ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1356อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1358อ่านอรรถกถา 37 / 1363อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๙ นยถาจิตตัสสวาจาติกถา

               อรรถกถานยถาจิตตัสสวาจาติกถา๑-               
               ว่าด้วยผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้               
____________________________
๑- อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เรื่องราววาจาไม่เป็นไปตามจิต.

               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความว่า วาจาไม่เป็นไปตามจิต.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลบางคนคิดว่า เราจักกล่าวอย่างหนึ่ง แต่ย่อมกล่าวอย่างหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาจาจึงชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต ไม่คล้อยไปตามจิตแม้เว้นจิตเสียแล้ว วาจาก็ย่อมเป็นไปได้ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ เป็นต้น เพื่อท้วงปรวาทีนั้นว่า ถ้าว่า จิตที่เป็นเหตุให้วาจาเกิดขึ้นไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีผัสสะเป็นต้นก็ไม่พึงมีขณะนั้น ดังนี้.
               ในคำทั้งหลายมีคำว่า บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าว เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลคิดว่าเราจะกล่าวคำอย่างหนึ่งแม้กล่าวอยู่ซึ่งคำอีกอย่างหนึ่ง เขาย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาจะกล่าวนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
               ในคำทั้งหลายมีคำว่า บางคนที่คิดว่าจักกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง...มีอยู่มิใช่หรือ เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลใดปรารถนาจะกล่าวคำใดคำหนึ่ง ในกาลก่อน เขาก็พึงกล่าวคำนั้น คือคำที่คิดไว้แต่เดิมนั้น ในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตของผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวเป็นอย่างหนึ่ง จิตที่เป็นเหตุให้กล่าวก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต เพราะไม่เหมือนกับจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง แต่จิตใดอันมีในกาลก่อน จิตนั้นไม่เป็นเหตุให้คำพูดเกิดขึ้นก็หาไม่ ท่านปฏิเสธหมายเอาเนื้อความว่า วาจานั้นไม่เป็นไปตามจิตเพียงเท่านี้.
               ด้วยอุทาหรณ์นี้ ลัทธิ แม้อันปรวาทีตั้งไว้แล้วว่า ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต ดังนี้ ย่อมเป็นลัทธิตั้งอยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

               อรรถกถานยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๙ นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1356อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1358อ่านอรรถกถา 37 / 1363อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=13503&Z=13549
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5557
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5557
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :