ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 53อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 54อ่านอรรถกถา 32 / 55อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๖. วีชนีวรรค
๒. สตรังสิยเถราปทาน (๕๒)

               ๕๒. อรรถกถาสตรังสิเถราปทาน๑-               
____________________________
๑- บาลีว่า สตรังสิยเถราปทาน.

               อปทานของท่านพระสตรังสิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุจฺจิยํ เสลมารุยฺห ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงฝั่งในสักกฏพยากรณ์และในไตรเพท ละการครองเรือน เข้าสู่ป่าบวชเป็นฤาษี สำเร็จการอยู่ในหิมวันตประเทศ.
               ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงลูกหนึ่ง เพราะความเป็นผู้ใคร่ต่อความสงัด แล้วนั่งดุจกองไฟที่ลุกโพลง. ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ประทับนั่งอยู่เช่นนั้น เกิดโสมนัส ประคองอัญชลี ชมเชยด้วยเหตุหลายอย่าง.
               ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเสวยทิพยสมบัติในกามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น จากนั้นก็บังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าสตรังสี ในมนุษยโลก. ท่านเสวยสมบัติแม้นั้นถึงหลายครั้ง.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น บรรพชาบรรลุพระอรหัต เพราะความที่ตนมีญาณแก่รอบแล้วด้วยอำนาจบุญสมภารในกาลก่อน.
               ท่านระลึกว่า เพราะกรรมอะไร เรามีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น จึงบรรลุสันติบทตามลำดับ เห็นบุพกรรมด้วยญาณโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุจฺจิยํ เสลมารุยฺห ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจิยํ เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงอันล้วนแล้วแต่หินแล้วประทับนั่ง.
               บทว่า ปพฺพตสฺสาวิทูรมฺหิ ความว่า ในที่ใกล้แห่งภูเขาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง.
               บทว่า พฺราหฺมโณ มนฺตปารคู ความว่า พราหมณ์คนหนึ่งถึงฝั่ง คือที่สุดแห่งไตรเพทกล่าวคือมนต์. พราหมณ์ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์นี้แสดงอ้างถึงตนดุจผู้อื่น.
               บทว่า อุปวิฏฺฐํ มหาวีรํ ความว่า ซึ่งพระชินเจ้าผู้มีความเพียร ผู้นั้งอยู่บนภูเขานั้น ผู้ประเสริฐเช่นไร.
               เชื่อมความว่า เราได้ประคองอัญชลีคือประคองกระพุ่มมืออัญชลีเหนือเศียร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ คือพรหมและเทพชั้นกามาวจรหกชั้นทั้งสิ้น ผู้ชื่อว่านราสภะ คือผู้องอาจกว่านระทั้งหลาย ผู้ประเสริฐ ผู้นำโลกคือผู้นำสัตวโลกทั้งสิ้น ผู้ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไว้เหนือเศียรเกล้า แล้วชมเชยคือสดุดี.
               บทว่า อภาสถ ความว่า ได้พยากรณ์ว่า ผู้ใดได้ให้อัญชลีนี้ ฯลฯ ผู้นั้นจัก...
               คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาสตรังสิเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๖. วีชนีวรรค ๒. สตรังสิยเถราปทาน (๕๒) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 53อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 54อ่านอรรถกถา 32 / 55อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2440&Z=2463
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2066
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2066
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :