ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 33.1 / 1อ่านอรรถกถา 33.1 / 138อรรถกถา เล่มที่ 33.1 ข้อ 139อ่านอรรถกถา 33.1 / 140อ่านอรรถกถา 33.1 / 180
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ ๕๕. ภัททิยวรรค
๙. วนวัจฉเถราปทาน

               ๕๔๙. อรรถกถาวนวัจฉเถราปทาน               
               พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
               อปทานของท่านพระวนวัจฉเถระมีคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดศรัทธาบวชแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างบริสุทธิ์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นไปบังเกิดในกำเนิดนกพิราบ อยู่ใกล้พวกภิกษุผู้อยู่ในป่า.
               เขามีเมตตาจิตในหมู่ภิกษุเหล่านั้น ได้ฟังธรรมจุติจากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงกบิลพัสดุ์.
               ในเวลาที่เขาอยู่ในท้องของมารดานั่นแลหะ มารดาได้เกิดการแพ้ท้อง เพื่อจะอยู่ใบป่า และเพื่อคลอดในป่า. การออกจากครรภ์ได้มีแก่มารดาผู้อยู่ในป่า ตามอำนาจแห่งความปรารถนานั้นแล้ว. และพวกญาติได้เอาท่อนผ้ารับเขาผู้คลอดจากครรภ์แล้ว.
               เวลานั้นเป็นเวลาที่พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงอุบัติขึ้นแล้ว. พระราชาทรงมีรับสั่งให้พวกคนนำเด็กนั้นมาแล้ว เลี้ยงไว้ร่วมกับพระโพธิสัตว์.
               ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จออกสู่พระมหาภิเนษกรมณ์ ผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาตลอดเวลา ๖ ปี เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. นายวนวัจฉะนั้นไปหาพระมหากัสสปะเลื่อมใสแล้วในโอวาทของท่าน ได้ทราบจากสำนักของท่านว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงไปเฝ้าพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้วจึงบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยอภิญญา ๖.
               ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า พฺรหฺมพนฺธุ มหายโส นี้ได้แก่ เป็นพวกพร้องคือญาติของพวกพราหมณ์.
               พึงทราบว่า ในเมื่อควรจะกล่าวว่า พฺราหฺมณพนฺธุ แต่ท่านได้กล่าวไว้ว่า พฺรหฺมพนฺธุ ก็เพื่อความสะดวกแก่การประพันธ์คาถา.
               ชื่อว่า มหายโส เพราะมียศแผ่ปกคลุมไปในโลกทั้ง ๓.
               คำที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความพอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.
               จบอรรถกถาวนวัจฉเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ ๕๕. ภัททิยวรรค ๙. วนวัจฉเถราปทาน จบ.
อ่านอรรถกถา 33.1 / 1อ่านอรรถกถา 33.1 / 138อรรถกถา เล่มที่ 33.1 ข้อ 139อ่านอรรถกถา 33.1 / 140อ่านอรรถกถา 33.1 / 180
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=3932&Z=3968
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=7106
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=7106
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๕  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :