ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 164อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 165อ่านอรรถกถา 5 / 166อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ
เรื่องพระอุปนนท์

               เรื่องพระอุปนนท์               
               สองบทว่า คามกาวาสํ อคมาสิ มีความว่า พระอุปนันทศากยบุตรนั้นกำหนดแล้วเทียว ซึ่งกาลเป็นที่แบ่งจีวรว่า แม้ไฉน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อแบ่งจีวรกัน พึงทำความสงเคราะห์แก่เราบ้าง? ดังนี้ จึงได้ไป.
               บทว่า สาทิยิสฺสสิ คือ จักถือเอาหรือ?
               จริงอยู่ ในเรื่องนี้ ส่วนย่อมไม่ถึงแก่พระอุปนันทศากยบุตรนั้น แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ท่านจักรับหรือ? ดังนี้ ก็ด้วยทำในใจว่า พระเถระนี้เป็นชาวกรุง เป็นธรรมกถึก มีปากกล้า.
               ก็วินิจฉัยในข้อว่า โย สาทิเยยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               เป็นลหุกาบัติก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จีวรที่ถือเอาแล้ว ก็ควรคืนให้ในที่ซึ่งตนถือเอา แม้หากว่า จีวรเหล่านั้นเป็นของเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุนั้นแท้. ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้ เมื่อเธอไม่ให้ พึงให้ปรับตามราคาของในเมื่อทอดธุระ.
               บทว่า เอกาธิปฺปายํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว คือส่วนแห่งบุคคลผู้เดียวเท่านั้น.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงวางแบบ จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงอาการสำหรับภิกษุจะพึงให้ส่วนเฉพาะบุคคลผู้เดียวนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สเจ อมุตฺร อุปฑฺฒํ อมุตฺร อุปฑฺฒํ มีความว่า หากว่า ภิกษุนั้นอยู่ในวัดตำบลละวันหนึ่งบ้าง ๗ วันบ้าง บุคคลผู้เดียวย่อมได้ส่วนใด ในวัดตำบลหนึ่งๆ พึงให้วัดละกึ่งส่วนๆ, จากส่วนนั้นๆ. ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว ชื่อเป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
               ข้อว่า ยตฺถ วา ปน พหุตรํ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในวัดหนึ่งรับแต่อรุณเท่านั้น โดยวาระ ๗ วันในวัดนอกนี้ ด้วยประการอย่างนี้เธอชื่อว่าอยู่มากกว่าในวัดก่อน; เพราะฉะนั้น พึงให้ส่วนจากวัดที่อยู่มากกว่านั้นแก่เธอ : ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลายวัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น ส่วนแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง (แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่างๆ กันทั้งปวง.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ เรื่องพระอุปนนท์ จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 164อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 165อ่านอรรถกถา 5 / 166อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=4313&Z=4356
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4990
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4990
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :