ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 185อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 186อ่านอรรถกถา 31 / 202อ่านอรรถกถา 31 / 737
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

               ๒๕-๒๘. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส               
               [๑๘๖-๒๐๑] พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               เพราะเมื่อท่านไม่กล่าวธรรมไว้ก็ไม่สามารถจะกล่าวถึงกิจของธรรมนั้นได้. ฉะนั้น จึงไม่สนใจลำดับที่ท่านยกขึ้นชี้แจงธรรมทั้งหลายก่อน. อรรถแห่งธรรมเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้แล้ว.
               พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรมอันนับเนื่องด้วย ธมฺม ศัพท์ด้วยบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรม เมื่อจะแสดงอรรถแห่ง นานตฺต ศัพท์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺโญ สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง.
               จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า อญฺโญ ธมฺโม เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอันท่านแสดงถึงความต่างกันแห่งธรรมทั้งหลาย.
               บทว่า ปฏิวิทิตา - รู้เฉพาะแล้ว คือ รู้โดยความเป็นธรรมเฉพาะหน้า ชื่อว่าปรากฏแล้ว. ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวอรรถแห่งบทปฏิสัมภิทา.
               พระสารีบุตรเถระแสดงถึงกิจมีการน้อมใจเชื่อเป็นต้น เป็นอรรถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺโฐ อตฺโถ - สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ.
               บทว่า สนฺทสฺเสตํ คือ เพื่อแสดงอย่างอื่นแก่ผู้ใคร่จะรู้ แต่เมื่อผู้อื่นฟังถ้อยคำก็ย่อมได้เหมือนกัน.
               บทว่า พยญฺชนนิรุตฺตาภิลาปา - การระบุพยัญชนะและนิรุตติ คือนามพยัญชนะ นามนิรุตติ นามาภิลาปะ. ชื่อที่ยังอรรถให้ปรากฏ ชื่อว่าพยัญชนะ. ชื่อว่านิรุตติ เพราะเจาะจงอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ.๑- เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสังขาร แล้วกล่าวทำให้มีเหตุ, ท่านกล่าวว่าอภิลาปะ เพราะเป็นเหตุระบุความ.
____________________________
๑- สํ. ขนฺธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๕๙

               อนึ่ง ชื่อว่านาม นี้มี ๔ อย่าง คือ สามัญนาม ๑ คุณนาม ๑ กิตติมนาม ๑ โอปปาติกนาม ๑.
               ในนาม ๔ อย่างนั้น ในปฐมกัปพระนามของพระราชาว่า มหาสมมติราช เพราะมหาชนสมมติตั้งขึ้น ชื่อว่าสามัญนาม - นามโดยสามัญ.
               ท่านกล่าวหมายถึง๑- บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมติดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก.
____________________________
๑- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๖๓

               ชื่อที่ได้มาโดยคุณความดีอย่างนี้ว่า พระธรรมกถึก ปังสุกูลิกภิกษุ วินัยธรภิกษุ ติปิฏกธรภิกษุ ผู้มีศรัทธา ผู้มีสติ ดังนี้ ชื่อว่าคุณนาม - โดยคุณความดี.
               ชื่อโดยคุณความดีของพระตถาคต ตั้งหลายร้อยชื่อ มีอาทิว่า ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ. ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
                                   อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มหาสิโน
                                   คุเณหิ นามํ อุทฺเธยฺย อปินาม สหสฺสโต.

                         พระนามของพระตถาคตผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                         พร้อมด้วยคุณความดีมีนับไม่ถ้วน. บัณฑิตควรยก
                         พระนามด้วยพระคุณขึ้นแสดง แม้ตั้งพันพระนาม.

               ในวันตั้งชื่อเด็กที่เกิด พวกญาติพากันทำสักการะแก่ทักขิไณยบุคคล แล้วอยู่ใกล้ กำหนดตั้งชื่อว่าทารกนี้ชื่อโน้นดังนี้ นี้ชื่อว่า กิตติมนาม - นามโดยมีเกียรติ.
               อนึ่ง การบัญญัติแต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงการบัญญัติต่อมา. โวหารแต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงโวหารภายหลัง.
               เหมือนอย่างว่า แม้ในปุริมกัป ดวงจันทร์ก็ชื่อว่าจันทร์. แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าดวงจันทร์นั่นเอง. ในอดีต ดวงอาทิตย์ สมุทร ปฐพีก็ยังชื่อเหมือนเดิม ภูเขาก็ชื่อว่าภูเขา. แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าภูเขานั่นเอง.
               นี้ชื่อว่าโอปปาติกนาม คือเป็นนามที่ผุดเกิด.
               ชื่อแม้ ๔ อย่างนี้ ก็เป็นชื่อเดียวนั่นเอง. ชื่อนั้นใช้เพียงเป็นที่สังเกตของชาวโลก ว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ชื่อว่านาม เป็นเสียงส่องถึงเนื้อความ. ทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 185อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 186อ่านอรรถกถา 31 / 202อ่านอรรถกถา 31 / 737
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=2130&Z=2233
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7178
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7178
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :