ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. ปฐมสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๑
[๑๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี- เสนา๑- ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง สดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี- เสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ @เชิงอรรถ : @ จตุรงคินีเสนา หมายถึงองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๕/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๔. ปฐมสังคามสูตร

พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำ สงครามต่อกัน สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง สาวัตถี ราชธานีของพระองค์ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้า ปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า ‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้น กาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิ- โกศลทรงทำสงครามต่อกัน สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง สาวัตถี ราชธานีของพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพ่ายแพ้มาแล้ว อย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ตลอดราตรีนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๕. ทุติยสังคามสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข๑-
ปฐมสังคามสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๒
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัด จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี- เสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงคราม ต่อกัน สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มี พระดำริดังนี้ว่า “ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะ ประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึด พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธแล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป” ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เที่ยวไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๐๑/๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๘. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=125              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2657&Z=2693                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=368              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=368&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3824              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=368&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3824                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.014.than.html https://suttacentral.net/sn3.14/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :