ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1368อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1375อ่านอรรถกถา 37 / 1379อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๐ นิโรธกถา

               อรรถกถานิโรธกถา               
               ว่าด้วยความดับ               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความดับ.
               ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ขันธ์ ๕ คือนามขันธ์ ๔ อันถึงซึ่งการนับว่าเป็นกิริยา หรือเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับภังคขณะ คือขณะแห่งการดับ ของภวังคจิตอันถึงซึ่งการนับว่า ขันธ์ที่แสวงหาการเกิด เพราะว่า เมื่อขันธ์เหล่านั้นยังไม่เกิด ครั้นเมื่อภวังคจิตดับแล้ว ความขาดตอนของสันตติพึงมี ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีว่าเมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ในบททั้งหลายแม้ทั้ง ๔ ว่า อุปปตฺเตสิเย แปลว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติ นั้น เป็นสัตตมีเอกพจน์ลงในอรรถแห่งสัตตมีพหูพจน์ ก็ในคำนี้ ท่านอธิบายว่า เมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาซึ่งการเกิดยังไม่ทันดับ. คำว่า ขันธ์ ๑๐ ท่านสกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งขันธ์ ๕ ที่แสวงหาการเกิด และขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยา หมายถึงขันธ์ของพระอรหันต์ที่ไม่ต้องแสวงหาการเกิด.
               ในปัญหาแรกนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า ขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่ามี ๕ เท่านั้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะของขันธ์ และด้วยสามารถแห่งกิริยา.
               ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาความต่างกันแห่งขันธ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่เกิดก่อนและเกิดทีหลัง และด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่แสวงหาการเกิดและขันธ์ที่เป็นกิริยา คือขันธ์ที่ไม่แสวงหาการเกิด.
               ถูกสกวาทีถามว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีข้ออ้างในพระสูตร.
               คำว่า ขันธ์ ๔ ที่เป็นกิริยา ความว่า สกวาทีถือเอานามขันธ์ ๔ ที่เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลโดยเว้นจากรูป.
               คำว่า ญาณอันเป็นกิริยา ได้แก่ ญาณที่ไม่มีอารมณ์ของพระอรหันต์ในขณะที่ท่านถึงพร้อมด้วยจักขุวิญญาณจิตที่ปรวาทีรับรองแล้ว.
               คำถามว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติดับไปแล้ว มรรคก็เกิดขึ้นได้หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองเป็นของสกวาที เพราะเมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาการเกิดยังไม่ดับแล้ว มรรคก็ไม่เกิดขึ้น.
               คำถามโดยเลศนัยของปรวาทีว่า ผู้ตายแล้วยังมรรคให้เกิดได้....หรือ สกวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่า จำเดิมแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติจิตสัตว์ชื่อว่ามีชีวิตอยู่นั่นแหละ ดังนี้.

               อรรถกถานิโรธกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๐ นิโรธกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1368อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1375อ่านอรรถกถา 37 / 1379อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=13669&Z=13704
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5596
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5596
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :