ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1623อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1625อ่านอรรถกถา 37 / 1630อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๕ สัญญาเวทยิตกถาที่ ๓

               อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตกถา               
               ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธที่ ๓               
               บัดนี้ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะทั้งหลายว่า แม้ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติพึงทำกาละได้ โดยถือหลักว่า ชื่อว่าความแน่นอนไม่มีเพราะความที่สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา ดังเช่นคำว่า ผู้โน้นตาย ผู้โน้นยังไม่ตาย ดังนี้. คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงถึงเวลาตายและมิใช่เวลาตาย เพราะความที่บุคคลแม้เข้าสมาบัติก็มีความตายเป็นธรรมดา คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุดเป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอาการที่ว่าผัสสะอันเกิดในเวลาที่มีความตายเป็นธรรมดา ชื่อว่าพึงมีแก่ผู้กระทำกาละโดยอาการนั้นหรือ.
               ถูกถามว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการกระทำกาละ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธโดยหมายเอาสัตว์ที่เหลือ คือนอกจากผู้เข้าสมาบัตินั้น.
               ถูกถามคำว่า ยาพิษพึงเข้าไป เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธโดยหมายเอาอานุภาพแห่งสมาบัติ. แต่ตอบรับรองในครั้งที่ ๒ โดยหมายเอาสรีระปรกติ. ก็ถ้าเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ ชื่อว่าอานุภาพแห่งสมาบัติก็ไม่มี ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงซักปรวาทีว่า มิได้เข้านิโรธหรือ.
               คำถามว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละหรือ เป็นของปรวาที.
               ในปัญหาของปรวาทีว่า นิยามอันเป็นเหตุกำหนดโดยแน่นอนมีอยู่ แต่ชื่อว่า นิยามอย่างนี้ไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบปฏิเสธ.
               คำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ เป็นต้นที่สกวาทีกล่าวก็เพื่อแสดงว่า ครั้นเมื่อนิยามเช่นนี้แม้ไม่มีอยู่ สัตว์ก็ต้องตายตามเวลาเท่านั้น ย่อมไม่ตายโดยมิใช่เวลา ดังนี้.
               ในปัญหานั้น มีคำอธิบายว่า ถ้าว่า การทำกาละพึงมีเพราะความไม่มีนิยามไซร้ การทำกาละนั้นก็จะพึงมีแม้แก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ เพราะสัตว์ย่อมไม่ตายย่อมไม่เกิดด้วยวิญญาณ ๕ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความผิดพลาดในพระสูตรพึงมี เหมือนการทำกาละย่อมไม่มีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ฉันใด การทำกาละก็ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

               อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๕ สัญญาเวทยิตกถาที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1623อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1625อ่านอรรถกถา 37 / 1630อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=16770&Z=16835
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6340
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6340
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :