ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 296อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 317อ่านอรรถกถา 7 / 324อ่านอรรถกถา 7 / 664
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ
มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ เป็นต้น

               [ว่าด้วยการใช้เสนาสนะ]               
               เครื่องเช็ดเท้า มีสัณฐานคล้ายลูกล้อ ซึ่งทำหุ้มด้วยผ้ากัมพลเป็นต้นชื่อว่า จักกลี.
               ข้อว่า อลฺเลหิ ปาเทหิ มีความว่า น้ำย่อมปรากฏในที่ซึ่งเท้าเช่นใดเหยียบแล้ว, พื้นก็ดี เสนาสนะก็ดี ที่ทำด้วยการโบกฉาบ อันภิกษุไม่พึงเหยียบด้วยเท้าเช่นนั้น. แต่ถ้าว่า ปรากฏแต่เพียงรอยน้ำจางๆ เท่านั้น น้ำหาปรากฏไม่, ควรจะเหยียบได้. อนึ่ง จะเหยียบผ้าเช็ดเท้า แม้ด้วยเท้าอันเปียกชุ่ม ก็ควรเหมือนกัน.
               ภิกษุผู้สวมรองเท้า ไม่ควรเหยียบในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้วทีเดียว.
               ข้อว่า โจฬเกนปลิเวฐตุํ มีความว่า ที่พื้นปูนขาวหรือที่พื้นที่โบกฉาบ ถ้าไม่มีเสื่ออ่อนหรือเสื่อลำแพน, พึงเอาผ้าพันเท้า (เตียงและตั่ง) เสีย. เมื่อผ้านั้นไม่มี แม้ใบไม้ก็ควรลาด. และเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ลาดอะไรๆ เลย วางลงไป.
               ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นในอาวาสนั้น วางบนพื้นแม้ลาดแล้ว แต่ใช้สอย ทั้งที่มีเท้ามิได้ล้าง, จะใช้สอยอย่างนั้นบ้าง ก็ควร.
               ข้อว่า น ภิกฺขเว ปริกมฺมกตา ภิตฺติ มีความว่า ฝาที่ทาขาวหรือฝาที่ทำจิตรกรรมก็ตาม ไม่ควรพิง, และจะไม่ควรพิงแต่ฝาอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้, แม้ประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี พนักอิงก็ดี เสาศิลาก็ดี เสาไม้ก็ดี ภิกษุไม่รองด้วยจีวรหรือของบางอย่างแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะพิงเหมือนกัน.
               ข้อว่า โธตปาทกา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าล้างแล้ว ย่อมรังเกียจที่จะนอน ในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้ว. ปาฐะว่า โธตปาทเก บ้างก็มี.
               คำว่า โธตปาทเก นั้น เป็นชื่อของที่จะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้ว.
               ข้อว่า ปจฺจตฺถริตฺวา มีความว่า พื้นที่โบกฉาบก็ดี เสนาสนะ ก็เครื่องรองพื้นก็ดี เตียงตั่งของสงฆ์ก็ดี ต้องเอาเครื่องปูลาดของตนลาดรองเสียก่อน จึงค่อยนอน.
               ถ้าแม้เมื่อภิกษุกำลังหลับ เครื่องปูลาดถลกเลิกไป อวัยวะแห่งสรีระบางส่วนถูกเตียงหรือตั่งเข้า, เป็นอาบัติเหมือนกัน. แต่เมื่อขนถูกเป็นอาบัติตามจำนวนขน.๑- แม้เมื่อพิงด้วยมุ่งใช้สอยเป็นใหญ่ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะถูกหรือเหยียบด้วยฝ่ามือฝ่าเท้า ควรอยู่. เตียงตั่งกระทบกายของภิกษุผู้กำลังขนไปไม่เป็นอาบัติ.
____________________________
๑- ถ้าปรับอาบัติเพียงจำนวนครั้ง จักพอดีกระมัง? เพราะในการปรับอาบัติอื่น ท่านไม่ปรับด้วยเส้นขนอย่างนี้.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ เป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 296อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 317อ่านอรรถกถา 7 / 324อ่านอรรถกถา 7 / 664
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=2803&Z=2836
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8102
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8102
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๖  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :