ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 83อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 86อ่านอรรถกถา 5 / 89อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
เรื่องเกณิยชฎิลเป็นต้น

               ว่าด้วยน้ำอัฏฐบาน               
               สองบทว่า กาเชหิ คาหาเปตฺวา มีความว่า ใช้คนให้ขนหม้อน้ำผลพุทราซึ่งปรุงดีแล้ว พันหม้อด้วยหาบห้าร้อย.
               คำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ เมื่อเธอไม่ดื่มน้ำปานะ ชื่อว่าไม่ยังวาทะให้เกิดขึ้นว่า พวกสาวกของพระสมณโคดม เป็นผู้มักมากด้วยปัจจัย, และชื่อว่าได้ทำความเคารพในเรา, และชื่อว่า ท่านทั้งหลายได้ยังความเคารพอันดีให้เกิดแก่เรา เราเลื่อมใสเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ ของท่านทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ แล้วตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ อย่าง.
               บรรดาน้ำปานะ ๘ อย่างนั้น อัมพปานะนั้นได้แก่น้ำปานะที่ทำด้วยน้ำผลมะม่วงดิบหรือสุก. ในมะม่วงดิบและมะม่วงสุก ๒ อย่างนั้น เมื่อจะทำด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น้ำ ผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้วกรอง ปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้น. อัมพปานะที่ภิกษุทำอย่างนี้ ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนอัมพปานะที่พวกอนุปสัมบันทำ ซึ่งภิกษุได้มารับประเคนในปุเรภัต ย่อมควร แม้ด้วยบริโภคเจืออามิสในปุเรภัต, ที่รับประเคนในปัจฉาภัต ย่อมควร โดยบริโภคปราศจากอามิส จนถึงเวลาอรุณขึ้น. ในน้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้.
               อนึ่ง ในน้ำปานะเหล่านั้น ชัมพุปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลหว้า.
               โจจปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด.
               โมจปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด.
               มธุกปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยรสชาติแห่งผลมะซาง. และมธุกปานะนั้น เจือน้ำจึงควร ล้วนๆ ไม่สมควร.
               มุททิกปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นผลจันทน์ในน้ำทำเหมือนอัมพปานะ.
               สาลุกปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้นทำ.
               ผารุสกปานะ นั้นได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.
               อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.

               ว่าด้วยรส ๔ อย่าง               
               ธัญญผลรส นั้นได้แก่ รสแห่งข้าว ๗ ชนิด.๑-
               ฑากรส นั้นได้แก่ รสแห่งผักที่สุก.
               จริงอยู่ รสแห่งผักที่เป็นยาวกาลิก ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. รสแห่งผักที่เป็นยาวชีวิกที่สุกพร้อมกับเนยใสเป็นต้น ที่รับประเคนเก็บไว้ ควรฉันได้เจ็ดวัน. แต่ถ้ารสแห่งผักนั้นสุกด้วยน้ำล้วน ควรฉันได้จนตลอดชีวิต. ภิกษุจะต้มผักที่เป็นยาวชีวิกนั้นให้สุก พร้อมกับนมสดเป็นต้นเองไม่ควร. แม้ที่ชนเหล่าอื่นให้สุกแล้ว ย่อมนับว่ารสผักเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า รสแม้แห่งผักซึ่งเป็นยาวกาลิก ที่คั้นในน้ำเย็นทำก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.
____________________________
๑- ๑. สาลิ (ศาลิ) ข้าวสาลี Rice. ๒. วีหิ (วฺรีหิ) ข้าวเปลือก Rice. Pabby. ๓. กุทรูส (กุทรุษ) หญ้ากับแก้ ข้าวชนิดหนึ่ง A kind of grain ๔. โคธูม (โคธูม) ข้าวละมาน Wheat. ๕. วรก (วรก) ลูกเดือย The bean Phaseolus triblobus. ๖. ยว (ยว) ข้าวยวะ Corn barleys. ๗. กงฺค หรือ กงฺคุ (กงฺคุ) ข้าวฟ่าง Panic seed.

               วินิจฉัยในข้อว่า ฐเปตฺวา มธุกปุปฺผรสํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               รสดอกมะซางจะสุกด้วยไฟ หรือสุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ตามย่อมไม่ควรในปัจฉาภัต ชนทั้งหลายถือเอารสดอกไม้อันใดซึ่งสุกแล้ว ทำให้เป็นน้ำเมา รสแห่งดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรแต่ต้น แม้ในปุเรภัต. ส่วนดอกมะซาง จะสดหรือแห้ง หรือคั่วแล้ว หรือคลุกน้ำอ้อยแล้วก็ตามที เขายังไม่ทำให้เป็นน้ำเมา จำเดิมแต่ดอกชนิดใด ดอกชนิดนั้นทั้งหมด ย่อมควรในปุเรภัต รสอ้อยที่ไม่มีกาก ควรในปัจฉาภัต. รส ๔ อย่างเหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอนุญาตน้ำปานะ ได้ทรงอนุญาตไว้ด้วยประการฉะนี้แล.

               ว่าด้วยผักและแป้ง               
               เรื่องแห่งมัลละชื่อโรชะ ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้นสองบทว่า สพฺพญฺจ ฑากํ ได้แก่ ผักชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งทอดด้วยเนยใสเป็นต้นก็ดี ไม่ได้ทอดก็ดี.
               สองบทว่า สงฺครํ อกํสุ มีความว่า ได้ทำข้อบังคับ.
               หลายบทว่า อุฬารํ โข เต อิทํ มีความว่า การต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านนี้ เป็นกิจดีแล.
               หลายบทว่า นาหํ ภนฺเต อานนฺท พหุกโต มีความว่า เจ้าโรชะนั้นแสดงว่า เราจะได้มาที่นี่ด้วยความเลื่อมใสและความนับถือมาก ซึ่งเป็นไปในพระพุทธเจ้าเป็นต้นหามิได้.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ เรื่องเกณิยชฎิลเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 83อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 86อ่านอรรถกถา 5 / 89อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=2364&Z=2519
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4166
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4166
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :