ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 39 / 1อ่านอรรถกถา 39 / 378อรรถกถา เล่มที่ 39 ข้อ 379อ่านอรรถกถา 39 / 488อ่านอรรถกถา 39 / 1445
อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๒
อินทริยยมก ปัณณัตติวาร

               อรรถกถาอินทริยยมก               
               บัดนี้เป็นการพรรณนาอินทริยยมก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในลำดับต่อจากธรรมยมก เพราะทรงรวบรวมธรรมทั้งหลายมีกุศลธรรมเป็นต้น ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมกเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ได้อยู่ ในอินทริยยมกนั้นพึงทราบการกำหนดพระบาลี โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธยมกเป็นต้น.
               ก็แม้ในอินทริยยมกนี้ มหาวาระ ๓ มีปัณณัตติวาระเป็นต้น และอนันตรวาระ ที่เหลือก็เป็นเช่นกับที่มาแล้วในยมกทั้งหลายมีขันธยมกเป็นต้น พร้อมด้วยประเภทแห่งกาลเป็นต้น แต่ว่ายมกทั้งหลายมีมากกว่าธาตุยมกเพราะความที่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีมาก ก็ท่านไม่ประกอบ ชิวหายตนะและกายายตนะ กับด้วยจักขวายตนะและจักขุธาตุ ในนัยอันมีจักขวายตนะและจักขุธาตุเป็นมูล ในปุคคลวาระเป็นต้น ในหนหลัง และไม่ถือเอายมกทั้งหลาย มีชิวหายตนะและกายายตนะเป็นมูล ฉันใด แม้ในอินทริยยมกนี้ ท่านก็ไม่ประกอบชิวหินทรีย์และกายินทรีย์ ในนัยอันมีจักขุนทรีย์เป็นมูล และไม่ถือเอายมกทั้งหลายที่มีชิวหินทรีย์และกายินทรีย์เป็นมูล ฉันนั้น
               พึงทราบเหตุในการไม่ถือเอายมกทั้งหลายเหล่านั้น ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในยมกนั้นนั่นแหละ.
               ส่วนมนินทรีย์ พึงทราบว่า ท่านประกอบแล้วด้วยมูลทั้งหลายมีจักขุนทรีย์เป็นมูลเป็นต้น ฉันใด แม้กับมูลทั้งหลายมีอิตถินทรีย์เป็นมูล ก็ฉันนั้นนั่นแหละ มนินทรีย์ย่อมถึงการประกอบ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านไม่ประกอบแล้ว โดยลำดับ บทที่วางไว้ (แต่) ประกอบไว้ในที่สุดกับมูลทั้งหลายมีจักขนุทรีย์เป็นต้น แม้ทั้งหมด.
               ท่านประกอบอิตถินทรีย์กับจักขุนทริย์, ปุริสินทรีย์กับจักขุนทรีย์, ชีวิตินทรีย์กับจักขุนทรีย์, สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ไม่มีในปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ถือเอา.
               โสมนัสสินทริย์ อุเบกขินทรีย์ ท่านถือเอาแล้วในปฏิสนธิ เพราะเกิดมีพร้อมกับการเกิดขึ้น อินทรีย์ ๕ อย่างมีสัทธินทรีย์เป็นต้นก็เหมือนอย่างนั้น อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตร ๓ อย่าง ท่านก็ไม่ถือเอา เพราะไม่มีในปฏิสนธิ อินทรีย์เหล่าใดท่านถือเอาแล้วด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พึงทราบการนับยมกในนัยอันมีจักขุนทรีย์เป็นมูลในอินทริยยมกนี้ ด้วยประการฉะนี้ ก็ในที่มี้พึงทราบการนับยมกในนัยอันมีจักขุทรีย์เป็นมูลในที่นี้ฉันใด ในที่ทั้งปวงก็ฉันนั้น พึงทราบการกำหนดพระบาลีในวาระทั้งหลายอย่างนี้ก่อนว่า ก็ยมกเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วควรนับยมกทั้งหลายด้วยสามารถแห่งยมกเหล่านั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนับ พึงนับด้วยสามารถแห่งโมฆะปุจฉา.
               ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความนี้ พึงทราบนัยมุขนี้ดังต่อไปนี้.
               คำว่า สจกฺขุกานํ น อิตฺถีนํ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งสัตว์ทั้งหลายที่มีรูป มีพรหมปาริสัชชาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งบุรุษเพศและผู้ไม่มีเพศ เพราะว่าอิตถินทรีย์ย่อมไม่เกิดแก่พรหม บุรุษเพศ และผู้ไม่มีเพศเหล่านั้น.
               คำว่า สจกฺขุกานํ น ปุริสานํ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งรูปพรหมด้วย แห่งสตรีเพศและบุคคลผู้ไม่มีเพศด้วย เพราะว่า ปุริสินทรีย์ย่อมไม่เกิดแก่รูปพรหม สตรีและผู้ไม่มีเพศเหล่านั้น.
               คำว่า อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ชีวิตินฺทริยํ อุปฺปชฺชติ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ทั้งหลายในเอกโวการภพ จตุโวการภพและในกามธาตุ.
               คำว่า สจกฺขุกานํ วินา โสมนสฺเสน ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วยมหาวิบากปฏิสนธิ ๔ ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขา.
               คำว่า สจกฺขุกานํ วินา อุเปกฺขาย ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ปฏิสนธิพร้อมด้วยโสมนัส.
               คำว่า อุเปกฺขาย อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอเหตุกปฏิสนธิ.
               คำว่า อเหตุกานํ ท่านกล่าวแล้วเพราะความไม่มีแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธินทรีย์เป็นต้น กับด้วยอเหตุกปฏิสนธิ.
               จริงอยู่ ในอเหตุกปฏิสนธิ ย่อมไม่มีศรัทธา สติ ปัญญาแน่นอน แต่สมาธิและวิริยะ ย่อมไม่ถึงความเป็นอินทรีย์.
               คำว่า สเหตุกานํ อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจคัพภเสยยกสัตว์ และพรหมที่ไม่มีรูป ก็พวกสเหตุกะอื่นชื่อว่า อจกฺขุโก = ไม่มีจักขุ ย่อมไม่มี.
               คำว่า สจกฺขุกานํ อเหตุกานํ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ในอบายด้วยสามารถแห่งโอปปาติกะ.
               คำว่า สจกฺขุกานํ ญาณวิปฺปยุตฺตานํ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ที่ปฏิสนธิด้วยเหตุสอง ในกามธาตุ.
               คำว่า สจกฺขุกานํ ญาณสมฺปยุตฺตานํ กล่าวหมายเอารูปพรหมด้วย เทวดาและมนุษย์ในกามาวจรด้วย.
               คำว่า ญาณสมฺปยุตฺตานํ อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวหมายเอาอรูปพรหม และติเหตุกสัตว์ผู้เกิดในครรภ์.
               ในชีวิตินทรีย์มูล คำว่า วินา โสมนสฺเสน อุปฺปชฺชนฺตานํ ท่านกล่าวหมายเอาชีวิตินทรีย์แม้ทั้งสองอย่าง.
               คำว่า ปวตฺเต โสมนสฺสวิปฺปยุตฺตจิตฺตสฺส อุปฺปาทกฺขเณ ท่านกล่าวหมายเอาอรูปชีวิตินทรีย์.
               พึงทราบการประกอบ ชีวิตินทรีย์ด้วยสามารถปฏิสนธิและปวัตติ แม้ในที่ทั้งปวงโดยนัยนี้ แม้ในมูลทั้งหลายมีโสมนัสสินทรีย์เป็นมูลเป็นต้น พึงถือเอาเนื้อความด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิและปวัตตินั่นแหละ แต่ในปฏิโลมนัย ในนิโรธวาระ พึงทราบการเกิด การไม่เกิด การดับและการไม่ดับ ในจุติ ปฏิสนธิและปวัตติ แม้ทั้ง ๓ กาลด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วย เหล่าอื่นด้วยตามที่ได้.
               ในอนาคตวาระ คำว่า เอเตเนว ภาเวน ดังนี้ อธิบายว่า ด้วยการถือเอาปุริสปฏิสนธินั่นแหละ เพราะไม่ถึงซึ่งอิตถีภาวะ ในลำดับด้วยปุริสภาวะนั้นนั่นแหละ.
               คำวิสัชนาว่า กติจิ ภเว ทสฺเสตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ อธิบายว่า บุรุษใดถือเอาแล้วซึ่งปฏิสนธิในภพไรๆ ไม่ถึงแล้วซึ่งอิตถีภาวะ จักปรินิพพานเทียว (หมายความว่าเกิดในภพใดด้วยเพศใด จักปรินิพพานด้วยเพศนั้นในภพนั้น)
               แม้ในปัญหาที่สองก็นัยนี้ ก็บทว่า มนินทรีย์ด้วยไม่เกิดในภังคขณะแห่งอุปัตติจิตของสุทธาวาสพรหม ดังนี้ ในอดีตวาระด้วยปัจจุบันวาระ (ปัจจุปันนาตีตวาระ) อธิบายว่า บัณฑิตไม่ถือเอาเนื้อความด้วยอำนาจการก้าวล่วงอุปาทขณะเหมือนกับในจิตตยมก แต่ควรถือเอาด้วยอำนาจแห่งการไม่เคยเกิดขึ้นในภพนั้น พึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระ แม้ทั้งหมดโดยนัยมุขนี้.
               ก็ในปริญญาวาระ ท่านแสดงจักขุโสตยมกอย่างเดียวเท่านั้น ในมูลทั้งหลายมีจักขุมูลเป็นต้น ก็เพราะท่านแสดงอินทรีย์ทั้งหลายที่บุคคลไม่ควรกำหนดรู้ ที่เป็นโลกิยอัพยากตะด้วย ที่เจือด้วยโลกิยอัพยากตะด้วย แม้ที่เหลือ เหตุนั้นท่านจึงแสดงอินทรีย์ ที่ท่านไม่แสดงเหล่านั้น โดยนัยนี้นั่นเทียว ก็เพราะอกุศลเป็นธรรมอันบุคคลพึงละโดยส่วนเดียว กุศลพึงเจริญโดยส่วนเดียว โลกุตตระอันเป็นอัพยากตะอันบุคคลพึงทำให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมละโทมนัสสินทรีย์ ย่อมเจริญอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งอัญญาตาวินทรีย์ ก็อัญญินทรีย์บุคคลควรเจริญก็มี ควรทำให้แจ้งก็มี อัญญินทรีย์นั้น ท่านถือเอาด้วยอำนาจการภาวนา (การทำให้เจริญ).
               ในคำทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า เทฺว ปุคฺคลา ได้แก่ ผู้พร้อมเพรียงด้วยสกทาคามี และผู้พร้อมเพรียงด้วยอรหัตตมรรค ในบุคคลทั้งสองนั้น คนหนึ่งชื่อว่า ย่อมไม่ละโทมนัสสินทรีย์ เพราะไม่สามารถตัดขาดได้ คนหนึ่งชื่อว่า ย่อมไม่ละโทมนัส เพราะความที่ท่านละโทมนัสสินทรีย์แล้ว.
               บทว่า จกฺขุนฺทฺริยํ น ปริชานาติ ได้แก่ย่อมไม่รู้ทั่ว เพราะความที่แห่งท่านไม่สามารถยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำวิสัชนาทั้งปวงโดยนัยนี้.
               อรรถกถาอินทริยยมก จบ.               

               นิคมคาถา               
               ก็หญิงชายผู้ใดถึงพร้อมด้วยกิจดำรงอยู่ในโอวาทของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธะพระองค์ใดผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หญิงชายผู้นั้น กำหนดตั้งมั่นในโอวาทของพระจอมมุนีไว้ดีแล้ว ย่อมเป็นผู้ก้าวล่วงอำนาจของพระยายม. พระสัมมาสัมพุทธะผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งปวง ผู้ไม่มีมลทินอันจะนำไปสู่อำนาจของพระยายม เสด็จประทับอยู่ท่ามกลางเทวบริษัทหมู่ใหญ่ในเทวบุรี ทรงประกาศปกรณ์ชื่อว่ายมก ฉันใด ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) ปรารภอรรถกถาแห่งปกรณ์ยมกนั้น เพื่อแสดงวิธีกำหนดพระบาลีและนัยแห่งอรรถในคำปุจฉาวิสัชนา.
               บัดนี้ อรรถกถาแห่งปกรณ์นี้นั้นถึงความสำเร็จแล้วด้วยแบบแผนมีประมาณ ๕ ภาณวาร โดยปราศจากอันตรายในโลกที่มีอันตรายมากฉันใด ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสำเร็จในหิตานุหิตประโยชน์ พรั่งพร้อมด้วยความสุข และขอมโนรถแม้ทั้งปวงของสรรพสัตว์ทั้งหลายจงถึงความสำเร็จฉันนั้น เทอญ.

               อรรถกถาแห่งยมก จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๒ อินทริยยมก ปัณณัตติวาร จบ.
อ่านอรรถกถา 39 / 1อ่านอรรถกถา 39 / 378อรรถกถา เล่มที่ 39 ข้อ 379อ่านอรรถกถา 39 / 488อ่านอรรถกถา 39 / 1445
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=39&A=3594&Z=5501
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=8713
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=8713
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :