ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 148อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 152อ่านอรรถกถา 31 / 153อ่านอรรถกถา 31 / 737
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
วิมุตติญาณนิทเทส

               ๑๓. อรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส               
               [๑๕๒] พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ - ความเห็นว่าเป็นตัวตน.
               มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺฐิ เพราะอรรถว่าความเห็นในกาย กล่าวคือขันธปัญจกอันมีอยู่ หรือในกายนั้นอันมีอยู่เอง.
               บทว่า วิจิกิจฺฉา - ความไม่แน่ใจ.
               มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิจิกิจฺฉา เพราะอรรถว่าปราศจากความแน่ใจ หรือเมื่อค้นหาสภาวธรรมเป็นเหตุยากลำบาก.
               บทว่า สีลพฺพตปรามาโส - ความลูบคลำศีลและพรต.
               มีวิเคราะห์ว่า เป็นผู้ถือมั่นยึดมั่นว่า ความหมดจดมีด้วยศีลด้วยพรต.
               ชื่อว่า สีลพฺพตปรามาโส เพราะอรรถว่าผู้ถือมั่นยึดมั่นนั้น ละเลยสภาวธรรมลูบคลำแต่สิ่งอื่น. เมื่อทิฏฐิแม้มีอยู่ทั้งสองอย่าง ท่านก็ยังกล่าวถึงสักกายทิฏฐิ เพื่อแสดงถึงการละทิฏฐิทั้งหมด ด้วยการละสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ อย่างอันเป็นปรกติ โดยยึดถือสักกายทิฏฐิตามปรกติ เว้นการคาดคะเนและการอ้างผู้อื่น.
               ส่วนสีลัพพตปรามาส พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ต่างหากเพื่อแสดงถึงมิจฉาปฏิทาของคนทั้งหลายผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราปฏิบัติปฏิปทาบริสุทธิ์. ท่านกล่าวถึงทิฏฐานุสัย - ความเห็นผิดอันนอนในสันดาน, วิจิกิจฉานุสัย - ความลังเลใจอันนอนอยู่ในสันดาน เพื่อแสดงถึงการละด้วยละอนุสัยแม้ ๓ อย่างนั่นแหละ มิใช่เพราะกิเลสต่างกัน.
               บทว่า อุปกฺกิเลสา - อุปกิเลสทั้งหลาย.
               มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า กิเลสา เพราะอรรถว่าทำให้เศร้าหมอง ทำให้เดือดร้อน ทำให้ลำบาก. ชื่อว่า อุปกฺกิเลสา เพราะอรรถว่าเป็นกิเลสร้ายมีกำลังแรง.
               บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺนา โหนฺติ - เป็นกิเลสอันพระโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว คือตัดขาดด้วยดี เพราะดับไม่เกิดขึ้นอีกด้วยสมุจเฉทประหาณ.
               บทว่า สปริยุฏฺฐาเนหิ - พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่กิเลสครอบงำ.
               มีวิเคราะห์ว่า กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่าหุ้มห่อจิตเกิดขึ้น.
               บทนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย อันเนื่องด้วยความประพฤติ.
               ชื่อว่า สปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่าพร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส คืออุปกิเลสอันนอนอยู่ในสันดาน.
               บทว่า จิตฺตํ วิมุตฺตํ โหติ - จิตเป็นอันพ้นแล้ว.
               ความว่า จิตเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสันตติ เพราะกิเลสเหล่านั้นทำให้เกิดในที่ไม่สมควร ชื่อว่าเป็นอันพ้นแล้วจากกิเลสนั้น. จิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า สุวิมุตฺตํ เพราะพ้นแล้วด้วยดี.
               บทว่า ตํวิมุตฺติญาตฏฺเฐน คือ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น.

               จบอรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา วิมุตติญาณนิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 148อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 152อ่านอรรถกถา 31 / 153อ่านอรรถกถา 31 / 737
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1733&Z=1740
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6744
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6744
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :