ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 36.1 / 1อ่านอรรถกถา 36.1 / 224อรรถกถา เล่มที่ 36.1 ข้อ 302อ่านอรรถกถา 36.1 / 313อ่านอรรถกถา 36.1 / 452
อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์
นิทเทส ๗. สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

               อรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส               
               บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน วิปปยุตตะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในบทนี้ มีลักษณะดังนี้ ก็ในวาระนี้ ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยบทที่ยกขึ้นแสดงเพื่อปุจฉา คือธรรมเหล่าใดวิปปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนาซึ่งการไม่ประกอบแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยขันธ์เป็นต้น.
               ก็บท (สัมปยุตเตน วิปปยุตตะ) นั้น ย่อมไม่ประกอบในธรรมทั้งหลาย มีรูปขันธ์เป็นต้น. เพราะธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าสัมปยุตด้วยรูปขันธ์ ย่อมไม่มี ฉะนั้น รูปขันธ์นั้นด้วย บทอื่นมีรูปอย่างนี้ด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาในวาระนี้. ส่วนบทเหล่าใด ย่อมส่องถึงสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ในธัมมธาตุและวิญญาณอันไม่เจือด้วยธรรมอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในวาระนี้.
               พึงทราบอุทานแห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้
                                   "จตฺตาโรขนฺธายตนญฺจ เอกํ
                                   เทฺว อินฺทฺริยา ธาตุปทานิ สตฺต
                                   ตโย ปฏิจฺจาถ ผสฺสสตฺตกํ
                                   ติเก ตโย สตฺต มหนฺตเร จ
                                   เอกํ สวิตกฺกํ สิวจารเนกํ
                                   ยุตฺตํ อุเปกฺขาย เจ เอกเมว".

               แปลว่า นามขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ (คือมนายตนะ) วิญญาณธาตุ ๗ อินทรีย์ ๒ (คือมนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์) ปฏิจจสมุปบาท ๓ (คือวิญญาณ ผัสสะ เวทนา) หมวด ๗ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ติกมาติกา ๓ (คืออทุกขมสุขายเวทนาย สวิตักกสวิจารบท อุเปกขาสหคตบท) มหันตรทุกะ ๗ (คือจิตตบท เจตสิกบท สัมปยุตตบท จิตตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท จิตตสังสัฏฐานานุปริวัตติบท) สวิตักกบท ๑ สวิจารบท ๑ อุเปกขาสหคตบท ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ๑ บท (รวม ๓๗ บท).
               เนื้อความนี้นั่นแหละ นับสงเคราะห์ในกาลที่สุด แม้ด้วยคำว่า "ขนฺธา จตุโร" เป็นต้น.
               ในนิทเทสนั้น บทเหล่าใดมีคำวิสัชนาทำนองเดียวกัน บทเหล่านั้น แม้ไม่เป็นไปตามลำดับ ท่านก็รวมไว้ทำปัญหาอันมีเวทนาขันธ์เป็นต้นในที่นั้น. ในปัญหาเหล่านั้น พึงทราบการจำแนกขันธ์เป็นต้น อย่างนี้.
               ในปัญหาว่าด้วยเวทนาขันธ์เป็นต้นก่อน. บทว่า "เอเกน" ได้แก่ (ไม่ประกอบ) ด้วยมนายตนะ.
               บทว่า "สตฺตหิ" ได้แก่ ด้วยวิญญาณธาตุ ๗.
               บทว่า "เกหิจิ" ได้แก่ ด้วยเวทนาเป็นต้น ในธัมมายตนะ.
               ในปัญหาว่าด้วยวิญญาณธาตุ คำว่า "เต ธมฺมา น เกหิจิ" ความว่า ยกเว้นวิญญาณธาตุที่ยกขึ้น เพื่อปุจฉาแล้ว ธรรมที่เหลือเหล่านั้น มีวิญญาณธาตุ ๖ รูปและนิพพาน ไม่วิปปยุตด้วยขันธ์ทั้งหลายบางอย่าง หรือด้วยอายตนะทั้งหลาย เพราะความที่ขันธ์และอายตนะทั้งหมดนั้นยังสงเคราะห์ได้.
               สองบทว่า "เอกาย ธาตุยา" ได้แก่ ธรรมใดๆ ที่ยกขึ้นเพื่อปุจฉา วิปปยุตแล้วด้วยธรรมนั้นๆ.
               ในปัญหาว่าด้วยอุเปกขินทรีย์ บทว่า "ปญฺจหิ" ได้แก่ (วิปปยุต) ด้วยจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น อันประกอบด้วยอุเบกขา (คือจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ).
               บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลาย อันวิปปยุตกับด้วยบทที่ยกขึ้นเพื่อปุจฉาโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาสัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ธาตุกถาปกรณ์ นิทเทส ๗. สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 36.1 / 1อ่านอรรถกถา 36.1 / 224อรรถกถา เล่มที่ 36.1 ข้อ 302อ่านอรรถกถา 36.1 / 313อ่านอรรถกถา 36.1 / 452
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=36&A=1300&Z=1349
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=444
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=444
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :