ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 388อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 413อ่านอรรถกถา 30 / 433อ่านอรรถกถา 30 / 663
อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค
ภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทส

               อรรถกถาภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในภัทราวุธสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า โอกญฺชหํ คือ ละความอาลัย.
               บทว่า ตณฺหจฺฉิทํ คือ ตัดหมู่ตัณหาเสียได้.
               บทว่า อเนชํ ไม่มีความหวั่นไหว คือไม่หวั่นไหวในโลกธรรม.
               บทว่า นนฺทิญฺชหํ ละความเพลิน คือละความปรารถนารูปมีรูปในอนาคตเป็นต้น.
               จริงอยู่ ตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นท่านกล่าวไว้ในที่นี้โดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งความชื่นชอบ.
               บทว่า กปฺปญฺชหํ คือ ละความดำริ ๒ อย่าง.
               บทว่า อภิยาเจ คือ ข้าพระองค์วิงวอนเป็นอย่างยิ่ง.
               บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชนทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีกไปแต่ที่นี้. อธิบายว่า ชนเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคผู้มีพระภาคเจ้า จักหลีกไปจากปาสาณกเจดีย์นี้.
               บทว่า เย อุปายุปาทานา คือ ความเข้าไปยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ.
               บทว่า เจตโส อธิฏฺฐานา คือ ตั้งไว้ในใจ.
               บทว่า อภินิเวสานุสยา เป็นที่ผูกพันและเป็นอนุสัย คือเป็นที่ตั้งไว้แล้วมานอนเนื่องอยู่ในสันดาน.
               บทว่า ชนปเทหิ สงฺคตา คือ มาแต่ชนบททั้งหลายมีอังคะเป็นต้น ประชุมกันในที่นี้.
               บทว่า วิยากโรหิ คือ ขอพระองค์ทรงแสดงธรรม.
               บทว่า สงฺคตา คือ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นมีความเป็นอันเดียวกัน.
               บทว่า สมาคตา คือ มาจากชนทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้ว.
               บทว่า สโมหิตา คือ มารวมกัน.
               บทว่า สนฺนิปติตา ประชุมกัน คือไม่แยกจากกัน.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลมตามอัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาต่อๆ ไป.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทานตณฺหํ ตัณหาเครื่องยึดถือ คือตัณหาเครื่องยึดถือ คือยึดถือรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดถือมั่นด้วยตัณหา.
               บทว่า ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ คือ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายยึดถือบรรดาอุปาทานขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อุปาทานขันธ์ใดๆ ในโลก.
               บทว่า เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุํ มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอภิสังขารคือกรรมนั่นเอง คือมารย่อมไปตามสัตว์นั้นในขณะปฏิสนธิด้วยอภิสังขาร คือกรรมอันเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นนั่นเอง.
               บทว่า ตสฺมา ปชานํ เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ คือเพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้ซึ่งโทษนั้นหรือสังขารทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
               บทว่า อาทานสตฺเต อิติ เปกฺขมาโน ปชํ อิมํ มจฺจุเธยฺเย วิสตฺตํ เมื่อเห็นหมู่สัตว์นี้ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่าเป็นผู้ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ คือเมื่อเห็นหมู่สัตว์นี้ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุในสรรพโลกว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในรูปเป็นต้น. เครื่องยึดถือ ด้วยอรรถว่าควรยึดถือ หรือเห็นอยู่ซึ่งบุคคลผู้ข้องอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ คือการยึดมั่นถือมั่น และหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมาร เพื่อถือเอารูปาทิขันธ์ เครื่องยึดถือว่าสามารถล่วงพ้นจากบ่วงมัจจุได้ พึงเป็นผู้มีสติ ไม่เข้าไปยึดถืออะไรๆ ในโลกทั้งปวง.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต และเมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในคราวก่อนนั้นแล.

               จบอรรถกถาภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค ภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 388อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 413อ่านอรรถกถา 30 / 433อ่านอรรถกถา 30 / 663
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=30&A=3783&Z=3982
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=1138
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=1138
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :