ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 25อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 26อ่านอรรถกถา 32 / 27อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค
๔. เบญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน (๒๔)

               ๒๔. อรรถกถาปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน               
               อปทานแห่งท่านพระปัญจสีลสมาทานนิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เป็นคนขัดสนตามสมควรแก่กุศลกรรมที่ตนทำไว้ในภพก่อน จึงมีข้าวน้ำและโภชนะน้อย ทำการรับจ้างคนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ รู้ถึงโทษในสงสาร แม้ประสงค์จะบวชก็มิได้บวช สมาทานศีล ๕ ในสำนักของท่านนิสภเถระ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี. รักษาศีลตลอดแสนปี เพราะตนเกิดในกาลมีอายุยืน.
               ด้วยกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลมหาศาลในกรุงสาวัตถี. เห็นมารดาบิดาสมาทานศีล ระลึกถึงศีลของตน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต บวชแล้ว.
               ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้.
               บทว่า ภตโก อาสหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราบำเพ็ญบุญ เราเป็นคนรับจ้างคือเป็นผู้กระทำการงานเพื่อค่าจ้าง.
               บทว่า ปรกมฺมายเน ยุตฺโต ความว่า เราประกอบแล้วคือกระทำแล้วซึ่งการทำการงานของผู้อื่นเพื่อค่าจ้าง จึงไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากสงสาร เพราะไม่มีโอกาส.
               บทว่า มหนฺธการปิหิตา ความว่า ผู้อันความมืดคือกิเลสใหญ่ปิดกั้นไว้.
               บทว่า ติวิธคฺคีหิ ฑยฺหเร ความว่า อันไฟ ๓ กองกล่าวคือไฟคือนรก ไฟคือเปรต ไฟคือสงสาร หมกไหม้อยู่.
               อธิบายว่า เราพึงเป็นผู้ปลีกตนออกไปด้วยอุบายนั้น คือด้วยเหตุนั้น.
               อธิบายว่า ไทยธรรม คือวัตถุที่ควรจะพึงให้มีข้าวและน้ำเป็นต้นของเราไม่มี เพราะไม่มีข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น เราจึงเป็นคนกำพร้าทุกข์ยาก ต้องทำการรับจ้างเลี้ยงชีพ.
               คำว่า ยนฺนูนาหํ ปญฺจสีลํ รกฺเขยฺยํ ปริปูรยํ ความว่า เราพึงสมาทานศีล ๕ ให้บริบูรณ์. ถ้ากระไรแล้ว เราพึงรักษาคือคุ้มครองให้ดี เจริญงาม.
               บทว่า สฺวาหํ ยสมนุภวึ ความว่า เรานั้นเสวยยศใหญ่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเนืองๆ ด้วยอานุภาพแห่งศีลเหล่านั้น.
               อธิบายว่า การยกย่องผลของศีลเหล่านั้นแม้สิ้นโกฏิกัป พึงประกาศทำให้ปรากฏเพียงส่วนเดียวเท่านั้น.
               คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค ๔. เบญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน (๒๔) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 25อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 26อ่านอรรถกถา 32 / 27อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1732&Z=1769
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1034
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1034
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :