ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. พกสูตร
ว่าด้วยพกพรหม
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พกพรหมได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า “ฐานะ แห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง เครื่องสลัดออก(จากทุกข์)อันยิ่งอย่างอื่นนอกจากฐานะ แห่งพรหมนี้ไม่มี” @เชิงอรรถ : @ ทักขิไณยบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงผู้ทำทักษิณาที่เขานำมาถวายให้มี @ผลมาก (วิสุทฺธิ. ๑/๑๕๖/๒๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายพระองค์จากพระเชตวันแล้วไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลัง เสด็จมาแต่ไกล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ นานๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมา ณ ที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่ เคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง เครื่องสลัดออก(จาก ทุกข์)อันยิ่ง อย่างอื่นนอกจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี” เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพกพรหมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมถึงความโง่เขลา แล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง กล่าวฐานะ แห่งพรหมที่ไม่ยั่งยืนว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่ไม่ติดต่อกันว่าติดต่อกัน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่ไม่คงที่ว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่มีความเคลื่อนเป็น ธรรมดาว่ามีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง ย่อมกล่าวเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)อันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี พกพรหมกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ องค์ บังเกิดในพรหมโลกนี้ เพราะบุญกรรม มีอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติและชราได้แล้ว การอุบัติในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งแห่งเวทนี้เป็นที่สุดแล้ว ชนมิใช่น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย พรหม เรารู้อายุ ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุท๑- ของท่านได้ดี พกพรหมกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด ล่วงชาติชราและความเศร้าโศกได้แล้ว อะไรเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ ขอพระองค์จงตรัสบอกศีลวัตร ซึ่งข้าพระองค์ควรรู้แจ้งด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. ข้อที่ท่านให้มนุษย์เป็นอันมาก ผู้กระหายน้ำซึ่งถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อนได้ดื่มน้ำ นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น ๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน ซึ่งถูกโจรจับที่ตระกูลเอณิ๒- @เชิงอรรถ : @ ดูมาตรานับในข้อ ๑๘๑ หน้า ๒๕๑ ในเล่มนี้ @ ตระกูลเอณิ ในที่นี้หมายถึงฝั่งแม่น้ำคงคา (สํ.ส.อ. ๑/๑๗๕/๒๐๐, สํ.ฏีกา ๑/๑๗๕/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น ๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลังแล้วช่วยปลดเปลื้องเรือ ซึ่งถูกนาคผู้ร้ายจับไว้ในกระแสของแม่น้ำคงคา เพราะความเอ็นดูในหมู่มนุษย์ นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น ๔. เราได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่านแล้วว่า มีความรู้ดี มีวัตร ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น พกพรหมกราบทูลว่า พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้าพระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสว ตั้งอยู่
พกสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๓๗-๒๔๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=175              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4590&Z=4653                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=566              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=566&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5125              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=566&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5125                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn6.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :