ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 77อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 117อ่านอรรถกถา 38 / 171อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑
ขันธยมก ปวัตติวาร อุปปาทวารเป็นต้น

               อรรถกถาขันธยมก               
               อรรถกถาปวัตติวาระ               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มปวัตติวาระโดยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ.
               ถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปวัตติวาระนี้.
               ตอบว่า เพราะเป็นนัยที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง ก็นัยในอุทเทสวาระพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในปัณณัตติวาระ ก็โดยนัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสอุทเทสวาระนั้น ทรงเริ่มนิทเทสวาระเลยทีเดียว เพราะแม้ไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปัณณัตติวาระนี้ ใครๆ ก็อาจทราบได้.
               ก็อันตรวาระ ๓ คือ อุปาทวาระ นิโรธวาระ อุปาทนิโรธวาระ ย่อมมีในมหาวาระ กล่าวคือปวัตติวาระนี้.
               ในวาระทั้ง ๓ นั้น วาระที่ ๑ เรียกว่าอุปาทวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย.
               วาระที่ ๒ เรียกว่านิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการดับของธรรมทั้งหลายเหล่านี้นั้นนั่นแหละ.
               วาระที่ ๓ เรียกว่าอุปาทนิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแม้ทั้งสอง.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายในปวัตติวาระนี้ด้วยอุปาทะวาระ, ทรงแสดงความไม่เที่ยงของธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเองด้วยนิโรธวาระว่า ชื่อว่าการเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเที่ยง ย่อมไม่มี, ทรงแสดงความเกิดขึ้นและความไม่เที่ยงทั้งสองนั่นด้วยอุปาทนิโรธวาระ.
               ในอุปาทวาระนั้น มีประเภทแห่งกาล ๖ อย่างด้วยอำนาจอัทธา ๓ คือปัจจุบัน อดีต อนาคต ปัจจุบันกับอดีต ปัจจุบันอนาคต อดีตกับอนาคต.
               ในกาลเหล่านั้น คำว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ รูปขันธ์กำลังเกิด (ย่อมเกิด) แก่บุคคลใด พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบัน ก็ปัจจุบันนั้นพระองค์ตรัสไว้ก่อนว่า ปัจจุบันนั้นเป็นธรรมชาติที่บุคคลพึงรู้ด้วยดีเกินเปรียบ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน บุคคลพึงถือเอาได้โดยประจักษ์.
               อดีตกาล พึงทราบด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นอดีตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิด (เกิดแล้ว) แก่บุคคลใด ก็อดีตกาลนั้นท่านกล่าวไว้เป็นที่สองเพราะอดีตธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วในภายหลัง เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยประจักษ์ดีกว่าอนาคตที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยอนุมาน.
               พึงทราบอนาคตกาลด้วยอำนาจแห่งชื่อที่เป็นอนาคตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์จักเกิดแก่บุคคลใด อนาคตกาลนั้นกล่าวไว้เป็นที่ ๓ เพราะถือเอาว่า ธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้ เป็นรูปจักเกิดขึ้น แม้ในอนาคตด้วยอำนาจธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วโดยประจักษ์ และด้วยธรรมที่ถือเอาแล้วโดยอนุมาน.
               คำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันกับอดีต ด้วยอำนาจชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอดีต ปัจจุบันกับอดีต (ปัจจุบันนาตีตวาระ) นั้น กล่าวไว้เป็นที่ ๔ เพราะปัจจุบันและอดีตบุคคลพึงรู้แจ้งได้ง่ายกว่ากาลทั้ง ๓ ที่เจือปนกัน.
               พึงทราบปัจจุบันกับอนาคตด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอนาคตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ ปัจจุบันกับอนาคตนั้น กล่าวไว้เป็นที่ ๕ เพราะว่า ปัจจุบันกับอนาคตนั้น เป็นกาลที่บุคคลพึงรู้ได้ง่ายกว่าโดยเนื้อความ เพราะธรรมทั้งหลายที่พึงถือเอาโดยประจักษ์มีอยู่.
               พึงทราบอดีตกับอนาคต ด้วยชื่อที่เป็นอนาคตกับอดีตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ อดีตกับอนาคตนั้น พึงรู้ได้ยากกว่ากาลทั้งหลายก่อนๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับที่ ๖.
               ในกาลทั้ง ๖ นั้น ปัจจุบันกาลอันเป็นกาลที่หนึ่ง มี ๓ วาระ คือโดยบุคคล โดยโอกาส โดยบุคคลและโอกาส (ปุคคลวาระ, โอกาสวาระและปุคคลโลกาสวาระ).
               ในวารทั้ง ๓ นั้น การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจบุคคลด้วยคำว่า ยสฺส ชื่อว่าปุคคลวาระ.
               การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจโอกาส ด้วยคำว่า ยตฺถ ชื่อว่าโอกานวาร.
               การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจบุคคลและโอกาส ด้วยคำว่า ยสฺส ยตฺถ ชื่อว่าปุคคลโลกาสวาระ.
               วาระทั้ง ๓ เหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงอนุโลมนัยก่อน แล้วจึงแสดงปฏิโลมนัยภายหลัง ในอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย การแสดงการเกิดขึ้นด้วยคำว่า อุปฺปชฺชติ = ย่อมเกิด (กำลังเกิด) อุปฺปชฺชิตฺถ = เกิดแล้ว (เคยเกิด) อุปฺปชฺชิสฺสติ = จักเกิด ชื่อว่าอนุโลมนัย.
               การแสดงการไม่เกิดขึ้นด้วยคำว่า นุปฺปชฺชติ = ไม่ใช่ย่อมเกิด (หรือไม่ใช่กำลังเกิด) นุปฺปชฺชิตฺ = ไม่ใช่เกิดแล้ว (ไม่เคยเกิด) นุปฺปชฺชิสฺติ = ไม่ใช่จักเกิด ชื่อว่าปฏิโลมนัย.
               ในอนุโลมนัยแห่งบุคคลวาระในปัจจุบันกาลนั้น มียมก ๑๐ อย่าง เพราะนับแล้วไม่นับอีก (คือนับเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน) คือยมก ๔ อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูลอย่างนี้ว่า
               ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ตสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.
               ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ตสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สัญญาขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า สัญญาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.
               ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สงฺขารกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สงฺขารกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ตสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สังขารขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า สังขารขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.
               ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส วิญญาณกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน วิญญาณกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ตสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด วิญญาณขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า วิญญาณขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.
               ยมก ๓ อย่าง ที่มีเวทนาขันธ์เป็นมูล ด้วยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺติ ยมก ๒ อย่างที่มีสัญญาขันธ์เป็นมูลยมก ๑ อย่างที่มีสังขารขันธ์เป็นมูล.
               ในยมกทั้ง ๑๐ อย่างนั้น ในยมก ๔ อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูล พระองค์ทรงวิสัชนายมกต้นอย่างเดียวเท่านั้น ยมกที่เหลือ (อีก ๓) มีการวิสัชนาเช่นกับยมกต้นนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงย่อไว้เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน แม้ในมูลทั้งหลายมีเวทนาขันธ์เป็นมูลเป็นต้น การวิสัชนาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยคำว่า อามนฺตา = ใช่ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนายมก ๑๐ อย่างแล้ว ด้วยการวิสัชนายมกหนึ่งๆ ในอนุโลมนัย ในบุคคลวาระ ในปัจจุบันกาล เหล่านี้อย่างนี้ว่า ยมกเหล่านั้นทรงย่อไว้เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน.
               ในอนุโลมนัย ในวาระทั้ง ๓ ในปัจจุบันกาล มียมก ๓๐ อย่าง คือในบุคคลวาระมี ๑๐ อย่าง ในโอกาสวาระ ๑๐ อย่าง ในปุคคโลกาสวาระ ๑๐ อย่าง ฉันใด แม้ในปฏิโลมนัยก็มี ๓๐ ฉันนั้น จึงรวมเป็นยมกะ ๖๐ อย่าง ในปัจจุบันกาลทั้งหมด.
               ในยมกะ ๖๐ อย่างนั้น พึงทราบว่า มีปุจฉา ๑๒๐ มีอรรถ ๒๔๐.
               วาระทั้ง ๖ พึงทราบว่า มียมกะ ๖๐ เพราะกระทำให้เป็น ๑๐ ในวาระหนึ่งๆ รวมยมกะ ๓๐๐ ในก่อน จึงเป็นยมกะ ๓๖๐ ปุจฉา ๗๒๐ อรรถ ๑,๔๔๐ นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในอุปปาทวาระก่อน. ก็ในอุปปาทะวาระฉันใด พึงทราบว่าแม้ในนิโรธวาระ แม้ในอุปปาทนิโรธวาระก็อย่างนั้น ในปวัตติมหาวาระ แม้ทั้งหมดจึงยมกะ ๑,๐๘๐ ปุจฉา ๒,๑๖๐ อรรถ ๔,๓๒๐.
               แต่พระบาลีในอุปปาทวาระและนิโรธวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาย่อไว้แล้วซึ่งยมกหนึ่งๆ เท่านั้น ในวาระนั้นๆ ในประเภทแห่งกาลที่ไม่ปะปนกัน ๓ อย่าง. ในประเภทแห่งกาลที่ปะปนกัน ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนายมกอย่างหนึ่ง แม้ในมูลที่มีเวทนาขันธ์เป็นมูลเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สัญญาขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?
               ก็ในอุปปาทะนิโรธ วาระพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงวิสัชนายมกแม้นั้นไว้ในประเภทแห่งกาล แม้ทั้ง ๖ พึงทราบว่ายมกะที่เหลือทรงย่อไว้ เพราะยมกเหล่านั้น พระองค์ทรงวิสัชนาให้เสมอกันกับยมกนั้น นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในปวัตติมหาวาระแม้ทั้งสิ้น.
               ก็เพื่อวินิจฉัยเนื้อความแห่งขันธยมกนี้ พึงทราบลักษณะดังต่อไปนี้
               บัณฑิตพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา ๔ อย่าง ในปวัตติมหาวาระนี้ที่ท่านใส่ไว้ในคำวิสัชนา ๕ อย่าง ในฐานะ ๒๗ ในอรรถวินิจฉัยนั้น ชื่อปัญหา ๔ อย่าง คือปุเรปัญหา ปัจฉาปัญหา ปริปุณปัญหา โมฆะปัญหา. ก็ยมกหนึ่งๆ มีปุจฉา ๒ อย่าง (คืออนุโลมและปฏิโลม). แม้ปุจฉาหนึ่งๆ ก็มีบท ๒ อย่าง (คือสันนิฏฐานและสังสยะ).
               ในปัญหา ๔ อย่างนั้น ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใดย่อมได้การเกิดขึ้นหรือการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว ปัญหานี้ ชื่อว่าปุเรปัญหา.
               ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ย่อมได้การเกิดขั้นหรือความดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทแม้ทั้งสอง ปัญหานี้ชื่อว่าปัจฉาปัญหา.
               ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใดย่อมได้การเกิดขึ้นหรือความดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียวบ้าง ด้วยบทแม้ทั้งสองบ้าง ปัญหานี้ชื่อว่าปริปุณณปัญหา. แต่การห้ามหรือการปฏิเสธย่อมได้ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ปัญหานี้ชื่อว่าโมฆะปัญหา ก็เพราะโมฆะปัญหานี้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงไว้ ใครๆ ก็ไม่อาจรู้ได้ ฉะนั้นจึงจักแสดงปัญหานั้นไว้.
               การเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์อันท่านถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว ในการวิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด (กำลังเกิด) ในคำถามยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺชชฺชติ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นหรือ เพราะเหตุนั้นปัญหานี้ด้วย ปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ด้วย พึงทราบว่าเป็นปุเรปัญหา.
               การเกิดขึ้นแห่งรูปและเวทนาขันธ์ในอดีตของสัตว์ใดสัตว์หนึ่ง ที่ถือเอาด้วยบททั้งสองย่อมได้ในการวิสัชนานี้ว่า อามนฺตา = ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺ = รูปขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็เคยเกิดแล้วแก่บุคคลนั้นหรือ? เพราะเหตุนั้นปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ ชื่อว่าปัจฉาปัญหา.
               ก็การเกิดขั้นแม้ของรูปขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียว ย่อมได้ในปุริมโกฏฐาสะนี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ รูปขันธ์กำลังเกิด แต่เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ในการวิสัชนานี้มีอาทิว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ, ในปัญหาแรกนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์กำลังเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ ดังนี้ การเกิดขึ้นแม้ของรูปและเวทนาขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง ย่อมได้ในปัจฉิมโกฏสะนี้ว่า ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺติ เวทนากฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ = เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ รูปขันธ์ก็กำลังเกิด เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิด เพราะเหตุนั้น ปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ พึงทราบว่าเป็นปริปุณณปัญหา. แม้คำว่า ปุเรปัจฉาปัญหา ก็เป็นชื่อของปริปุณณปัญหานั้นนั่นแหละ.
               ก็ในการวิสัชนาปริปุณณปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์นั่นแหละที่สงเคราะห์ไว้ด้วยบทเดียวในปุริมโกฏฐาส ในทุติยโกฏฐาสการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทบทเดียว ย่อมได้ในปัญหาใดด้วยนัยและลักษณะนี้แห่งรูปและเวทนาขันธ์ที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง ปัญหานั้นเรียกว่าปุเรปัญหา.
               การเกิดขึ้นหรือการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง ย่อมได้ในปัญหาใด ปัญหานั้นเรียกว่าปัจฉาปัญหา.
               ปฏิกเขปวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ ด้วยคำว่า นตฺถิ = ไม่มี ในปัญหานี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ ปุปฺปชฺชิตฺ = รูปขันธ์ไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.
               ปฏิเสธวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ด้วยคำว่า โน = ไม่ใช่ ในคำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นิรุชฺฌติ = รูปขันธ์กำลังเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นหรือ เหตุนั้น ปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ รวม ๒ อย่าง พึงทราบว่าเป็นโมฆะปัญหา แม้โมฆะปัญหานี้เรียกว่า เฉทตุจฉปัญหา ก็ได้ พึงทราบปัญหาทั้ง ๔ อย่าง อย่างนี้ก่อน.
               ก็วิสัชนาเหล่านี้คือ ปาลิคติวิสัชนา ปฏิวจนวิสัชนา สรูปทัสสนวิสัชนา ปฏิกเขปวิสัชนา ปฏิเสธวิสัชนา ชื่อว่าวิสัชนา ๕ อย่าง.
               ในวิสัชนา ๕ อย่างนั้น วิสัชนาใดเป็นบาลีบทเท่านั้นอันท่านวิสัชนาซึ่งเนื้อความไว้ วิสัชนานี้ชื่อว่าปาลิคติวิสัชนา.
               ปาลิคติวิสัชนานั้นย่อมได้ในปุเรปัญหา วิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ = กำลังเกิด ในปัญหาว่า ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นหรือ เป็นเพียงบทแห่งพระบาลีที่พระองค์วิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบการวิสัชนาด้วยปาลิคติวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้ อย่างนี้.
               ก็วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาเนื้อความโดยความเป็นคำตอบ วิสัชนานี้ชื่อว่าปฏิวจนะวิสัชนา.
               ปฏิวจนวิสัชนานั้นย่อมได้ในปัจฉาปัญหา ก็วิสัชนานี้ด้วยคำว่า อามนฺตา = ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ ที่พระองค์ทรงวิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยอำนาจความเป็นคำตอบนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบปฏิวจนะวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้.
               คำวิสัชนาใดที่ท่านแสดงเนื้อความไว้โดยสรุป วิสัชนานี้ชื่อว่าสรูปทัสสนวิสัชนา.
               สรูปทัสสนวิสัชนานี้ย่อมได้ในปริปุณณปัญหา.
               ก็วิสัชนานี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ ในปัญหานี้ ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ อันพระองค์ทรงวิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้วด้วยการแสดงโดยสรุปว่า รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านี้ แต่เวทนาขันธ์ไม่เกิด รูปขันธ์และเวทนาขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบสรูปทัสสนวิสัชนา ในที่ทั้งหลายเห็นปานนี้.
               ก็คำวิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาด้วยการห้ามเนื้อความ เพราะความไม่มีเนื้อความเห็นปานนั้น คำวิสัชนานั้น ชื่อว่าปฏิกเขปวิสัชนา.
               วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาโดยปฏิเสธเนื้อความ เพราะความไม่ได้ซึ่งเนื้อความเห็นปานนั้นในขณะหนึ่งๆ วิสัชนานี้ชื่อว่าปฏิเสธวิสัชนา ปฏิเสธวิสัชนานั้น ย่อมได้ในโมฆะปัญหา.
               จริงอยู่ คำวิสัชนานี้ว่า นตฺถิ = ไม่มี ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตฺ = รูปขันธ์ไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ เป็นคำวิสัชนาที่ท่านวิสัชนาไว้เรียบร้อยแล้วโดยการห้ามเนื้อความว่า ชื่อว่าสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พึงทราบการวิสัชนาในที่ทั้งปวงเห็นปานนี้ด้วยปฏิกเขปวิสัชนา.
               ก็คำวิสัชนานี้ว่า โน = ไม่ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นิรุชฺติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ย่อมดับแก่บุคคลนั้นหรือ อันท่านวิสัชนาไว้เรียบร้อยแล้วโดยการปฏิเสธเนื้อความว่า ชื่อว่าการดับไปพร้อมกับการเกิดขึ้นย่อมไม่ได้ในปฏิสนธิขณะหนึ่งๆ.
               บัดนี้พึงทราบปัญหา ๔ อย่างและการวิสัชนา ๕ อย่าง ที่ควรใส่ไว้ในฐานะ ๒๗ เหล่าใด พึงทราบฐานะเหล่านั้นอย่างนี้ คือ อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ เป็น ๑ ฐานะ อสญฺญสตฺเต ตตฺถ ๑ ฐานะ อสญฺญตฺตานํ ๑ ฐานะ อสญฺญสตฺตา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูปํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูเป ตตฺถ ๑ ฐานะ อรูปานํ ๑ ฐานะ อรูปา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ ๑ ฐานะ อรูเป ปรินิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ว่า ปรินิพฺพนฺตานํ) ๑ ฐานะ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ ปญจโวกาเร ตตฺถ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการนํ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาสํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาเส ตตฺถ ๑ ฐานะ สุทธาวาสานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาเส ปรินิพฺพนฺตานํ ๑ ฐานะ สพฺเพสํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ สพฺเพสํ จวนฺตานํ ๑ ฐานะ ปจฺฉิมภวิกานํ ด้วยอำนาจที่สาธารณะแก่สัตว์ทั้งปวงอีก ๑ ฐานะ ปรินิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ ปรินิพฺพนฺตานํ) ๑ ฐานะ จตุโวการํ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ จตุโวการา ปญฺจโวการา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ.
               บัณฑิตพึงใส่คำวิสัชนา ๕ อย่างไว้ในฐานะ ๒๗ อย่างเหล่านี้แล้ว พึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา ๔ อย่างในปวัตติมหาวาระด้วยประการฉะนี้ ก็อรรถวินิจฉัยนั้น อันบัณฑิตทราบแล้วอย่างนี้ เมื่อวิสัชนาปัญหาย่อมเป็นอันวิสัชนาแล้วโดยง่าย และเมื่อวินิจฉัยซึ่งเนื้อความย่อมเป็นอันวินิจฉัยแล้วโดยง่าย.
               นัยนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด ได้แก่ย่อมถามว่า รูปขันธ์กำลังเกิดในอุปาทะขณะสมังคีแก่บุคคลใด เวทนาก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ เพราะเหตุนี้แม้เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นในขณะนั้นนั่นแหละ.
               สองบทว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ ได้แก่ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในอสัญญสัตตภพด้วยอำนาจปฏิสนธิที่ไม่ใช่จิต.
               บทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ได้แก่ รูปขันธ์กำลังเกิดเพียงอย่างเดียวแก่อสัญญสัตว์นั้น ก็รูปขันธ์ของอสัญญสัตว์ผู้เกิดแล้วในปวัตติกาล ย่อมเกิดบ้าง ย่อมดับบ้าง เพราะเหตุนั้น จึงไม่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตานํ = ๑-เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิ แต่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ = เกิดอยู่ คือกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ โน จ เตสํ เวทนากฺขนฺโธ อุปปชฺชติ = แต่เวทนาขันธ์ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ได้แก่เวทนาขันธ์ของอสัญญสัตว์เหล่านั้นไม่ใช่กำลังเกิด เพราะความที่แห่งอสัญญสัตว์นั้นไม่มีจิต นี้เป็นการวิสัชนาโดยการแสดงโดยสรุปในปุริมโกฏฐาสแห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะที่ ๑ ในบรรดาฐานะ ๒๗ อย่าง.
____________________________
๑- คำว่า เกิดอยู่ หมายความทั้งกำลังเกิดและกำลังตาย คำว่า อสญฺญสตฺตานํ ในยมกะนี้ จึงมีความหมายว่า กำลังเกิด - กำลังตาย

               สองบทว่า ปญฺจโวการํ อุปฺปชฺชนํตานํ = กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ได้แก่ เข้าถึงอยู่ซึ่งปัญจโวการภพด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิที่เจือด้วยรูปและอรูป.
               หลายบทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺติ = เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ได้แก่ ขันธ์แม้สองกล่าวคือรูปและเวทนา ย่อมเกิดขึ้นนั่นเทียวแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงซึ่งปัญจโวการภพเหล่านั้นโดยแน่นอน แต่ว่าในปวัตติกาล ขันธ์ ๒ เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นบ้าง ย่อมดับบ้างแก่สัตว์ผู้เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปญฺจโวการานํ = เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ แต่ตรัสปญฺจโวการ อุปฺปชฺชนฺตานํ = กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ นี้เป็นการวิสัชนาด้วยการแสดงโดยสรุป ในปัจฉิมโกฏฐาสแห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะว่า ปญฺจโวการํ อุปฺปชฺชนฺตานํ พึงทราบการวิสัชนาทั้งหมดโดยอุบายนี้.
               ก็นี้เป็นนิยมลักษณะในการเกิดและการดับนี้.
               ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปปาทวาระไว้ ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั่นเทียวว่า การไม่ลูบคลำ (คือไม่ทรงแสดง) ซึ่งการเกิดและการดับในปวัตติกาลว่า ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในปัญจโวการภพนั้นๆ เมื่อการเกิดขึ้นและการดับอันไม่มีที่สุดแห่งขันธ์ ๕ แม้มีอยู่ในปวัตติกาลจนกระทั่งตาย การทำการแยกธรรมทั้งหลายที่เป็นไปโดยเร็ว เพื่อแสดงการเกิดและการดับ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในปฏิสนธิของสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วยกรรมต่างๆ อันยังวิปากวัฏฏ์ใหม่ๆ ให้สำเร็จ เป็นการทำได้ง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธวาระด้วยอำนาจการดับในมรณะกาลว่า ก็การแสดงการดับ ในกาลเป็นที่สิ้นสุดลงแห่งวิปากวัฏฏ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการทำได้ง่าย ก็ความไม่ลูบคลำการเกิดและการดับในปวัตติกาลนี้เป็นประมาณอย่างไรนั่นแหละคือพระบาลี
               อนึ่ง พระบาลีว่า ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์ก็ย่อมไม่เกิด เวทนาขันธ์ก็จักไม่ดับแก่ปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้น นี้เป็นประมาณยิ่ง ในวาระแห่งอนาคตกาลแห่งอุปปาทะวาระโดยพิเศษในพระบาลี เมื่อภาวะที่สมควรเพื่อการเกิดขึ้นแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในปวัตติกาลของปัจฉิมภวิกบุคคลแม้มีอยู่ การเกิดขึ้นในปวัตติกาล พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาโดยภาวะที่กล่าวแล้ว จึงทรงกระทำการสันนิษฐานว่า รูปกฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺติ เวทนากฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺติ = รูปขันธ์ก็จักไม่เกิด เวทนาขันธ์ก็จักไม่ดับ พระบาลีนี้ว่า สุทฺธาวาเสปรินิพฺพนฺตานํ = กำลังปรินิพพานในสุทธาวาส ดังนี้ เป็นประมาณยิ่ง ในการไม่แตะต้องซึ่งความดับในปวัตติกาล ก็คลองแห่งการนับซึ่งสัญญาขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปแล้ว เพราะเกิดขึ้นแล้วในปวัตติกาล จำเดิมแต่ปฏิสนธิกาล ที่ตั้งอยู่ในภังคขณะ แห่งจุติจิตของปรินิพพันตบุคคลในสุทธาวาส ย่อมไม่มี ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาความดับในปวัตติกาลโดยภาวะที่กล่าวแล้ว จึงทรงกระทำการสันนิษฐานว่า เตสํ ตตฺถ สญฺญากฺขนฺโธ น นิรุชฺฌิตฺถ = สัญญาขันธ์ไม่ดับแล้ว (คือไม่เคยดับ) แก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
               บัณฑิตครั้นทราบลักษณะที่แน่นอนในการเกิดขึ้นและดับไปนี้แล้ว ควรถือเอาการเกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิกาลและการดับด้วยจุติกาลเท่านั้น แล้วพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งการวิสัชนาทั้งหลายที่มาแล้วในฐานะทั้งหลายเหล่านั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ แต่ว่าการวินิจฉัยเนื้อความนั้นท่านไม่ทำให้พิสดารแล้วโดยลำดับแห่งการวิสัชนาว่า การวินิจฉัยเนื้อความนั้นใครๆ ก็อาจทราบได้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในการวิสัชนาแรก หากว่าบุคคลใดไม่สามารถจะทราบการวินิจฉัยเนื้อความเหล่านั้น บุคคลนั้นพึงเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์ ฟังด้วยดีแล้วพึงทราบตามนัยที่อาจารย์ให้แล้วนี้ อย่างนี้.
                         ยมกทั้งหลายเหล่าใดในขันธ์ ๕ ย่อมมีด้วยอำนาจแห่ง
               อุปปาทวาระ, นิโรธวาระ และอุปปาทะและนิโรธะทั้งสองรวมกัน
               ด้วยอำนาจของอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย พระชินเจ้าตรัสแล้ว
               ซึ่งยมกะทั้งหลายเหล่านั้นในวาระทั้งหลายในปวัตติกาล เพราะ
               ทรงแสดงแล้วซึ่งบุคคลวาระ, โอกาสวาระ, และปุคคโลกาสวาระ
               การกำหนดพระบาลีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
               โดยลำดับ แม้การประกอบเนื้อความเพื่อการวินิจฉัยปัญหาและ
               วิสัชนา พร้อมทั้งฐานะทั้งหลายแห่งการวิสัชนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
               โดยประการทั้งปวง พระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้วใน
               ปัญหาหนึ่งๆ ลำดับการวิสัชนาปัญหาในปวัตติมหาวาระนี้เป็นไป
               แล้วโดยพิสดาร เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจงทราบเนื้อความ
               โดยนัยนี้ว่า เบื้องหน้าแต่นี้ไป ใครหนอจะสามารถพรรณนาเนื้อ
               ความนี้ได้.

               อรรถกถาปวัตติวาระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ ขันธยมก ปวัตติวาร อุปปาทวารเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 77อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 117อ่านอรรถกถา 38 / 171อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=38&A=1128&Z=1545
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7588
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7588
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :