ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 101อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 102อ่านอรรถกถา 32 / 103อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๐. สุธาวรรค
๑๐. พุทธุปัฏฐากเถราปทาน (๑๐๐)

               ๑๐๐. อรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระพุทธุปัฏฐากเถระมีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในตระกูลคนเป่าสังข์ เจริญวัยแล้วได้เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือในการเป่าสังข์ของตน.
               ท่านเป่าสังข์ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วบูชาด้วยเสียงสังข์นั่นเอง.
               ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านได้มีชื่อเสียงกึกก้องบันลือลั่นปรากฏไปทั่วทุกสถาน.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลที่ปรากฏแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า มธุสสระ ดังนี้ เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ภายหลัง ท่านปรากฏชื่อว่า มธุรัสสเถระ ดังนี้.
               วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้.
               คำนั้นท่านได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
               บทว่า อโหสึ สงฺขธมโก ความว่า ชื่อว่าสังขะ เพราะขุดด้วยดีไป. อธิบายว่า เที่ยวไปในที่สุดแห่งน้ำในสมุทร.
               ชื่อว่าสังขธมกะ ผู้เป่าสังข์นั้นทำเสียงให้กึกก้อง. อธิบายว่า เรานั้นได้เป็นผู้เป่าสังข์นั้นเอง.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน               
               จบอรรถกถาสุธาวรรคที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สุธาปิณฑิยเถราปทาน
                         ๒. สุปีฐิยเถราปทาน
                         ๓. อัฑฒเจลกเถราปทาน
                         ๔. สูจิทายกเถราปทาน
                         ๕. คันธมาลิยเถราปทาน
                         ๖. ติปุปผิยเถราปทาน
                         ๗. มธุปิณฑิกเถราปทาน
                         ๘. เสนาสนทายกเถราปทาน
                         ๙. ไวยาวัจจกเถราปทาน
                         ๑๐. พุทธุปัฏฐากเถราปทาน
               ท่านประกาศคาถาไว้ ๖๐ คาถากึ่ง.
               จบสุธาวรรคที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               อนึ่ง รวมวรรคมี ๑๐ วรรค คือ
                         พุทธวรรคที่ ๑
                         สีหาสนิยวรรคที่ ๒
                         สุภูติวรรคที่ ๓
                         กุณฑธานวรรคที่ ๔
                         อุปาลิวรรคที่ ๕
                         วีชนีวรรคที่ ๖
                         สกจิตตนิยวรรคที่ ๗
                         นาคสมาลวรรคที่ ๘
                         ติมีรปุปผิยวรรคที่ ๙
                         เป็น ๑๐ ทั้งสุธาวรรค
               รวมคาถาได้ ๑,๔๕๕ คาถา.
               จบหมวด ๑๐ แห่งพุทธวรรค               
               จบหมวด ๑๐๐ ที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๐. สุธาวรรค ๑๐. พุทธุปัฏฐากเถราปทาน (๑๐๐) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 101อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 102อ่านอรรถกถา 32 / 103อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=3270&Z=3300
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=3136
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=3136
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :