ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 126อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 127อ่านอรรถกถา 4 / 128อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช

               อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา               
               พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้ :-
               นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทวสมบัติ ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาคผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศลวิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุนกับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.
               บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.
               บทว่า ชิคุจฺฉติ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ.
               หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นออกไปแล้ว.
               อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.
               ข้อว่า วิสฺสฏฺโฐ นิทฺทํ โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยังไม่ออก นาคนั้นไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้วจึงปล่อยสติ วางใจคือหมดความระแวง ดำเนินไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.
               สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้นด้วยอำนาจความกลัว ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.
               สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น ท่านมิได้ทำการลบ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาคชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือไม่เป็นผู้มีธรรมอันงอกงามในธรรมวินัยนี้ เพราะเป็นผู้ไม่ควรแก่ฌานวิปัสสนาและมรรคผล.
               บทว่า สชาติยา ได้แก่ นางนาคนั่นเอง.
               แต่ว่า เมื่อใดนาคนั้นเสพเมถุนด้วยชาติอื่น ต่างโดยชนิดมีหญิงมนุษย์เป็นต้น เมื่อนั้นย่อมเป็นเหมือนเทพบุตร. ส่วนคำว่า ปัจจัย ๒ อย่างในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการชี้กรรมซึ่งปรากฏตามสภาพเนืองๆ ในประวัติกาล. และกรรมซึ่งปรากฏตามสภาพ ย่อมมีแก่นาคใน ๕ กาล คือ เวลาปฏิสนธิ ๑ เวลาที่ลอกคราบ ๑ เวลาที่เสพเมถุนด้วยนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน ๑ เวลาที่วางใจหยั่งลงสู่ความหลับ ๑ เวลาจุติ ๑.
               ในคำว่า ติรจฺฉานคโต ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า
               จะเป็นนาค หรือจะเป็นสัตว์พิเศษผู้ใดผู้หนึ่งมีสุบรรณมาณพเป็นต้นก็ตามที. ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งมิใช่มนุษยชาติโดยที่สุดแม้ท้าวสักกเทวราช บรรดามีทั้งหมดเทียว พึงทราบว่า เป็นดิรัจฉานในอรรถนี้ ผู้นั้นอันภิกษุทั้งหลายไม่ควรให้อุปสมบท ไม่ควรให้บรรพชา แม้อุปสมบทแล้ว ก็ควรให้ฉิบหายเสีย.

               อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 126อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 127อ่านอรรถกถา 4 / 128อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3517&Z=3550
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1997
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1997
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :