ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 9อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 10อ่านอรรถกถา 40 / 11อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อุปนิสสยปัจจัย

               วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย               
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในอุปนิสสยปัจจัยนิทเทสต่อไป.
               คำว่า ปุริมา ปุริมา เกิดก่อนๆ ความว่า ย่อมได้ธรรมที่ดับไปโดยลำดับด้วยดี ในอนันตรูปนิสปัจจัย. ธรรมที่เกิดก่อนว่า ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งวิถีต่างกัน ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัยและปกตูปนิสสยปัจจัย. หมวดสามเหล่านั้น (คืออุปนิสสยะทั้งหลาย) ย่อมได้ในกุศลบทกับกุศลบท. ส่วนธรรมที่ดับไปในลำดับด้วยดี ย่อมไม่ได้ในอกุศลบทกับกุศลบท. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง.
               จริงอยู่ คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัยและปกตูปนิสสยปัจจัย.
               ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมยินดี เพลิดเพลินอย่างแรงกล้า ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งกรรมที่เคยประพฤติมาก่อน ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, บุคคลออกจากฌาน ย่อมยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นอย่างหนัก ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่างหนัก ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.
               ที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ยังมานะให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ยังมานะให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิและความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมหมวดสามย่อมได้ในอัพยากตบทกับกุศลบท ในอกุศลบทกับอกุศลบทก็เหมือนกัน. แต่ธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ย่อมไม่ได้ในกุศลบทกับอกุศลบท. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง.
               จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเฉพาะปกตูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น อันมาแล้วในปัญหาวาระโดยนัยเป็นต้นว่า อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. ที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะย่อมให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ยังฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น, เข้าไปอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาย่อมให้ทาน ฯลฯ ย่อมให้เกิดสมาบัติเกิดขึ้น, ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, บุคคลครั้นฆ่าสัตว์แล้วย่อมให้ทานเพื่อลบล้างกรรมนั้น.
               แต่อกุศล ย่อมไม่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยแก่กุศล. ถามว่า เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า เพราะความที่แห่งกุศลนั้นจะทำอกุศลนั้นให้มีกำลังแรงกล้า แล้วให้เป็นไปย่อมไม่ได้ (กุศลจะทำอกุศลให้เป็นอธิบดีอารมณ์ไม่ได้).
               ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ได้เหมือนแม้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ในอัพยากตบทกับอกุศลบท ย่อมไม่ได้เฉพาะอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น. เพราะว่าอัพยากตธรรมย่อมไม่ทำอกุศลให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก. ก็เพราะความเป็นอนันตรปัจจัยย่อมมีได้ ฉะนั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เกสญฺจิ. แต่อุปนิสสยปัจจัยทั้งสาม ย่อมได้ในนัยสามคือในอัพยากตบทกับอัพยากตบท กุศลบทกับอัพยากตบท อกุศลบทกับอัพยากตบท.
               สองบทนี้คือ ปฺคฺคโลปิ เสนาสนมฺปิ กล่าวคือ บุคคลก็ดี เสนาสนะก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย.
               จริงอยู่ บุคคลและเสนาสนะทั้งสองนี้เป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศล. ก็แลความที่บุคคลและเสนาสนะนั้นเป็นปัจจัยในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการเป็นปัจจัยโดยอ้อมๆ.
               พรรณนาบาลีในอุปนิสสยปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.
               ก็ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ทั้งหมด พร้อมกับบัญญัติบางอย่าง. แต่เมื่อว่าโดยวิภาคมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเป็นต้น.
               บรรดาอุปนิสสยปัจจัย ๓ อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัยไม่แตกต่างจากอารัมมณาธิปติปัจจัย เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง. อนันตรูปนิสสยปัจจัยไม่แตกต่างจากอนันตรปัจจัย. แม้อนันตรูปนิสสยปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาก็พึงถือเอาโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังเหมือนกัน.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันแห่งปัจจัยทั้งสองนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอธิปติปัจจัยและอนันตรปัจจัยเหล่านั้น.
               ก็เมื่อว่า ด้วยอำนาจแห่งชาติ ปกตูปนิสสยปัจจัยมี ๕ อย่างโดยจำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยาและรูป. ก็แลปกตูปนสสยปัจจัยที่จำแนกโดยอำนาจแห่งชาติมีกุศลเป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งธรรมที่เกิดในภูมิต่างๆ แล้วมีมากมาย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอุปนิสสยปัจจัยนี้อย่างนี้ก่อน.
               ก็ในปกตูปนิสสยปัจจัยที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กุศลอันเป็นไปในภูมิสาม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือแก่กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากและกิริยา. โลกุตตรธรรมไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลธรรมอย่างเดียว. แต่เป็นปัจจัยแก่อกุศลของคนอื่นได้โดยนัยเป็นต้นว่า โลกุตตรธรรม อันอาจารย์ของข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นแล้ว หรือโดยนัยนี้ว่า โลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เพราะยังความริษยาให้เกิดขึ้นในวิโมกข์อันยอดเยี่ยมของบุคคลนั้น อกุศลธรรมเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด.
               อนึ่ง วิบากอันเป็นไปในภูมิสามก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๔ เหมือนกัน. ในโลกุตตรวิบาก ผลเบื้องต่ำสามไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้น. ผลเบื้องสูงคืออรหัตตผลไม่เป็นปกตูนิสปัจจัย แม้แก่กุศล. ก็ตามนัยก่อนนั่นเอง โลกุตตรธรรมอันเกิดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โลกุตตรวิบากทั้งหมดในสันดานของบุคคลนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อรูปขันธ์มีกุศลเป็นต้นทั้งหมด. ปกตูปนิสสยะ กล่าวคือกิริยาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์มีอกุศลเป็นต้น อันเป็นไปในภูมิ ๔. ปกตูปนิสสยะคือรูปก็เหมือนกัน. แต่รูปเองย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสสยปัจจัย ตามนัยอันมาแล้วในมหาปกรณ์ ชื่อว่าปัฏฐานนี้. จะกล่าวว่าได้โดยปริยายที่มาแล้วในพระสูตรก็ควร.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอุปนิสสยปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

               วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อุปนิสสยปัจจัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 9อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 10อ่านอรรถกถา 40 / 11อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=150&Z=166
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=9536
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=9536
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :