ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 45อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 46อ่านอรรถกถา 32 / 47อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๕. อุปาลีวรรค
๔. สันนิฏฐาปกเถราปทาน (๔๔)

               ๔๔. อรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสันนิฏฐาปกเถระมีคำเริ่มต้นว่า อรญฺเญ กุฏิกํ กตฺวา ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในการแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้มีเหย้าเรือน เห็นโทษในการครองเรือน ละวัตถุกามและกิเลสกาม ไปอยู่ป่าระหว่างภูเขาไม่ไกลหิมวันตบรรพต.
               ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จถึงที่นั้น เพราะเป็นผู้ใคร่ต่อการสงัด.
               ลำดับนั้น ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจผ่องใส ไหว้แล้ว ได้ลาดหญ้าถวายเพื่อประทับนั่ง. ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งในที่นั้น เสวยผลาผลมีผลมะพลับเป็นต้นอันมีรสอร่อยเป็นอเนก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง บังเกิดในเรือนมีตระกูลนี้ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
               ท่านปรากฏนามว่า สันนิฏฐาปกเถระ เพราะตั้งอยู่ด้วยดีในพระนิพพาน กล่าวคือสันติบท (บทอันสงบ) โดยปราศจากอุตสาหะทีเดียว เหมือนในเวลาบรรลุพระอรหัตขณะจดมีดโกนปลงผม.
               ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อรญฺเญ กุฏิกํ กตฺวา ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺเญ ความว่า เพราะกลัวแต่สีหะและเสือโคร่งเป็นต้น มนุษย์ทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ติดในที่นั้น เหตุนั้นที่นั้นจึงชื่อว่าอรัญญะ. ในอรัญญะ (ในป่า) นั้น.
               บทว่า กุฏิกํ ความว่า เรากระทำกระท่อมมุงด้วยหญ้าอยู่ คือสำเร็จการอยู่ในระหว่างภูเขา.
               เชื่อมความว่า เรายินดีอยู่ ด้วยลาภและด้วยความไม่มีลาภ ด้วยยศและด้วยความไม่มียศ.
               บทว่า ชลชุตฺตมนามกํ ความว่า ดอกบัวอันเกิดในน้ำ ชื่อว่าชละ, คือปทุม ดอกบัวอันเกิดในน้ำอันสูงสุด ชื่อว่าชลชุตตมะ ชื่ออันเสมอด้วยดอกบัวอันเกิดในน้ำอันสูงสุดของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีชื่อเสมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำอันสูงสุด ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระนามเสมือนกับด้วยดอกบัวที่เกิดในน้ำอันสูงสุด.
               คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะประกอบด้วยนัยอันมาแล้วในพระบาลีแล.
               จบอรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๕. อุปาลีวรรค ๔. สันนิฏฐาปกเถราปทาน (๔๔) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 45อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 46อ่านอรรถกถา 32 / 47อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2258&Z=2273
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1842
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1842
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :