ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 391อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 392อ่านอรรถกถา 32 / 393อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓๙. อัมพฏผลวรรค
๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (๓๙๐)

               ๓๙๐. อรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน               
               พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อโนตตฺตสราสนฺเน ความว่า ชื่อว่า อโนตตฺโต เพราะน้ำที่ถูกความร้อนแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์แผ่ปกคลุมไปไม่ถึง เพราะมียอดภูเขาหลายยอดช่วยปิดบังไว้.
               ชื่อว่าสระ เพราะเป็นแดนไหลไป คือเป็นแดนเกิดก่อน หลั่งไหลไปแห่งแม่น้ำใหญ่.
               อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่ที่ไหลออกจากช่องมีช่องสีหะเป็นต้นแล้ว ไหลวนไปทางขวา ๓ รอบ จึงไหลไปทางทิสาภาคที่ไหลออกแล้วๆ แต่เดิม.
               อโนตัตตะศัพท์ กับสระศัพท์ รวมกันเป็นอโนตัตตสระ.
               อธิบายว่า ที่อยู่ใกล้กับสระนั้น คือใกล้กับสระอโนดาต ได้แก่ตรงที่ใกล้สระอโนดาตนั้น.
               บทว่า รมณีเย ความว่า ในสถานที่อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น.
               ชื่อว่า รมณียํ เพราะเป็นสถานที่อันเทวดา ทานพ คนธรรพ์ กินนร งู พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น พึงรื่นรมย์ใจ คือพึงติดใจ.
               บทว่า สิลาตเล ความว่า พื้นแห่งศิลาเป็นภูเขาลูกเดียว.
               บทว่า นานารตนปชฺโชเต ความว่า โชติช่วงเปล่งปลั่งด้วยแก้วมากมายหลายประการมีแก้ว ทับทิมและไพฑูรย์เป็นต้น.
               บทว่า นานาคนฺธวนนฺตเร เชื่อมความว่า ที่พื้นศิลา (หิน) ในละแวกป่าอันเป็นชัฏดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด เช่นไม้จันทน์ กฤษณา การบูร คูน หมากหอม อโศก กากะทิง บุนนาคและการะเกดเป็นต้นมีประการต่างๆ.
               ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของชาวโลก เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวโลกทั้ง ๓ ทรงมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม เพราะยิ่งใหญ่ด้วยพระคุณ และเพราะยิ่งใหญ่ด้วยการนับ ประทับนั่งเหนืออาสนะศิลานั้นแล้ว ตรัสชี้แจงถึงกรรม คือการถวายดอกไม้ของพระองค์ คือได้ทรงกระทำให้ปรากฏชัดเป็นพิเศษ.
               คำที่เหลือในข้อความนั้นมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทั้งหมด เพราะได้กล่าวไว้แล้วในพุทธาปทานในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย.
               พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้รวบรวมกุศลกรรมและอกุศลกรรมไว้ในอปทานนี้ ทั้งที่มีปรากฏอยู่ในพุทธาปทานแล้ว ก็ด้วยมุ่งที่จะรวมไว้ในวรรค เพราะจะได้ชี้แจงแสดงเฉพาะกรรมแล.
               จบอรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน               
               จบอรรถกถาอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙               
               -----------------------------------------------------               

               รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน
                         ๒. ลพุชทายกเถราปทาน
                         ๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน
                         ๔. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
                         ๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน
                         ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน
                         ๗. กทลิผลทายกเถราปทาน
                         ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน
                         ๙. โสณโกฏิวิสเถราปทาน
                         ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ
               บัณฑิตทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๙๑ คาถา
               จบอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙               
               จบภาณวารที่ ๑๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓๙. อัมพฏผลวรรค ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (๓๙๐) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 391อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 392อ่านอรรถกถา 32 / 393อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=7849&Z=7924
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5280
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5280
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :