ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 23อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 24อ่านอรรถกถา 32 / 25อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค
๒. อุปวาณเถราปทาน (๒๒)

               ๒๒. อรรถกถาอุปวาณเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระอุปวาณเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
               ท่านอุปวาณเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลแห่งคนขัดสน บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน เมื่อมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์และคนธรรพ์ทั้งหลายต่างถือเอาพระธาตุของพระองค์มากระทำพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๗ โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตนซึ่งขาวสะอาดบริสุทธิ์ ผูกปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา.
               ยักษ์เสนาบดีนามว่าอภิสัมมตกะ อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์ มีกายไม่ปรากฏ ถือธงในอากาศกระทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ.
               เขาเห็นดังนั้นได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่าอุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวทรงรับมอบพระเชตวันวิหาร เป็นผู้ได้ศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖.
               ในกาลใด ความไม่ผาสุกได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น พระเถระได้น้อมนำน้ำร้อน น้ำปานะและเภสัช เห็นปานนั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระโรคของพระศาสดานั่นจึงสงบ. พระศาสดาได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ท่าน.
               ท่านได้บรรลุอรหัตผล ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
               เชื่อมความว่า พระชินเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชำระมาร ๕ พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ถึงฝั่งคือโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมทั้งปวงในที่นั้น บรรลุถึงที่สุดคือพระนิพพาน ทรงโพลงพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ให้สว่างไสวดุจกองเพลิง ทรงยังสัตวโลกทั้งปวงให้สว่างไสวด้วยความโชติช่วงคือพระสัทธรรม เป็นพระสัมพุทธะคือเป็นผู้ตรัสรู้ดี ทรงปลุกหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในความหลับคืออวิชชา ให้ตื่นจากกิเลสนิทราพร้อมทั้งวาสนา ทรงมีพระเนตรเบิกบานเต็มที่ ดุจดอกบัวแย้มบาน ทรงปรินิพพานคือปรินิพพานด้วยกิเลสนิพพาน ถึงสถานที่ใครๆ ไม่เห็น.
               บทว่า ชงฺฆา ความว่า มีบันไดที่ผูกพันไว้เพื่อประโยชน์แก่อันตั้งไว้ซึ่งอิฐที่จะพึงก่อในเวลากระทำพระเจดีย์.
               บทว่า สุโธตํ รชเกนาหํ ความว่า เราได้ทำผ้าอุตราสงค์ที่บุรุษผู้ซักผ้าซักดีแล้วที่ปลายไม้ไผ่ แล้วโยนขึ้นไปให้เป็นธง.
               อธิบายว่า ให้ยกขึ้นไว้ในอัมพรอากาศ.
               คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาอุปวาณเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค ๒. อุปวาณเถราปทาน (๒๒) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 23อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 24อ่านอรรถกถา 32 / 25อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1591&Z=1683
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=976
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=976
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :