ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 809อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 820อ่านอรรถกถา 37 / 828อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๓ ยถากัมมูปคตญาณกถา

               อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา               
               ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องยถากัมมูปคตญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นว่า ยถากัมมูปคตญาณนั่นแหละเป็นทิพยจักขุ ดังนี้ เพราะไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรว่า ตถาคตย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ถูกสกวาทีถามอีกว่า ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็นไปตามกรรมด้วย ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอารมณ์ ๒ อย่างของจิตดวงเดียวกันไม่มี. ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่างๆ สกวาทีไม่ให้โอกาสอันพลั้งพลาดของปรวาทีนั้น จึงถามอีกว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ปรวาทีตอบปฏิเสธ. พึงทราบเนื้อความในการประกอบบทยถากัมมูปคตนี้ฉันใด ก็พึงประกอบแม้ด้วย
               บทว่า อิเม วต โภนฺโต สตฺตา แปลว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่านทั้งหลาย เป็นต้น ฉันนั้นนั่นแหละ.
               คำว่า ท่านพระสารีบุตรรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมหรือ ดังนี้ อธิบายว่า พระสารีบุตรเถระย่อมไม่ใช้อภิญญาญาณทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ปรารถนาน้อย แต่ชนบางพวกไม่รู้จึงสำคัญว่า อภิญญาญาณเหล่านั้นไม่มีแก่พระเถระเลย ดังนี้เหตุใด เพราะฉะนั้น ท่านสกวาทีจึงถามปรวาทีผู้สำคัญว่า พระเถระไม่ได้ทิพพจักขุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงถูกสกวาทีถามเนื้อความต่อไปว่า ท่านพระสารีบุตรมีทิพพจักษุหรือ ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ.
               ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองว่า อภิญญาญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุแล้ว ญาณนั้นทั้งหมด ท่านพระเถระบรรลุแล้วโดยลำดับ.
               บัดนี้ สกวาทีเมื่อจะให้ปรวาทีสับสน จึงกล่าวคำว่า ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า การตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธ ความหมดจดแห่งโสตธาตุและจุตูปปาตญาณของเรา ไม่มี ดังนี้
               จริงอยู่ ท่านกล่าวคาถานี้ก็เพราะไม่มีความปรารถนาจะใช้ ท่านมิได้กล่าวเพราะไม่มีอภิญญาญาณทั้งหลาย มิใช่หรือ แต่ปรวาทีกำหนดเนื้อความพระสูตรว่า ความปรารถนาเพื่อ ฯลฯ ของเราไม่มีเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรองตามลัทธินั้นว่า พระเถระมีเพียงยถากัมมูปคตญาณ ไม่มีทิพจักขุญาณ ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพจักขุ ดังนี้แล.

               อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๓ ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 809อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 820อ่านอรรถกถา 37 / 828อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=8328&Z=8396
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4450
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4450
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :