ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 35อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 37อ่านอรรถกถา 4 / 56อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง

               อรรถกถาอุรุเวลกัสสปาทิวัตถุ               
               บทว่า ปมุโข ประมุข คือเป็นหัวหน้า.
               บทว่า ปาโมกฺโข ปาโมกข์ มีความว่า เป็นผู้สูงสุด คือมีปัญญาผ่องแผ้ว.
               บทว่า อนุปหจฺจ ไม่ทำลายแล้ว ได้แก่ไม่ให้เสีย.
               สองบทว่า เตชสา เตชํ มีความว่า ข่มเดชแห่งนาคด้วยเดชของตน.
               บทว่า ปริยาเทยฺยํ มีความว่า พึงครอบงำเสีย หรือพาให้วอดวายไป.
               บทว่า มกฺขํ ได้แก่ ความโกรธ.
               ข้อว่า น เตฺวว จ โข อรหา ยถา อหํ มีความว่า บุคคลผู้เช่นดังเราสำคัญตนว่า เราเป็นอรหันต์ อวดอ้างอยู่ฉันใด จะได้เป็นอรหันต์ฉันนั้น หามิได้ทีเดียว.
               สองบทว่า อชฺชุณฺเห อคฺคิสรณมฺหิ มีความว่า เราพึงอยู่ตลอดวันหนึ่งในวันนี้.
               บทว่า ผาสุกาโม คือ มุ่งจะเกื้อกูล.
               บทว่า สุมานโส ได้แก่ ผู้มีใจประกอบพร้อมด้วยปีติและโสมนัส.
               บทว่า น วิมโน ได้แก่ ผู้มีใจดี. อธิบายว่า ใจที่โทสะไม่ครอบงำ.
               สองบทว่า อคฺยาคารํ อุทิจฺจเร มีความว่า เรือนไฟลุกโพลง.
               บทว่า ชฏิลา เชื่อมกับบทนี้ว่า ภณนฺติ.
               หลายบทว่า อหินาคสฺส อจฺจิโย น โหนฺติ มีความว่า เปลวไฟแห่งนาคมีแสงไม่รุ่งเรือง มีสีผิดรูป.
               บทว่า ผลิกวณฺณาโย คือมีวรรณะเหมือนแก้วผลึก.
               บทว่า องฺคิรสสฺส มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอังคีรส เหตุมีพระองค์เป็นแดนสร้านออกแห่งรัศมี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่าอังคีรส พระองค์นั้น.๑-
               สองบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา มีความว่า เมื่อราตรีสิ้นไปมากแล้ว.
               อธิบายว่า ยังเหลืออยู่น้อย.
               บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา คือ มีวรรณะงาม ได้แก่มีวรรณะน่าชอบใจนัก.
               บทว่า เกวลกปฺปํ ได้แก่ ทั้งสิ้น คือสิ้นเชิง.
               ชฎิลอุรุเวลกัสสปะ หมายถึงรัศมีแห่งวรรณะของท้าวมหาราชทั้ง ๔ กล่าวว่า ปุริมาหิ วณฺณนิภาหิ.
               บทว่า ปาณินา คือด้วยมือ.
               หลายบทว่า กกุเธ อธิวตฺถา เทวตา ได้แก่ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นรกฟ้า.
               บทว่า วิสฺสชฺเชยฺยํ มีความว่า พึงคลี่ผึ่งไว้เพื่อต้องการจะให้แห้ง.
               ต้นรกฟ้านั้นน้อมลงราวกะว่าทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าขอพระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์มาเถิด เพราะฉะนั้น ต้นรกฟ้านั้นจึงชื่อว่า อาหรหตฺโถ น้อมลงดุจทูลว่า ขอจงทรงเอื้อมพระหัตถ์มา.
               บทว่า อุยฺโยเชตฺวา ได้แก่ทิ้ง. ภาชนะสำหรับติดไฟ เรียกมัณฑามุขี.๒-
               บทว่า จิรปฏิกา มีความว่า จำเดิมแต่กาลนาน.
               บทว่า เกสมิสฺสํ เป็นต้น มีความว่า ผมทั้งหลายนั่นเองชื่อว่า เกสมิสฺสํ มวยผม.
               ทุกบทมีนัยเหมือนกัน.
               หาบสำหรับใส่บริขารของดาบส ชื่อว่า ขาริกาชะ.
____________________________
๑- ตั้งวิเคราะห์ให้บทปลงเป็นปฐมาวิภัติก่อนแล้ว จึงใช้สรรพนามโยคตามรูปเดิมทีหลัง อนึ่ง ในวิเคราะห์นี้สงสัยว่าจะตกศัพท์ ฉัฏฐีวิภัติไปศัพท์หนึ่ง.
๒- พระบาลีเป็น มนฺทามุขิโย โบราณว่า เชิงกราน.

               อรรถกถาอุรุเวลกัสสปาทิวัตถุ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 35อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 37อ่านอรรถกถา 4 / 56อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=864&Z=1215
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=552
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=552
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :