ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๗. ทสังคสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐
[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีมิจฉาสมาธิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี มิจฉาญาณ๑- สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวิมุตติ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี มิจฉาวิมุตติ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีสัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมา- วายามะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ ... สัตว์ ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวิมุตติคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวิมุตติ”
ทสังคสูตรที่ ๗ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันในที่ทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]
รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๗ สูตร คือ
๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสลีลสูตร ๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปถสูตร ๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร ๗. ทสังคสูตร
กัมมปถวรรคที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ มิจฉาญาณ ในที่นี้หมายถึงมิจฉาปัจจเวกขณญาณ (คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนธรรมที่ไม่ใช่ @มรรคผลและนิพพาน) (สํ.นิ.อ. ๒/๑๑๓/๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๐๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=108              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=4493&Z=4524                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=401              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=401&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3808              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=401&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3808                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i390-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn14.29/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :