ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 77อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 78อ่านอรรถกถา 32 / 79อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๘. นาคสมาลวรรค
๖. ติณสันถารทายกเถราปทาน (๗๖)

               ๗๖. อรรถกถาติณสันถรทายกเถราปทาน๑-               
____________________________
๑- บาลีว่า ติณสันถารทายกเถราปทาน.

               อปทานของท่านพระติณสันถระมีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ละการครองเรือน เพราะท่านเกิดก่อนแต่พุทธุปบาทกาล บวช เป็นดาบสอาศัยสระแห่งหนึ่ง ไม่ไกลป่าหิมพานต์อยู่.
               สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เสด็จไปทางอากาศเพื่ออนุเคราะห์ท่าน.
               ครั้งนั้นแล ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากอากาศประทับยืนอยู่นั้น มีใจเลื่อมใส เกี่ยวหญ้าทำเป็นสันถัตหญ้า ให้พระองค์ประทับนั่ง ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ โดยการนับถือและการเอื้อเฟื้อเป็นอันมาก โค้งกายแล้วหลีกไป.
               ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่างมิใช่น้อย.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
               ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
               คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
               ก็ในบทว่า มหาชาตสฺสโร นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               ชื่อว่าสระ เพราะเป็นที่เที่ยวไปแห่งสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าเป็นต้นผู้ต้องการด้วยน้ำดื่ม.
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสระ เพราะเป็นที่ไหลมาแห่งแม่น้ำและลำธารเป็นต้น. สระนั้นใหญ่ด้วย เพราะเกิดเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามหาชาตสระ.
               พึงเห็นว่าท่านกล่าวมหาชาตสระ เพราะไม่ปรากฏชื่อเหมือนสระอโนดาต และสระชื่อว่าฉัททันตะเป็นต้น.
               บทว่า สตปตฺเตหิ สญฺฉนฺโน ความว่า ในดอกแต่ละดอก มีกลีบ ๑๐๐ กลีบด้วยสามารถดอกละร้อยกลีบ. ดารดาษคือเป็นรกชัฏไปด้วยดอกปทุมขาว ๑๐๐ กลีบ.
               บทว่า นานาสกุณมาลโย ความว่า สัตว์หลายชนิด เช่น หงส์ ไก่ นกเขาและงูน้ำเป็นต้น แต่ละตัวย่อมร้องคือทำเสียง เพราะฉะนั้น สระนั้นจึงเป็นที่อยู่ คือเป็นที่รองรับของนกทั้งหลายอันได้นามว่าสกุณะ ดังนี้.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาติณสันถรทายกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๘. นาคสมาลวรรค ๖. ติณสันถารทายกเถราปทาน (๗๖) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 77อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 78อ่านอรรถกถา 32 / 79อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2871&Z=2887
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2654
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2654
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :