ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 115อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 116อ่านอรรถกถา 32 / 117อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค
๔. เอกาสนิยเถราปทาน (๑๑๔)

               ๑๑๔. อรรถกถาเอกานิยเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระเอกาสนิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม นาเมน ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี ท่านได้เกิดเป็นจอมเทพชื่อว่าวรุณะ. วรุณเทพนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตใจเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยบริวาร พากันบำรุงบูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น และด้วยเพลงขับ.
               ในกาลอื่นต่อจากนั้นมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว เขาพร้อมด้วยบริวารได้นำเครื่องดนตรีทุกชิ้นและผู้แสดงดนตรีมา ทำการแสดงยังที่ต้นมหาโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คล้ายกับแสดงต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าฉะนั้น.
               ด้วยบุญนั้น เขาจุติจากเทวโลกชั้นนั้นแล้วมาบังเกิดในนิมมานรดีเทวโลก.
               ครั้นเขาได้เสวยสวรรค์สมบัติอย่างนี้แล้ว ต่อมาได้เป็นมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ก็ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติอีก.
               พอมาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงได้บวชในพระศาสนาของพระศาสดา ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์.
               ภายหลังท่านได้ระลึกถึงกรรมของตน รู้ถึงกรรมนั้นตามความเป็นจริงแล้ว เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม นาเมน ดังนี้.
               ในคำเริ่มต้นนั้นมีการเชื่อมความว่า
               ในเวลาที่เราได้บูชาพระพุทธเจ้าและต้นโพธิเพื่อการตรัสรู้พร้อมนั้น เราได้เป็นจอมเทพนามว่าวรุณะ.
               พึงทราบอรรถวิเคราะห์ในบทว่า ธรณีรุหปาทปํ ดังนี้
               ชื่อว่าธรณี เพราะรองรับซึ่งต้นไม้ เครือเถา ภูเขาและรัตนะ ๗ ประการเป็นต้นไว้ได้.
               ชื่อว่าธรณีรุหะ เพราะงอกงามตั้งมั่นอยู่บนพื้นแผ่นดินนั้น.
               ชื่อว่าปาทโป เพราะดูดน้ำได้จากทางราก.
               อธิบายว่า ย่อมดูดกินน้ำที่รดแล้วทางราก ได้แก่ย่อมแผ่รสแห่งอาโปไปตามลำดับ กิ่งและก้านของต้นไม้.
               เชื่อมความว่า ต้นโพธิ์นั้นดูดกินน้ำทางรากงอกงามตั้งอยู่บนแผ่นดิน.
               บทว่า สกกมฺมาภิรทฺโธ มีการเชื่อมความว่า ด้วยกุศลกรรมของตน จึงยินดีเลื่อมใส คือเลื่อมใสในต้นโพธิ์อันอุดมแล.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาเอกาสนิยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๒. มหาปริวารวรรค ๔. เอกาสนิยเถราปทาน (๑๑๔) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 115อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 116อ่านอรรถกถา 32 / 117อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=3535&Z=3553
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=3417
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=3417
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :