ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๗. วนปัตถสูตร

๗. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า
[๑๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายว่าด้วย การอยู่ป่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า [๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่ง หนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ๑- ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็น แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๒- ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น ได้โดยยาก’ ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่ในเวลากลางคืน หรือใน เวลากลางวัน @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๓ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๒๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๗. วนปัตถสูตร

[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็น แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่า ทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดน เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเรา เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้วควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่
เหตุผลของการอยู่ป่า
[๑๙๓] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อ เธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัย ป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๗. วนปัตถสูตร

ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- บริขาร ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยัง ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็ บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้ว ควรอยู่ในป่าทึบนั้น ไม่ควรหลีกไป [๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอ เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิด ขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อ เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด เยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’ ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป
เหตุผลการอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๗. วนปัตถสูตร

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น ได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก’ ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกลา ควรหลีกไปในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ไม่ควร ติดตามบุคคลนั้นเลย [๑๙๖] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น ได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ สิ้นไปและเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นถึงรู้แล้วก็ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นเลย [๑๙๗] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อ เธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๗. วนปัตถสูตร

ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุ นั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยัง ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็ บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นถึงแม้ จะรู้แล้วก็ควรติดตามบุคคลนั้น ยังไม่ควรหลีกไป [๑๙๘] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็สิ้นไปและเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช- บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’ ภิกษุนั้นควรติดตาม บุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปแม้จะถูกขับไล่ก็ตาม” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วนปัตถสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=12&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=3631&Z=3751                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=234              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=234&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=10118              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=234&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=10118                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i234-e1.php# https://suttacentral.net/mn17/en/sujato https://suttacentral.net/mn17/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :