ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] [๓]อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 242อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 255อ่านอรรถกถา 35 / 274อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

หน้าต่างที่ ๒ / ๓.

               ว่าด้วยนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ               
               พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ เป็นต้น ในนิเทศแห่งบทว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ต่อไป.
               จักขุวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณ ก็มีอย่างละ ๒ เหมือนกัน (เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐).
               ส่วนมโนวิญญาณมี ๒๒ อย่าง คือ
                         มโนธาตุทีเป็นกุศลและอกุศลวิบาก ๒
                         อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๓
                         สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๘
                         รูปาวจรจิต ๕
                         อรูปาวจรจิต ๔.
               โลกิยวิญญาณแม้ทั้งหมดมี ๓๒ ที่สงเคราะห์ (รวบรวมไว้) ด้วยวิญญาณ ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วนโลกุตรวิญญาณทั้งหลายไม่ควรในวัฏฏกถา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอา.
               ในนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น หากมีคำถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า วิญญาณมีประการตามที่กล่าวมานี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
               ตอบว่า รู้ได้ เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่สร้างไว้ วิบากก็ไม่มี.
               จริงอยู่ วิญญาณนี้เป็นวิบาก และวิบากย่อมไม่เกิด เพราะไม่มีกรรมที่สร้างไว้ หากว่า จะพึงเกิดไซร้ วิบากทั้งหมดก็พึงเกิดแก่เหล่าสัตว์ทุกจำพวก แต่ก็หาเกิดไม่ เพราะฉะนั้น ข้อนี้ก็จะพึงทราบได้ว่า "วิญญาณนี้ย่อมมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย" ดังนี้.
               หากมีคำถามว่า วิญญาณไหน มีเพราะสังขารไหนเป็นปัจจัย.
               ตอบว่า กุศลวิบากจิต ๑๖ ดวง คือจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก ๕ ดวง มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ (กุศลวิบาก) ๒ ดวง กามาวจรมหาวิบาก ๘ ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นกามาพจรเป็นปัจจัยก่อน.
               เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น เพราะกามาพจรกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว.๑- โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม ๕ ดวง). มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก (สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ดวง) ก็เกิดขึ้น. มโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวง คือ ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส และสัมปยุตด้วยอุเบกขา ก็เกิดขึ้น.
               กามาวจรมหาวิบาก ๘ คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นอสังขาร (ไม่มีการชักชวน) ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณวิปปยุตโดยอสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยสสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดยอสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดยสสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยอสังขาร ๑ ดวง, ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต ที่เป็นสสังขาร ๑ ดวงเกิดขึ้น.๒-
               อนึ่ง รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง เกิดเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัย. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลนั้นแหละ สงัดจากกามทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว อยู่๓- ดังนี้.
               วิญญาณมี ๒๑ ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยด้วยประการฉะนี้.
               อนึ่ง วิญญาณ ๗ ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศลวิบาก ๕ ดวง มโนธาตุ (สัมปฏิจฉันนจิต) ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ ๑ ดวง มีเพราะอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย.
               เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากเกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม ที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม ๕ ดวง) มโนธาตุวิบาก ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณจิต) ๑#- ดังนี้.
               วิญญาณ ๔ ดวงอย่างนี้ คือ อรูปวิบาก ๔ ดวง มีเพราะอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โยคาวจรบุคคลก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานภูมิอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา ฯลฯ อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เพราะละสุขเสียได้ เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว๕- ดังนี้.
____________________________
๑- อภิ. สํ เล่ม ๓๔/ข้อ ๓๓๘/หน้า ๑๒๘.
๒- อภิ. สํ เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๑๕/หน้า ๑๔๓.
๓- อภิ. สํ เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๑๗/หน้า ๑๔๔.
#- อภิ. สํ เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๗๒/หน้า ๑๗๓.
๕- อภิ. สํ เล่ม ๓๔/ข้อ ๔๑๙/หน้า ๑๔๕.

               ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ ๒ อย่าง               
               วิญญาณใด ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย บัณฑิตทราบวิญญาณนั้นตามที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบปวัตติ (ความเป็นไป) ของวิญญาณนั้น ต่อไป.
               จริงอยู่ วิญญาณทั้งหมดนี้แหละย่อมเป็นไป ๒ อย่าง ด้วยอำนาจปวัตติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ. ในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๑๐ ดวง) มโนธาตุ ๒ ดวง อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส ๑ ดวง รวมเป็น ๑๓ ดวงเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจโวการภพเท่านั้น วิญญาณที่เหลือ ๑๙ ดวง ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ในปฏิสนธิกาลบ้าง ตามควรในภพทั้ง ๓. อย่างไร.

               วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล ๑๓ ดวง               
               วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบากก่อน สำหรับผู้เกิดด้วยกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก ผู้มีอินทรีย์ที่เข้าถึงความแก่รอบตามลำดับ ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา ที่มาสู่คลองแห่งจักขุทวารเป็นต้น อาศัยประสาทมีจักษุเป็นต้น จึงให้สำเร็จทัสสนกิจ (การเห็น) สวนกิจ (การได้ยิน) ฆายนกิจ (การได้กลิ่น) สายนกิจ (การลิ้มรส) ผุสนกิจ (การสัมผัส) เป็นไป.
               วิญญาณ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน.
               ก็วิญญาณ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบากเหล่านั้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์และเป็นอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์เพียงอย่างเดียว. เนื้อความนี้เท่านั้นที่แปลกกันและวิญญาณ ๑๐ แม้เหล่านี้มีทวารที่แน่นอน อารมณ์ที่แน่นอน วัตถุฐานะที่แน่นอน และมีกิจที่แน่นอนเหมือนกัน.
               ต่อจากนั้น มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นซึ่งเป็นกุศลวิบาก ปรารภอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ อาศัยหทยวัตถุยังสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) ให้สำเร็จเป็นไป. มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน. ก็แต่ว่า มโนธาตุทั้ง ๒ นี้ (คือที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก) มีทวารและอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุฐานะแน่นอน และมีกิจ (หน้าที่) แน่นอน.
               ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะที่สหรคตด้วยโสมนัส ปรารภอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก อาศัยหทัยวัตถุ ยังสันตีรณกิจให้สำเร็จ ตัดขาดวิถีด้วยภวังค์ในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ ในที่สุดแห่งชวนะซึ่งสัมปยุตด้วยโลภะของสัตว์ในกามาพจร โดยมาก ย่อมเป็นไปครั้งหนึ่งบ้าง สองครั้งบ้าง ด้วยอำนาจตทารัมมณะในอารัมณ์อันชวนะถือแล้ว. แต่ในการนับความเป็นไปของจิตในตทารัมมณะในทวารทั้งหมดมีวาระแห่งจิต ๒ เท่านั้นมาแล้ว. ก็จิตนี้ได้ชื่อ ๒ อย่าง คือตทารัมมณะและปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์ดวงหลัง) มีทวารและอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุแน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน จิต ๑๓ ดวง พึงทราบว่า ย่อมเป็นไปในปัญจโวการภพ ในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

               ว่าด้วยจิตในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลใน ๓ ภพ ๑๙ ดวง               
               บรรดาจิต ๑๙ ดวงที่เหลือ จิตอะไรๆ ย่อมไม่เป็นไปในปฏิสนธิตามสมควรของตนๆ หามิได้ แต่ในปวัตติกาล มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะ ๒ ดวง คือเป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ในเบื้องต้น ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง คือสันติรณกิจ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากในทวารห้า ๑ ดวง เป็นตทารัมมณกิจ ในทวาร ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ๑ ดวง เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิอันตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทอันเข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ ดวง และจุติกิจในที่สุด ๑ ดวง มี (หทยะ) วัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.
               สเหตุกจิตที่เป็นกามาพจร ๘ ดวง ย่อมยังกิจ ๓ อย่าง ให้สำเร็จ คือเป็นตทารัมมณกิจ ในทวารทั้ง ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในปวัตติกาล ๑ ดวง เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจที่ตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ ดวง จุติกิจในกาลเป็นที่สุด ๑ ดวง มีวัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.
               รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง และอรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง ย่อมยังกิจ ๒ อย่างให้เป็นไป คือเป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจอันตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสีย ซึ่งภวังค์ ๑ ดวง และจุติกิจในกาลเป็นที่สุด ๑ ดวง. บรรดาวิบากจิต ๙ ดวงเหล่านั้น รูปาวจรวิบากจิต มีวัตถุและอารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน วิบากจิตนอกนี้ไม่มีวัตถุ (อรูป) มีอารมณ์แน่นอน มีฐานและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.
               วิญญาณ (เป็นวิบาก) แม้ ๓๒ ย่อมเป็นไปเพราะสังขารเป็นปัจจัยในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน ในปวัตติกาลนั้น สังขารเหล่านั้นๆ ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๓๒ นั้น ด้วยกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

               ว่าด้วยเหตุที่ตทารัมมณะไม่เป็นไปในรูปและอรูปภูมิ               
               ในวิบากวิญญาณ ๓๒ ดวงเหล่านั้น ตรัสตทารัมมณจิต ๑๑ ดวงนั้นเหล่าใดไว้ วิบากจิตแม้หนึ่งดวง เป็นตทารัมมณะในรูปภพและอรูปภพเป็นไปหามีไม่ เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีพืช.
               จริงอยู่ ในรูปภูมิและอรูปภูมินั้น พืชคือปฏิสนธิ กล่าวคือ กามาวจรวิบากที่จะให้เกิดตทารัมมณกิจในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี. หากมีผู้แย้งว่า ถ้าเช่นนั้น จักขุวิญญาณเป็นต้นก็ไม่มีปรากฏในรูปภพนะซิ ขอตอบว่า มิใช่เช่นนั้น เพราะอานุภาพแห่งความเป็นไปของอินทรีย์ และเพราะจิตตนิยมในความต่างกันแห่งทวารวิถี.
               ก็ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพโดยแน่นอนฉันใด ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่ไม่ใช่กามาพจรแม้ทั้งหมดฉันนั้น เพราะเหตุไร?
               เพราะความที่ธรรมมิใช่กามาพจร ทำให้ตทารัมมณะเกิดไม่ได้ และเพราะไม่เหมือนกับธรรมที่เป็นตัวให้กำเนิด.
               จริงอยู่ ตทารัมมณะนั้น เปรียบเหมือนทารกผู้เยาว์ออกจากบ้านต้องการจะไปภายนอกก็จะเกาะนิ้วมือบิดาผู้ให้กำเนิดของตน หรือญาติผู้มุ่งประโยชน์เช่นกับบิดาไป หาใช่ติดตามคนอื่นมีราชบุรุษเป็นต้นไปไม่ฉันใด ตทารัมมณะแม้นี้ก็ฉันนั้นย่อมติดตามกามาวจรชวนะเท่านั้น ซึ่งเป็นบิดาผู้กำเนิดของตน หรือผู้เป็นญาติผู้เช่นเดียวกับบิดาของตน เพราะเป็นธรรมทั้งหลายที่ออกไปภายนอกจากอารมณ์ภวังค์เหมือนกัน ย่อมไม่ติดตามจิตอื่น คือมหัคคตะหรือโลกุตระ.
               อนึ่ง ตทารัมมณะนี้ย่อมไม่ติดตามมหัคคตะและโลกุตรธรรมฉันใด แม้กามาวจรธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้น เมื่อใด จิตเป็นธรรมมีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นไป เมื่อนั้น ตทารัมมณะนี้ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เหล่านั้นไป เพราะเหตุไร?
               เพราะเป็นถิ่นไม่เคยไป และเพราะความที่ตนเป็นปริตตะ (กาม) อารมณ์โดยส่วนเดียว.
               จริงอยู่ ตทารัมมณะนั้นเปรียบเหมือนทารกยังเยาว์ เมื่อจะติดตามบิดาหรือญาติผู้เช่นกับบิดาไป ย่อมติดตามไปในถิ่นที่เคยไปมีประตูเรือนระหว่างถนน ทางสี่แพร่งเป็นต้นเท่านั้น ย่อมไม่ติดตามผู้ไปสู่ป่าหรือสนามรบฉันใด แม้ตทารัมมณะนั้นก็ฉันนั้น เมื่อติดตามกามาวจรธรรมทั้งหลายไป ก็ย่อมติดตามธรรมเหล่านั้นซึ่งเป็นไปในถิ่นที่คุ้นเคยมีธรรมที่มิใช่มหัคคตะเป็นต้นเท่านั้น หาใช่ติดตาม คือปรารภมหัคคตะและโลกุตรธรรมเหล่านั้นไปไม่ และเพราะอารมณ์ที่เป็นปริยา (กาม) โดยส่วนเดียว ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ธรรมที่สหรคตด้วยโสมนัส เหล่านี้เป็นปริตตารมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ตทารัมมณะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ติดตามแม้กามาวจรธรรมที่มีมหัคคตะและโลกุตรธรรมเป็นอารมณ์ไป ฉะนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง จะมีประโยชน์อะไรด้วยยุติกถา (กถาประกอบ) นี้ เพราะท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาโดยส่วนเดียวเท่านั้นว่า ตทารัมมณจิต ๑๑ ดวง ย่อมไม่รับตทารมณ์ในเมื่อชวนะปรารภนามและโคตรแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภบัญญัติแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในวิปัสสนาที่มีอารมณ์ไตรลักษณ์. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในพลวิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะที่ปรารภธรรมที่เป็นรูปและอรูปแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นสัมมัตตนิตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภโลกุตรธรรมแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภอภิญญาญาณทั้งหลายแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภปฏิสัมภิทาญาณแล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในกามาพจรที่มีอารมณ์ทุรพล ย่อมได้ในอารมณ์ที่มีกำลังมาสู่คลองในทวาร ๖ เท่านั้น และตทารมณ์นั้น เมื่อได้ย่อมได้ในกามาพจรอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าตทารมณ์ในรูปภพและอรูปภพนั่นแหละ ย่อมไม่มี ดังนี้.
               อนึ่ง คำใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "บรรดาจิต ๑๙ ดวงที่เหลือ จิตอะไรๆ ไม่เป็นไปด้วยปฏิสนธิสมควรแก่ตน" ดังนี้ คำนั้นใครๆ ก็เข้าใจได้โดยยาก เพราะย่อเกินไป เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงนัยโดยพิสดารแห่งคำนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวเป็นคำถามว่า ปฏิสนธิมีเท่าไร? ปฏิสนธิจิต มีเท่าไร? ปฏิสนธิ มีในภูมิไหนด้วยจิตอะไร? อารมณ์ของปฏิสนธิ มีอย่างไร ดังนี้.

               ว่าด้วยปฏิสนธิ ๒๐ ประเภท               
               ในปัญหากรรมนั้น วิสัชนาว่า ปฏิสนธิมี ๒๐ ประเภท รวมทั้งอสัญญีปฏิสนธิ. ปฏิสนธิจิตมี ๑๙ ดวง มีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล.
               บรรดาปฏิสนธิจิตเหล่านั้น ปฏิสนธิในอบายภูมิ ๔ ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิของสัตว์ผู้บอดแต่กำเนิด หนวกแต่กำเนิด บ้าแต่กำเนิด ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้แต่กำเนิดและเป็นกะเทยเป็นต้นในมนุษยโลก (มนุษย์) ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญทั้งหลายในหมู่เทพชั้นกามาพจรและในพวกมนุษย์ ย่อมมีด้วยสเหตุกมหาวิบาก ๘ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในโลกรูปพรหม ย่อมมีด้วยรูปาวจรวิบาก ๕ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในอรูปโลก ย่อมมีด้วยอรูปาวจรวิบาก ๔ ดวง. ก็ปฏิสนธิย่อมมีในภูมิใด ด้วยจิตใดปฏิสนธินั้นแหละ ชื่อว่าปฏิสนธิสมควรแก่จิตดวงนั้น.

               ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ               
               ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ
                         กรรม
                         กรรมนิมิต
                         คตินิมิต.
               บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว ชื่อว่ากรรม. กรรมย่อมประกอบวัตถุใดทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่ากรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต แม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิตในขณะนั้น.
               ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้.

               เรื่องนายโคปกสีวลี               
               ได้ยินว่า บุรุษชื่อนายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร ชื่อว่าตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

               เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง               
               ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมมุฬหกาลกิริยา (การทำกาละของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้าตัดศีรษะก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรมนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.

               วินิจฉัยเรื่องตายทันที               
               ยังมีการตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลหุกมรณะ (ตายเร็ว).
               จริงอยู่ บุคคลเอาค้อนทุบขยี้แมลงวันที่หลบซ่อนอยู่บนด้ามสิ่ว ในเวลาแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือกรรมนิมิตก็ย่อมปรากฏ. อนึ่ง เมื่อแมลงวันถูกค้อนบดขยี้อยู่อย่างนี้ ภวังค์ยังไม่เปลี่ยน (หมุน) มาเป็นอาวัชชนะทางกายทวารก่อน ย่อมเปลี่ยน (หมุน) มาสู่เฉพาะมโนทวาราวัชชนะ ทันทีนั้น ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงเปลี่ยน (หมุน) มาสู่อาวัชชนะทางกายทวาร ต่อแต่นั้นวิถีจิตทั้งหลาย คือกายวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะจึงเป็นไป ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๓ ภวังค์เปลี่ยน (หมุน) มายังมโนทวาราวัชชนะ ลำดับนั้น ชวนะก็แล่นไปหยั่งลงสู่ภวังค์ แมลงวันย่อมทำกาละ (ตาย) ในฐานะนี้๑- เนื้อความนี้ท่านนำมาเพื่ออะไร เพื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ของอรูปธรรมทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้.
____________________________
๑- คำว่า ในฐานะ นี้ หมายถึงมรณาสันนวิถี (วิถีใกล้ความตาย) ประเภทใดประเภทหนึ่งใน ๔ อย่าง เหล่านี้คือ
               ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ
               ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ
               ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วมีภวังค์ ... แล้วจุติ
               ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์ ... แล้วจุติ
               ในฐานะนี้ แมลงวันตายในประเภทที่ ๔.


               ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะบังเกิดขึ้น ชื่อว่าคตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏเป็นภาพเช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง) เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพลและยาน. เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมานและที่นอนเป็นต้น. ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างโดยสังเขป คือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิตด้วยประการฉะนี้.
               อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ
                         อารมณ์อดีต
                         อารมณ์ปัจจุบัน
                         อารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพะ.๒-
               อสัญญีปฏิสนธิไม่มีอารมณ์ บรรดาปฏิสนธิเหล่านั้น วิญญาณัญจายตนปฏิสนธิและเนวสัญญานาสัญญายตนปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว กามาวจรวิบาก ๑๐ มีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง ปฏิสนธิที่เหลือมีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ (อารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้). ก็ปฏิสนธิที่กำลังเป็นไปในอารมณ์ ๓ อย่าง ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติจิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ หรือมีนวัตตัพพารมณ์ แต่ชื่อว่าจุติจิตที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันมิได้มี เพราะฉะนั้น พึงทราบอาการที่เป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ อย่าง ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสุคติและทุคติ.
               ข้อนี้เป็นอย่างไร?
____________________________
๒- อารมณ์นี้เห็นตรงกับอารมณ์บัญญัติ คือบัญญัติกรรมนิมิตและบัญญัติมหัคคตกรรมนิมิตของผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก

               ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต               
               คือในเบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนสั่งสมไว้ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารแก่บุคคลผู้นอนในเตียงมรณะ เพราะพระบาลีว่า "ก็บาปกรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาพจรสุคติในสมัยนั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในที่สุดแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนะล้วนๆ เกิดขึ้น ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับแล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปในบาปกรรมต่างๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ.
               นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต               
               ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก นิมิตในทุคติภูมิมีภาพเปลวเพลิงเป็นต้นในนรกเป็นต้นมาสู่คลองมโนทวาร ด้วยอำนาจแห่งกรรมตามที่กล่าวแล้ว เมื่อภวังค์ของบุคคลนั้นเกิดดับสิ้นสองครั้งแล้วเกิดวิถีจิตทั้ง ๓ คืออาวัชชนะซึ่งปรารภอารมณ์นั้น ๑ ชวนะ ๕ ดวง เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ๑ และตทารัมมณะ ๒ ดวง ๑. ต่อจากนั้น จุติจิต ๑ ดวง กระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ขณะจิตย่อมล่วงไป ๑๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตจึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุแห่งขณะจิตที่ยังเหลืออยู่ ๕ ขณะนั้นนั่นแล.
               นี้ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
               ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก หีนารมณ์ (อารมณ์เลว) มีราคะเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองทวารในทวาร ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ชวนะ ๕ ดวงและตทารัมมณะ ๒ ดวงของบุคคลนั้นย่อมเกิด เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ต่อจากนั้น จุติจิตหนึ่งดวงก็ทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ขณะแห่งจิตย่อมเป็นอันล่วงไป ๑๕ ขณะ คือภวังค์ ๒ ดวง อาวัชชนะ ๑ ดวง ทัศนะ ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันตีรณะ ๑ ดวง โวฏฐัพพนะ ๑ ดวง ชวนะ ๕ ดวง ตทารัมมณะ ๒ ดวง และจุติจิต ๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตจึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุขณะจิต ๑ ขณะที่ยังเหลืออยู่นั้นนั่นแหละ ปฏิสนธิแม้นี้ก็มีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต               
               พึงทราบอาการความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในทุคติภูมิที่มีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติในสุคติภูมิซึ่งมีอารมณ์อดีตนี้ก่อน. ส่วนกรรมอันปราศจากโทษนั้น หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิมีกรรมอันปราศจากโทษที่สั่งสมไว้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงเว้นธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (บริสุทธิ์) ไว้ในธรรมที่เป็นฝ่ายดำแล้ว พึงทราบคำทั้งหมดโดยนัยก่อนนั่นแหละ. นี้เป็นอาการแห่งความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในสุคติภูมิ ซึ่งมีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ต่อจากจุติในทุคติภูมิอันมีอารมณ์เป็นอดีต.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต               
               อนึ่ง กรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิ ผู้มีกรรมปราศจากโทษซึ่งสั่งสมไว้แล้ว ผู้นอนบนเตียงมรณะ โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า ตานิ จสฺส ตสฺมึ สมเย โอลมฺพนฺติ ก็กรรมอันงามคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลนั้นผู้นอนบนเตียงในสมัยนั้น เป็นต้น๑- ก็แลกรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีกรรมปราศจากโทษอันเป็นกามาพจรที่สั่งสมไว้แล้วนั่นแหละ ส่วนกรรมนิมิตอย่างเดียว ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีมหัคคตกรรมที่สั่งสมไว้แล้ว จุติจิตทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ในลำดับแห่งตทารัมมณะหรือในชวนวิถีล้วนๆ ซึ่งเกิดขึ้นปรารภกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับ ปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยสุคติภูมิ ซึ่งถูกกำลังกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไป เกิดขึ้นปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตอันมาสู่คลองนั้นนั่นแหละ.
               นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรืออารมณ์นวัตตัพพะต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
____________________________
๑- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๔๘๗/หน้า ๓๒๓.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต               
               ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก สุคตินิมิตกล่าวคือภาพท้องมารดาในมนุษยโลก หรือภาพอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ในเทวโลก ย่อมมาสู่คลองมโนทวารด้วยอำนาจกรรมที่ปราศจากโทษอันเป็นกามาพจร ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจุติจิต โดยลำดับที่แสดงไว้ในทุคตินิมิตนั่นแหละ.
               นี้เป็นปฏิสนธิมีปัจจุบันอารมณ์ในลำดับแห่งจุติมีอดีตอารมณ์.
               ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก พวกญาติพากันแสดงอารมณ์ กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ นี้เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า พ่อจงทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวพ่อ พ่อจงยังจิตให้เลื่อมใสแล้วแสดงรูปารมณ์ ด้วยสามารถแห่งพวงดอกไม้ ธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น หรือแสดงสัททารมณ์ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรมและดุริยบูชาเป็นต้น หรือแสดงคันธารมณ์ด้วยสามารถกลิ่นธูป กลิ่นเครื่องอบที่หอมเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงลิ้มไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงรสารมณ์ ด้วยสามารถแห่งน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงสัมผัสไทยธรรมนี้ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อ แล้วแสดงโผฏฐัพพารมณ์ด้วยอำนาจแห่งผ้าจีนและผ้าโสมาระเป็นต้นน้อมเข้าในทวาร ๕.
               ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองนั้นและย่อมเกิดตทารัมมณะ ๒ ดวง. ลำดับนั้น จุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นในอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในขณะแห่งจิตหนึ่งดวงนั่นแหละ. ปฏิสนธิแม้นี้ ก็มีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง               
               ต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ               
               อนึ่ง ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก ผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิผู้ได้เฉพาะมหัคคตะด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐวีกสิณเป็นต้น. บรรดากุศลกรรม กรรมนิมิต คตินิมิตที่เป็นกามาพจรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนิมิตมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือมหัคคตจิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวาร หรืออารมณ์อันประณีต อันมีการเกิดขึ้นแห่งกุศลเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองในจักษุหรือโสตทวารอย่างใดอย่างหนึ่ง ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นโดยลำดับ แต่ว่า ตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ผู้มีมหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาพจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ.
               พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีตและอารมณ์นวัตตัพพะ.

               ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต               
               ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิตหรือคตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ แต่อารมณ์ที่เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมิในที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับต่อจากจุติในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีตฉะนี้แล ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ ๑๙ ดวงด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
               อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ ๑๙ ดวงทั้งหมดนี้นั้น
                                   เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไป
                         ด้วยกรรม ๒ อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน
                         เป็นไป ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกัน
                         แห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.
               จริงอยู่ วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนี้ เมื่อจะเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไปด้วยกรรม ๒ อย่าง ด้วยว่า กรรมอันให้กำเนิดวิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนั้น ย่อมเป็นปัจจัยโดยนานาขณิกกรรมปัจจัยและอุปนิสปัจจัยตามควรแก่ตน ข้อนี้สมกับคำที่ตรัสว่า กุสลากุสลํ กมฺมวิปากสฺส อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กรรมวิบากด้วยอุปนิสสยปัจจัย๑- ก็เมื่อวิญญาณนี้เป็นไปอย่างนี้ ก็พึงทราบความแตกต่างกันแม้มี ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น อย่างไร?
               คือวิญญาณนี้ แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่ามี ๒ อย่าง โดยความต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันและไม่ระคนกันกับรูป. มี ๓ อย่าง เพราะความต่างกันแห่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ. มี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งกำเนิดอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะและโอปปาติกะ. มี ๕ อย่างด้วยสามารถคติ (มีทางไปสู่นรกเป็นต้น).๒- มี ๗ อย่างด้วยอำนาจวิญญาณฐิติ. มี ๙ อย่างด้วยอำนาจสัตตาวาส.
____________________________
๑- อภิ. ป. เล่มที่ ๔๐/ข้อ ๑๓๗๘/หน้า ๔๖๐.
๒- ดูคติ ๕ ที่เชิงอรรถ หน้า ๔๕๖. (คติ ๕ คือทางไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์และเทวดา.)

               บรรดาวิญญาณเหล่านั้น
                                   วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง
                         เพราะความต่างกันแห่งภาวะ และในวิญญาณ
                         ทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง มี ๒
                         ทสกะบ้าง ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิด
                         พร้อมกับวิญญาณที่ระคนกันกับรูปเบื้องต้น.
               คำว่า วิญญาณที่ระคนกับรูปมี ๒ อย่าง เพราะความแตกต่างกันแห่งภาวะ นั้น ความว่า
               จริงอยู่ บรรดาวิญญาณเหล่านั้น ปฏิสนธิวิญญาณนั้นระคนด้วยรูปเกิดขึ้นเว้นอรูปภพ. ปฏิสนธิวิญญาณนั้นมี ๒ อย่างคือมีภาวะ ๑ ไม่มีภาวะ ๑ เพราะในรูปภพเกิดขึ้นเว้นจากภาวะ คืออิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ เพราะในกามภพเกิดพร้อมกับภาวะ เว้นแต่ปฏิสนธิของบัณเฑาะก์โดยกำเนิด.
               คำว่า และในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่างนั้น ความว่า ในวิญญาณแม้เหล่านั้น วิญญาณมีภาวะ ๒ อย่างโดยการเกิดพร้อมกันแห่งอิตถีภาวะหรือปุริสภาวะอย่างใดนั่นแหละ.
               คำว่า มี ๒ ทสกะบ้าง มี ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกับรูปเบื้องต้น ความว่า ในวิญญาณเหล่านี้ วิญญาณ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูปและไม่ระคนกับรูป ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูปอันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน ๒ ทสกะคือกายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ ๓ ทสกะคือวัตถุทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลงกว่านั้น.
               ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาใสที่ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง ๒ อันมีชื่อว่าอัณฑชะและชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดในกำเนิดเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย.
               จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น
                         นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ     เทเวสุ จ น โยนิโย
                         ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ  จตสฺโสปิ คติตฺตเย
                                        กำเนิด ๓ ข้างต้น๓- ย่อมไม่มีในนรก
                         และไม่มีในพวกเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา
                         กำเนิด ๔ ย่อมมีในคติ ๓.
____________________________
๓- ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ.

               ในคาถานั้น ด้วย ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด ๓ ข้างต้น พึงทราบว่า ไม่มีในนิชฌาตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและในเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่างเดียว แต่กำเนิด ๔ มีในคติ ๓ ที่เหลือกล่าวคือสัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัยและมนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น.
               บรรดากำเนิดเหล่านั้น
                                   ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป ๓๙ กลาป
                         ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด
                         ย่อมเกิดรูป ๗๐ กลาป โดยกำหนดอย่างสูง
                         หรืออย่างต่ำมี ๓๐ กลาป.
               ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป ๓๙ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งกลาป ๔ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะและชีวิตนวกะ. ส่วนในสังเสทชะกำเนิดและโอปปาติกะกำเนิดเหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป ๗๐ กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และวัตถุทสกะ และรูป ๗๐ กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูปที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป ๑๐ เหล่านี้ คือวรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ โอชา ๑ และธาตุ ๔ (คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) จักขุประสาท ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ ชื่อว่าจักขุทสกะ.
               โสตทสกะเป็นต้นที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.
               อนึ่ง กำหนดอย่างต่ำ รูป ๓๐ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะแก่บุคคลผู้บอดหนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานประสาท และผู้เป็นนปุงสกะมาแต่กำเนิด. บัณฑิตพึงทราบการกำหนด โดยสมควรในระหว่างรูปที่กำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำ
               ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว
                                   พึงกำหนดรู้ธรรมพิเศษ แห่งความ
                         ต่างกันและไม่ต่างกันของจุติ และปฏิสนธิ
                         โดยขันธ์ โดยอารมณ์ โดยคติ โดยเหตุ
                         โดยเวทนา โดยปีติ โดยวิตกและโดยวิจาร
                         ต่อไป.
               อธิบายว่า ก็ปฏิสนธิจิต ๒ อย่าง โดยระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วยรูปอันใดนี้ และจุติในลำดับแห่งอดีตแห่งปฏิสนธินั้นอันใด บัณฑิตพึงทราบธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกันแห่งจุติและปฏิสนธิเหล่านั้น โดยขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ อย่างไร?
               คือ บางคราว ขันธ์ ๔ เท่านั้น เป็นปฏิสนธิโดยไม่ต่างกันแม้โดยอารมณ์ ในลำดับแห่งจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ บางคราวเป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและอารมณ์ภายใน ต่อจากจุติที่มีอารมณ์มิใช่มหัคคตะและมีอารมณ์ภายนอก. นี้เป็นนัยในอรูปภูมิอย่างเดียวก่อน.
               อนึ่ง ในบางคราว อรูปขันธ์ ๔ เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิ ต่อจากจุติในกามาพจร หรือจุติในรูปาพจรที่มีขันธ์ ๕ ด้วยอาการอย่างนี้ ปฏิสนธิก็มีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต. ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติในสุคติภูมิบางอย่าง ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นติเหตุกะ ต่อจากจุติที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะ ต่อจากจุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ ปฏิสนธิที่มีปีติ ต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ ปฏิสนธิที่มีวิตก ต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก ปฏิสนธิที่เป็นสวิจาร ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร ปฏิสนธิที่เป็นสวิตักกะและสวิจารต่อจากจุติที่เป็นอวิตักกะอวิจาร เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้นๆ เถิด.
                         ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม   มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
                         นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ    น ตโต เหตุํ วินา โหติ
                                        วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
                         อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการฉะนี้
                         วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจากภพนี้
                         เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หาปรากฏไม่.

               จริงอยู่ วิญญาณนี้มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและอรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นจึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับแห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.

               ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ               
               ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตายโดยสภาวะตามปรกติ หรือโดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนาอันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ซึ่งใครๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์และชีวิตินทรีย์อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรมและกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภอารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้นเป็นไป วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณหาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษอันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลายซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
               อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อนเรียกว่าจุติ เพราะเคลื่อนไป ดวงหลังเรียกว่าปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้นเหตุมีกรรม สังขาร คติและอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
                         สิยุํ นิทสฺสนาเนตฺถ    ปฏิโฆสาทิกา อถ
                         สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ  เอกตา นาปิ นานตา
                                        เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
                         พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน
                         นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง
                         ต่างกัน (กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย
                         ความสืบต่อ.

               ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตราและเงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือในการที่วิญญาณนี้ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า เสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตราและเงา มีเหตุมาแต่เสียงเป็นเบื้องต้น มิได้แยกกันไปในที่ใดฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ในฐานะนี้ จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน ทั้งมิใช่ต่างกัน เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ.
               จริงอยู่ ถ้าว่า เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ ความเป็นอย่างเดียวกัน พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงเกิดแต่นมสด ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่. ในเหตุที่เกิดขึ้นแห่งเหตุทั้งหมดก็นัยนี้. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะพึงเป็นการตัดโวหารแห่งโลกทั้งหมดไปเสีย และการตัดโวหารของโลกทั้งหมดนั้น ไม่น่าปรารถนา เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ ไม่ควรเข้าใกล้ความเป็นอันเดียวกัน หรือความต่างกันโดยส่วนเดียวกัน ฉะนี้แล.
               ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อน ความปรากฏมีอยู่อย่างนี้ เหตุที่ขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัยแก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่นมิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้นพึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า
                         สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ  นาญฺญสฺส น จ อญฺญโต
                         วีชานํ อภิสงฺขาโร     เอตสฺสตฺถสฺส สาธโก
                                        ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่
                         ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพ-
                         ปรุงแต่งพืชทั้งหลาย เป็นเครื่องสาธกเนื้อ-
                         ความนี้.

               จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่เป็นอันเดียวกันและความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลายเป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้นๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น. อนึ่ง พืชเหล่านั้นหรือเครื่องปรุงแต่งนั้น ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ฉันนั้น และพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยวิชชา ศิลปะและโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็ก อำนวยผลให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้าไปเสวย ผลนี้พึงมีแก่ใคร ดังนี้.
               ในข้อนั้น
                                   สมมติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ
                         เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้
                         ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.
               เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ ชาวโลกย่อมเรียกว่าย่อมผลิผลหรือออกผลแล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียกว่าต้นไม้นั่นแหละฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวยหรือเรียกว่าผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่เรียกว่าผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไรๆ ด้วยบุคคลอื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.
               แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผิว่าสังขารที่มีอยู่ วิบากก็พึงมีแก่สังขารเหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่งผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง แต่ความเป็นไป.
               ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้
                                   สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น
                         ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อ
                         นั้นพึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็น
                         อุทาหรณ์.
               จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็นกามาพจรเป็นต้น และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้ซ้ำซาก เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว.
               ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้ พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
               เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งในโลก เพื่อรับมอบประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้นซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่นเองเป็นปัจจัยในการรับมอบหมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร? เพราะความมอบหมายเป็นต้น ตนกระทำไว้แล้วฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.
               ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณ ที่กำลังเป็นไปทั้ง ๒ อย่าง ด้วยสามารถธรรมที่ระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วยรูป เพราะสังขารเป็นปัจจัย.
               บัดนี้ เพื่อป้องกันความหลงลืมในวิญญาณ ๓๒ ดวงเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแหละ
                                   พึงทราบสังขารเหล่านั้นว่าเป็นปัจจัยแก่
                         วิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยโดยประการใด
                         ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล
                         ในที่ทั้งหลายมีภพเป็นต้น.
               ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ชื่อว่าภพเป็นต้น ในภพเป็นต้นเหล่านี้ สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด และสังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยประการใด บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น.

               ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย               
               บรรดาสังขารเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสังขารก่อน.
               ว่าโดยไม่ต่างกัน ปุญญาภิสังขารจำแนกด้วยเจตนา ๘ ดวง ในกามาพจรได้ปัจจัย ๒ อย่าง คือ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัยในปฏิสนธิแก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในปฏิสนธิกามภพสุคติภูมิ ปุญญาภิสังขารที่จำแนกด้วยกุศลเจตนา ๕ ดวง ในรูปาวจรก็เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณ ๕ ดวง ในปฏิสนธิกาลรูปภพเหมือนกัน แต่กามาพจรประเภทตามที่กล่าวเป็นปัจจัย ๒ อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ปฏิสนธิกาลแก่ปริตตวิปากวิญญาณ ๗ ดวง เว้นมโนวิญญาณธาตุอเหตุกะที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในกามภพสุคติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๕ ดวง ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.
               ก็ในกามภพทุคติภูมิ ก็เป็นปัจจัยแก่ปริตตวิปากวิญญาณทั้ง ๘ ในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นเหมือนกัน ในกามภพทุคติภูมินั้น ปุญญาภิสังขารนั้นเป็นปัจจัยด้วยการประสบอิฏฐารมณ์ในนรก ในคราวเที่ยวไปในนรกเป็นต้นของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แต่อิฏฐารมณ์ย่อมได้ในพวกสัตว์เดรัจฉาน และในพวกนาค สุบรรณและเปรตผู้มีฤทธิ์มากทีเดียว ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล แก่กุศลวิปากวิญญาณทั้ง ๑๖ ดวง ในกามภพสุคติภูมิ ว่าโดยไม่แปลกกัน ปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลแก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวง ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.

               ว่าด้วยอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย               
               อปุญญาภิสังขารจำแนกโดยอกุศลเจตนา ๑๒ ดวง เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล ไม่เป็นปัจจัยในปวัตติกาล แก่วิญญาณ ๑ ดวง ในกามภพทุคติภูมิเหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติ ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล แก่วิญญาณ ๖ ดวง เป็นปัจจัยทั้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้นแหละแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวง แต่ในกามภพสุคติภูมิ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวงเหล่านั้นเหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นแหละแก่วิญญาณ ๔ ดวง ในรูปภพ.
               ก็อปุญญาภิสังขารนั้นแล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณในกามาพจร ด้วยอำนาจการเห็นรูป ฟังเสียงอันไม่น่าปรารถนาเป็นต้น แต่ในพรหมโลก ชื่อว่ารูปเป็นต้นที่ไม่น่าปรารถนา มิได้มี. แม้ในเทวโลกกามาพจรก็ไม่มีรูปเป็นต้นที่ไม่น่าปรารถนาเหมือนกัน.

               ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย               
               ก็อาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัยเหมือนกันนั่นแหละแก่วิปากวิญญาณ ๔ ดวงทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล ในอรูปภพ.

               ว่าด้วยกายสังขาร ๒๐ ดวงเป็นปัจจัย๑-               
____________________________
๑- ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง.

               อนึ่ง ว่าโดยกุศลและอกุศลในกามาพจร กายสังขารจำแนกโดยเจตนาทั้ง ๒๐ ดวง โดยสัพพสังคาหิกนัย เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวงในกามภพ กายสังขารนั้นนั่นแหละเป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกันในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวงในกามภพ แก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวงในรูปภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวงในกามภพ. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

               ว่าด้วยจิตตสังขาร ๒๙ ดวงเป็นปัจจัย               
               ส่วนจิตตสังขารที่จำแนกด้วยเจตนา ๒๙ ดวงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นแหละในปฏิสนธิกาล มิใช่ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงในภพทั้ง ๓ จิตตสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยในปวัตติกาลมิใช่ปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๒ ดวง คือแก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวงในกามภพ และแก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวงในรูปภพ ตามที่กล่าวมาแล้วในภพทั้งสอง อนึ่ง จิตตสังขารนั้นเป็นปัจจัยอย่างนั้นแหละทั้งในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๓๒ ดวง ในภพ ๓.
               บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารเหล่านั้นว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใดและเป็นปัจจัยโดยประการใดนั้น ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลในภพทั้งหลายอย่างนี้ก่อน.
               แม้ในกำเนิด เป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน.

               ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ               
               ในนิเทศแห่งสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น คำที่ประกาศพอเป็นหัวข้อตั้งแต่ต้นมีดังนี้.
               ก็บรรดาสังขารเหล่านี้ ปุญญาภิสังขารอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในภพทั้ง ๒ ก่อน ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนเหมือนกันในกำเนิด ๔ มีอัณฑชะเป็นต้น ในคติ ๒ กล่าวคือเทวคติและมนุษยคติ ในวิญญาณฐิติ ๔ กล่าวคือผู้มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน ๑ มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์ทั้งหลาย และในปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิและตติยฌานภูมิ แต่ในอสัญญสัตตาวาส ปุญญาภิสังขารนี้ย่อมปรุงแต่งเพียงแต่รูปเท่านั้น ฉะนั้น จึงอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในสัตตาวาส ๔ (เหมือนวิญญาณฐิติ) นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขารนี้จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๑ ดวง ตามควรแก่การเกิดขึ้นในภพ ๒ กำเนิด ๔ คติ ๒ วิญญาณฐิติ ๔ และสัตตาวาส ๔ เหล่านี้ โดยนัยตามที่กล่าวนั่นแล.
               อนึ่ง อปุญญาภิสังขารย่อมให้วิบากด้วยอำนาจปฏิสนธิในกามภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๔ ในคติ ๓ ที่เหลือ ในวิญญาณฐิติ ๑ คือที่มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน และในสัตตาวาส ๑ เช่นเดียวกับวิญญาณฐิตินั้นแหละ เพราะฉะนั้น อปุญญาภิสังขารนี้จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาลแก่วิปากวิญญาณ ๗ ในภพ ๑ กำเนิด ๔ คติ ๓ วิญญาณฐิติ ๑ และในสัตตาวาส ๑ โดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ.
               แต่อาเนญชาภิสังขารย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในอรูปภพ ๑ ในโอปปาติกะกำเนิด ๑ ในเทวคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น๑- ในสัตตาวาส ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น๒- เพราะฉะนั้นอาเนญชาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาลแก่วิญญาณ ๔ ดวง ในภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๑ ในคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ ในสัตตาวาส ๔ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
____________________________
๑- คือสัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ อากิญจัญญายตนะ ๑.
๒- ผู้เข้าถึงอรูปภพ ๔.

               แม้กายสังขารก็ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้วิบากของตนทั้งหมดเกิดขึ้น ในกามภพ ๑ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒ เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้นจึงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ในภพ ๑ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒.
               แม้ในวจีสังขารก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ส่วนจิตตสังขาร เว้นสัตตาวาส (อสัญญีสัตว์) อย่างเดียว จะไม่ให้ผลในที่ไหนๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จิตตสังขารนี้จึงเป็นเหมือนกันนั่นแหละทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณทั้ง ๓๒ ดวงตามควรในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และในสัตตาวาส ๘.
               อนึ่ง ในสัตตาวาสที่ไม่มีวิญญาณ วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
               อีกอย่างหนึ่ง ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายในพวกอสัญญีสัตว์ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
                                   บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัย
                         แก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นโดยประการใด
                         ด้วยอำนาจปฏิสนธิกาล และปวัตติ-
                         กาล ในฐานะทั้งหลาย มีภพเป็นต้น.
               นิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จบ.               

               ว่าด้วยนิเทศนามรูป (บาลีข้อ ๒๕๙)               
               ในนิเทศนามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
                                   บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยประเภท
                         เทศนา โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมี
                         ภพเป็นต้นทั้งปวง โดยสงเคราะห์และโดยนัย
                         แห่งปัจจัย.

               ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทเทศนา               
               ข้อว่า โดยประเภทเทศนา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาถึงรูปบทเช่นเดียว โดยไม่ต่างกันก่อนทั้งในพระสูตรและในนามรูปนิเทศนี้อย่างนี้ว่า
               ตตฺถ กตมํ รูปํ จตฺตาโร จ มหาภูตา จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทายรูปํ
               บรรดานามและรูปเหล่านั้น รูปเป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔.
               แต่บทว่า นาม ทรงกระทำเทศนาไว้ต่างกัน เพราะในพระสุตตันตะ ตรัสไว้ว่า ในนามและรูปนั้น นามเป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ในพระอภิธรรมนี้ ตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ด้วยว่า ในพระสูตรนั้น นามแม้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย และนามใดที่เกิดแล้ว เมื่อจะทรงแสดงนามนั้นที่ปรากฏ โดยความไม่ควรถือเอาโดยอาศัยร่วมกับธรรมอื่นอย่างนี้ว่า "ความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นอายุของอรูปธรรมทั้งหลาย" ดังนี้ จึงทรงแสดงจำแนกสังขารขันธ์โดย ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งเจตนา ผัสสะ มนสิการพร้อมกับขันธ์ ๒ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์).
               แต่ในพระอภิธรรมนี้ เมื่อจะทรงสงเคราะห์นามทั้งหมดที่ตรัสแล้วก็ดี ยังมิได้ตรัสก็ดี ในพระสุตตันตะนั้น จึงตรัสว่า ตโย ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ สญฺญากฺขนฺโธ สงฺขารกฺขนฺโธ ขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ดังนี้.
               ถามว่า ขันธ์ ๓ เหล่านี้เท่านั้น ชื่อว่าเป็นนาม วิญญาณไม่ชื่อว่าเป็นนามหรือ?.
               ตอบว่า วิญญาณมิใช่ไม่เป็นนาม แต่เมื่อถือเอาวิญญาณนั้น วิญญาณทั้ง ๒ คือ วิญญาณซึ่งเป็นนาม วิญญาณที่เป็นปัจจัย ก็จะปรากฏรวมกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ ๓ เพื่อทรงแสดงนามที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเว้นวิญญาณไว้ในฐานะเป็นปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนา ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

               ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในภพเป็นต้น               
               ก็ในข้อว่า โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้งปวง นี้อธิบายว่า ยกเว้นสัตตาวาส (อสัญญสัตตภูมิ) หนึ่งแล้ว นามย่อมเป็นไปในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาสที่เหลือทั้งปวง. รูปย่อมเป็นไปในภพ ๒ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๔ และสัตตาวาส ๕ ข้างต้น เมื่อนามและรูปนี้เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็เพราะในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกะไม่มีภาวะ และอัณฑชะ ย่อมปรากฏ สันตติรูปที่เป็นประธาน ๒ อย่าง โดยรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุ และกาย (ทสกะ) และอรูปขันธ์ ๓ ฉะนั้น ว่าโดยพิสดารของสัตว์เหล่านั้น ธรรม ๒๓ ทั้งรูปและอรูป คือธรรม (ที่เป็นรูป) ๒๐ ขันธ์ที่เป็นอรูป ๓ เหล่านี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" ดังนี้
               แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ธรรม ๑๔ โดยคัดเอารูปธรรม ๙ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานหนึ่ง สำหรับสัตว์ผู้มีภาวะก็เพิ่มภาวทสกะเข้าเป็น ๓๓.
               อนึ่ง เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็ได้ธรรม ๑๕ โดยนำรูปธรรม ๑๘ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานทั้ง ๒ ก็เพราะในขณะของปฏิสนธิของรูปพรหมเป็นต้นในสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะกำเนิดย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๔ โดยเป็นรูปรูป ด้วยอำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะและชีวิตินทริยนวกะ และอรูปขันธ์ ๓ ฉะนั้น เมื่อว่าโดยพิสดาร ของกำเนิดเหล่านั้น ธรรม ๔๒ คือรูปธรรม ๓๙ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ นี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยสภาวะที่ถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก ก็จะได้ธรรม ๑๕ อย่าง โดยนำเอารูปธรรม ๒๗ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานทั้ง ๓ ก็เพราะในกามภพ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะที่เหลือ หรือสังเสทชะผู้มีภาวะและอายตนะบริบูรณ์ ย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๗ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ เพราะฉะนั้นว่าโดยพิสดารแห่งธรรมเหล่านั้น ก็ได้ธรรม ๗๓ เหล่านี้ คือ (รูป) ธรรม ๗๐ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ เหล่านี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก ก็ได้ธรรม ๑๙ โดยนำธรรม ๕๔ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธาน ๖. นี้ว่าโดยอุกฤษฏ์.
               แต่เมื่อว่าโดยอย่างต่ำ บัณฑิตพึงลดลงๆ แห่งธรรมคือสันตติรูปที่เป็นประธานอันบกพร่องนั้นๆ ด้วยสามารถแห่งสัตว์นั้นๆ แล้ว ทราบธรรมกล่าวคือ นามรูปเกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร. ส่วนสำหรับอรูปพรหมได้อรูปขันธ์เกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัย สำหรับอสัญญีสัตว์ทั้งหลายได้ชีวิตินทริยนวก (ชีวิตินทรีย์ ๙ กลาป) โดยรูปอย่างเดียวแล. นี้เป็นนัยในปฏิสนธิกาล ก่อน.
               ส่วนในปวัตติกาล สุทธัฏฐกะ (อวินิโภครูป ๘ ล้วน) ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานแต่อุตุที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ย่อมปรากฏในฐิติขณะของปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นถิ่นที่เป็นไปแห่งรูปทั้งหมด แต่ว่า ปฏิสนธิจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ปฏิสนธิจิตนั้นไม่อาจเพื่อยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ เพราะความที่วัตถุมีกำลังอ่อน เหมือนบุรุษตกลงไปในเหวไม่สามารถจะช่วยเหลือคนอื่นได้ฉะนั้น. แต่เมื่อพ้นปฏิสนธิจิตไปแล้ว จำเดิมแต่ปฐมภวังค์ สุทธัฏฐกรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ตั้งขึ้น ในกาลปรากฏแห่งเสียง ย่อมปรากฏเป็นสัททนวกรูป แต่อุตุชรูปที่เป็นไปข้างหน้าปฏิสนธิจิต และแต่จิต.
               คัพภไสยกสัตว์เหล่าใด เป็นอยู่ด้วยกพฬิงการาหาร ในสรีระของสัตว์เหล่านั้นซึมซาบไปด้วยอาหารที่มารดากลืนกินเข้าไปแล้ว โดยพระบาลีว่า
                                   ก็มารดา ของคัพภไสยกสัตว์นั้น
                         ย่อมบริโภคข้าวและน้ำอันใด นระผู้อยู่ใน
                         ครรภ์ของมารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไป
                         ด้วยข้าว และน้ำนั้น ในครรภ์นั้น ดังนี้.
               สำหรับโอปปาติกะกำเนิด ในเวลาที่ตนกลืนเขฬะเข้าไปในปากคำแรกทั้งหมด ก็ปรากฏเป็นสุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ฉะนี้แล แต่เมื่อว่าโดยย่อได้แก่ธรรม ๙๙ อย่าง คือ รูป ๒๖ ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน และนวกรูปทั้งสองโดยอุกฤษฏ์แห่งรูปที่มีอุตุและจิตเป็นสมุฏฐานและรูป ๗๐ อย่าง ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้นสามครั้งในขณะแห่งจิตแต่ละดวงอันกล่าวแล้วในเบื้องต้นนี้ รวมเป็นรูป ๙๖ อย่าง และอรูปขันธ์ ๓.
               อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสียงไม่แน่นอนปรากฏในกาลบางครั้งบางคราว ฉะนั้น นำเสียงทั้ง ๒ นั้นออกแล้ว ธรรม ๙๗ เหล่านี้ พึงทราบว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตามที่เกิดขึ้น.
               ก็ธรรม (ทั้งรูปและอรูป) เหล่านี้ ย่อมเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยแก่สัตว์เหล่านั้นผู้ประมาทบ้าง ผู้กำลังท่องเที่ยวบ้าง ผู้กำลังเคี้ยวกินบ้าง ผู้กำลังดื่มบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. และความที่วิญญาณเป็นปัจจัย แก่รูปเหล่านั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาข้างหน้า.
               อนึ่ง ในอธิการนี้ กรรมชรูปนี้ใด แม้ดำรงอยู่ครั้งแรกในที่ทั้งปวง คือในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาส อันสมุฏฐานิกรูปทั้ง ๓ ไม่อุปถัมภ์แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ได้ แม้สมุฏฐานิกรูปทั้ง ๓ นั้นอันกรรมชรูปนั้นไม่อุปถัมภ์แล้วก็ดำรงอยู่ไม่ได้ โดยที่แท้ รูปเหล่านี้ต่างก็อุปถัมภ์ซึ่งกันและกันไม่ให้ตกไป จึงดำรงอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ฯลฯ ๑๐๐ ปีบ้าง จนถึงสิ้นอายุหรือสิ้นบุญของสัตว์เหล่านั้นไป เหมือนกลุ่มอ้อเป็นต้นที่เกี่ยวเกาะกันทั้ง ๔ ทิศ ถูกลมพัดแล้วก็ยังเป็นอยู่ได้ หรือเปรียบเหมือนคนมีพาหนะคือ เรืออับปางในมหาสมุทรบางแห่งได้ที่พึงแล้ว แม้ถูกกำลังคลื่นัซัดแล้ว ก็ยังเป็นอยู่ได้ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

               ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสงเคราะห์               
               ก็ในข้อว่า โดยสงเคราะห์ นี้อธิบายว่า บัณฑิตพึงสงเคราะห์โดยสรูปเสสนัยแห่เอกเทศอย่างนี้ว่า นามอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลในอรูปภพ และในปวัตติกาล ในปัญจโวการภพอันใด และรูปอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลทั้งหมดในพวกอสัญญีภพ และในปวัตติกาลในปัญจโวการภพอันใด และนามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในกาลทั้งหมดในปัญจโวการภพอันใด นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วยทั้งหมดนั้น ชื่อว่านามรูปดังนี้ แล้วทราบว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
               หากมีผู้สงสัย ถามว่า เพราะความที่อสัญญีสัตว์ไม่มีวิญญาณ วิญญาณ จึงไม่ควรหรือ.
               ตอบว่า ไม่ควร หามิได้.
               จริงอยู่ วิญญาณนี้ (ท่านกล่าวไว้ว่า)
                         นามรูปสฺส ยํ เหตุ   วิญฺญาณนฺตํ ทฺวิธา มตํ
                         วิปากมวิปากญฺจ    ยุตฺตเมว ตโต อิทํ
                                        วิญญาณใด เป็นเหตุแห่งนามรูป
                         วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒ อย่าง คือวิญญาณ
                         ที่เป็นวิบาก และวิญญาณที่ไม่เป็นวิบาก
                         วิญญาณนี้ จึงสมควรเป็นปัจจัยแก่รูปใน
                         อสัญญีภพนั้นทีเดียว.

               จริงอยู่ วิญญาณใดเป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒ อย่างโดยแยกเป็นวิบากและไม่เป็นวิบาก และรูปในอสัญญีสัตว์ทั้งหลายก็เกิด เพราะวิญญาณที่เป็นอภิสังขารที่เป็นไปในปัญจโวการภพเป็นปัจจัยเพราะความที่รูปเหล่านั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพในปวัตติกาลในขณะแห่งจิตเป็นกุศลเป็นต้น ก็มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น วิญญาณนี้จึงสมควรเป็นปัจจัยเหมือนกัน. พึงทราบวินิจฉัยโดยสงเคราะห์ในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.

               ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย               
               ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า โดยนัยแห่งปัจจัย นี้ ต่อไป.
                         นามสฺส ปากวิญฺญาณํ  นวธา โหติ ปจฺจโย
                         วตฺถุรูปสฺส นวธา       เสสรูปสฺส อฎฺฐธา
                         อภิสัขารวิญฺญาณํ      โหติ รูปสฺส เอกธา
                         ตทญฺญํ ปน วิญฺญาณํ  ตสฺส ตสฺส ยถารหํ
                                        วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง
                         เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูป ๙ อย่าง เป็นปัจจัยแก่
                         รูปที่เหลือ ๘ อย่าง อภิสังขารวิญญาณเป็น
                         ปัจจัยแก่รูปอย่างเดียว ส่วนวิญญาณอื่นนอก
                         จากนั้นเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้นๆ ตามควร.ไพบูลย์.

               จริงอยู่ นาม กล่าวคือวิบากในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาลนี้ใด ปฏิสนธิวิญญาณ หรือวิปากวิญญาณอื่น เป็นปัจจัย ๙ อย่างแก่นามนั้นซึ่งระคนด้วยรูปบ้าง ไม่ระคนด้วยรูปบ้าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล ๙ ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปที่เหลือ ๘ ปัจจัย เว้นวัตถุรูปแล้วนำอัญญมัญญปัจจัยในปัจจัย ๙ ปัจจัยนี้ออก.
               ส่วนอภิสังขารวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่อสัญญสัตตรูป หรือแก่กรรมชรูปในปัญจโวการภูมิ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น โดยปริยายอันมาในพระสุตตันตะ วิญญาณทั้งหมดที่เหลือ จำเดิมแต่ปฐมภวังค์ พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้นๆ ตามควร.
               อนึ่ง เมื่อจะแสดงนัยแห่งปัจจัยของนามรูปนั้น โดยพิสดาร บัณฑิตก็จะพึงยังปัฏฐานกถาแม้ทั้งหมดให้กว้างขวาง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักยังไม่เริ่มปัฏฐานกถานั้น.
               ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า "นามรูปในปฏิสนธิกาลมีวิญญาณเป็นปัจจัย"
               ตอบว่า รู้ได้โดยพระสูตร และโดยยุกติ (ความชอบด้วยเหตุผล) เพราะในพระสูตร ความที่ธรรมมีเวทนาเป็นต้นเป็นปัจจัยสำเร็จแล้วโดยมาก โดยนัยมีอาทิว่า จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา (ธรรมทั้งหลายคล้อยไปตามจิต) ดังนี้ ส่วนโดยยุกติว่า
                                   ความจริง วิญญาณ ย่อมสำเร็จได้
                         ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้ วิญญาณก็
                         เป็นปัจจัย แม้แก่รูปที่เห็นไม่ได้แล.
               จริงอยู่ เมื่อจิตผ่องใสหรือไม่ผ่องใสก็ตาม รูปทั้งหลายที่ควรแก่จิตนั้น เมื่อเกิดขึ้น วิญญาณจึงเห็น ก็การอนุมาน (คาดคะเน) รูปที่เห็นไม่ได้ ย่อมมีด้วยรูปที่เห็นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบทนี้ว่า วิญญาณย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปในปฏิสนธิ แม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้. เพราะความที่รูปในปฏิสนธินั้นแม้มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยมาแล้วในปัฏฐาน เหมือนรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
               ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยแห่งปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
               ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในข้อว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) นี้ชื่อว่าทรงประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือว่าใครๆ ในโลกก็ดี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะบรรดาบัณฑิตเข้าไปใคร่ครวญอยู่ ย่อมเห็นเป็นเพียงนามรูป โดยปรมัตถ์เท่านั้น กำลังเป็นไป หาใช่สัตว์บุคคลไม่ ฉะนี้แล.
               นิเทศแห่งนามรูปมีวิญญาณเป็นปัจจัย จบ.               

               ว่าด้วยนิเทศสฬายตนะ (บาลีข้อ ๒๖๐)               
               พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยต่อไป.
                         นามํ ขนฺธตฺตยํ รูปํ   ภูตวตฺถาทิกํ มตํ
                         กเตกเสสํ ตนฺตสฺส    ตาทิสสฺเสว ปจฺจโย
                                        นามคือ ขันธ์ ๓ รูป ได้แก่ รูปที่
                         กล่าวว่า ภูตะ และวัตถุเป็นต้น นามรูปนั้น
                         ท่านทำเอกเสสนัยว่าเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ
                         นั้นเช่นนั้นแล.

               จริงอยู่ ในนามรูปที่เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น ขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่านาม. ส่วนรูปที่นับเนื่องด้วยสันตติของตน พึงทราบว่า ท่านเรียกว่า ภูตะและวัตถุ โดยกำหนดอย่างนี้ คือภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖ และชีวิตินทรีย์. ก็นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยไว้อย่างนี้ว่า นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ชื่อว่านามรูป. นามรูปนั้น พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะที่ท่านทำเอกเสสนัยอย่างนั้นแหละ ด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ฉฏฺฐายตนญฺจ สฬายตนญฺจ สฬายตนํ (อายตนะที่ ๖ ด้วย อายตนะ ๖ ด้วยชื่อว่า สฬายตนะ) ดังนี้ เพราะเหตุไร? เพราะในอรูปภพ นามอย่างเดียวเป็นปัจจัย และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ เท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่อายตนะอื่น เพราะในอัพยากตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นามที่ทรงสงเคราะห์ไว้ในที่นี้ พึงทราบว่าทรงจำแนกไว้ในอัพยากตวาระนั้นแล.๑-
____________________________
๑- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๓๗๙/หน้า ๒๓๕.

               ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะเล่า?
               ตอบว่า ทราบได้เพราะเมื่อนามรูปมีสฬายตนะก็มี.
               จริงอยู่ เมื่อนามและรูปนั้นๆ มี อายตนะนั้นๆ ก็ย่อมมี มิใช่เป็นโดยประการอื่น ก็สฬายตนะนั้นมีเพราะความที่นามรูปมีนั้นจักแจ่มแจ้งในนัยแห่งปัจจัยทีเดียว เพราะฉะนั้น
                                   นามรูปใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด
                         ในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล และเป็น
                         ปัจจัยโดยประการใด บัณฑิตพึงแนะนำโดย
                         ประการนั้น.

               ว่าด้วยนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะ               
               บรรดานามรูปที่เป็นปัจจัยนั้น มีอธิบายความดังนี้
                                   ความจริง ว่าโดยการกำหนดอย่างต่ำ
                         นามอย่างเดียวนั้นเป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่
                         อายตนะที่ ๖ ในอรูปภพ ทั้งในปฏิสนธิกาล
                         และปวัตติกาล.
               นามเป็นปัจจัยอย่างไร? คือ ในปฏิสนธิกาล ว่าโดยกำหนดอย่างต่ำก่อน นามเป็นปัจจัย ๗ อย่างแก่อายตนะที่ ๖ โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย.
               อนึ่ง ในปฏิสนธิกาลนี้ ก็มีปัจจัยแม้โดยประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงทราบการกำหนดปัจจัยอย่างต่ำและอย่างสูง ด้วยสามารถแห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้นเถิด.
               แม้ในปวัตติกาล นามคือวิบากเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน แต่นามนอกนี้ซึ่งมิใช่วิบากเป็นปัจจัย ๖ อย่าง กำหนดอย่างต่ำเว้นวิปากปัจจัย ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในปวัตติกาลนั้น ก็มีปัจจัยแม้โดยประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.
                                   แม้ในภพอื่น นามก็เป็นปัจจัยแก่
                         อายตนะที่ ๖ ในปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้น
                         แหละ นามนั้นยังเป็นปัจจัยโดยอาการ ๖
                         อย่าง แก่อายตนะทั้งหลายนอกจากอายตนะ
                         ที่ ๖ นี้.
               จริงอยู่ แม้ในภพอื่นนอกจากอรูปภพ คือในปัญจโวการภพ นามที่เป็นวิบากนั้น เป็นสหายของหทยวัตถุเป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ คือมนายตนะ โดยกำหนดอย่างต่ำเหมือนกล่าวไว้ในอรูปภูมินั่นแหละ.
               อนึ่ง นามนั้นเป็นสหายกับมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น นอกจากอายตนะที่ ๖ นี้โดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย วิปยุตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ก็ในปฏิสนธิกาลนี้ มีปัจจัยแม้อื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงทราบกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำ ด้วยสามารถแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.
                                   แม้ในปวัตติกาล นามที่เป็นวิบากก็
                         เป็นปัจจัย แก่อายตนะที่เป็นวิบากเหมือนกัน
                         นามที่ไม่ใช่วิบากก็เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่
                         อายตนะที่ ๖ ซึ่งมิใช่วิบาก.
               จริงอยู่ แม้ในปวัตติกาล ในปัญจโวการภพ นามที่เป็นวิบากก็เป็นปัจจัยแก่วิบาก คืออายตนะที่ ๖ โดยกำหนดอย่างต่ำ ๗ ปัจจัย เหมือนในปฏิสนธิกาลนั่นแหละ ส่วนนามที่มิใช่วิบากเป็นปัจจัยแก่นามที่ไม่ใช่วิบาก คืออายตนะที่ ๖ โดยกำหนดอย่างต่ำ ๖ อย่าง โดยนำวิปากปัจจัยออกจากปัจจัยทั้ง ๗ นั้น และในปวัตติกาลนี้ ก็พึงทราบกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
                                   ในปวัตติกาลนั้นนั่นแหละ นามที่
                         เป็นวิบากก็เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะ ๕
                         ที่เหลือ แม้นามที่ไม่ใช่วิบาก ก็ทรงประกาศ
                         ไว้เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
               จริงอยู่ ในปวัตติกาลนั้นแหละ นามที่เป็นวิบากอาศัยวัตถุมีจักขุประสาทเป็นต้นบ้าง วัตถุนอกนี้บ้าง เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะที่เหลือ ๕ ีมีจักขายตนะเป็นต้น โดยปัจฉาชาตปัจจัย วิปยุตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย แม้นามที่ไม่ใช่วิบาก ก็ทรงประกาศเหมือนนามที่เป็นวิบากนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้นามอันต่างด้วยกุศลเป็นต้น ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัย ๔ อย่างแก่อายตนะ ๕ เหล่านั้น นามอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใดๆ และเป็นโดยประการใด ในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาล พึงทราบอายตนะนั้นๆ โดยประการนั้นๆ อย่างนี้ก่อน.
                                   ว่าด้วยรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ
                                   ก็ในอายตนะเหล่านี้ รูปไม่เป็นปัจจัย
                         แม้แก่อายตนะหนึ่งในอรูปภพ แต่เป็นปัจจัย
                         ในภพที่มีขันธ์ ๕ ว่าโดยรูป วัตถุรูปใน
                         ปฏิสนธิกาลเป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะ
                         ที่ ๖ ภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย ๔ อย่าง
                         แก่อายตนะ ๕ โดยไม่แปลกกัน.
               จริงอยู่ ว่าโดยรูป วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ คือมนายตนะ ๖ อย่าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. ส่วนภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ๔ อย่างแก่อายตนะแม้ทั้ง ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น โดยสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอายตนะที่เกิดขึ้นนั้นๆ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยไม่แปลกกัน.
                                   ชีวิตรูป เป็นปัจจัย ๓ อย่าง แก่วัตถุ
                         เหล่านี้ และอาหารรูปก็เป็นปัจจัย ๓ อย่าง
                         แก่วัตถุเหล่านั้นในปวัตติกาล อายตนะ ๕
                         เหล่านั้นเป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖
                         วัตถุรูปเป็นปัจจัย ๕ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖
                         นั้น.
               ก็ชีวิตรูป ในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล เป็นปัจจัย ๓ อย่างแก่วัตถุเหล่านี้ทั้ง ๕ มีจักขุเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัยและอินทริยปัจจัย.
               ก็คำว่า และอาหาร คือ และอาหารก็เป็นปัจจัย ๓ อย่างนั้นแหละด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย อาหารปัจจัย ก็อาหารนั้นแลเป็นปัจจัยในปวัตติกาลเท่านั้น มิใช่ในปฏิสนธิกาล ในกายที่มีอาหารซึมซาบของสัตว์ผู้มีอาหารเลี้ยงชีพเหล่านั้น.
               อนึ่ง อายตนะ ๕ มีจักขวายตนะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นปัจจัยในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะอันเป็นอายตนะที่ ๖ กล่าวคือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณโดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปยุตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย. ส่วนวัตถุรูปเป็นปัจจัย ๕ อย่างในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาลแก่มนายตนะที่เหลือ ยกเว้นวิญญาณ ๕ นั้นแล ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย รูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใดๆ ในปฏิสนธิกาลหรือปวัตติกาล และเป็นโดยประการใด พึงทราบโดยประการนั้นด้วยประการฉะนี้.

               ว่าด้วยนามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ               
               ก็นามรูปทั้ง ๒ อันใด เป็นปัจจัยแก่
                         อายตนะใด และโดยประการใด บัณฑิตพึง
                         ทราบนามรูปแม้นั้นและโดยประการนั้น ใน
                         ที่ทุกแห่ง.
               พึงทราบอย่างไร? คือในเบื้องต้น นามรูปกล่าวคือนามขันธ์ ๓ และวัตถุรูปในปฏิสนธิกาลปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ด้วยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเป็นต้น.
               คำที่กล่าวนี้พอเป็นหัวข้อในข้อว่านามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะนี้ แต่บุคคลผู้ฉลาดอาจประกอบเนื้อความทั้งหมด โดยทำนองแห่งคำที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่แสดงความพิสดารไว้ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

               นิเทศสฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] [๓]
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 242อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 255อ่านอรรถกถา 35 / 274อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=3732&Z=3845
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3266
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3266
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :