ่านอรรถกถา 30 / 663
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=30&A=2703&Z=3079
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=810
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=810
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :