ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๕. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. ปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิก- คหบดีดังนี้ว่า “คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริย- สาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรม อันประเสริฐ๑- ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน’ ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ ๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ สงบแล้วด้วยประการฉะนี้ ๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์สงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @ ญายธรรมอันประเสริฐ ในที่นี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท และอริยมรรคมีองค์ ๘ (สํ.นิ.อ. ๒/๔๑/๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการประพฤติผิด ในกามเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการประพฤติ ผิดในกามสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ๕. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุรา และเมรัย ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาทสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ เป็น อย่างไร คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”๑- @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณ ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส เพราะหักซี่กำแห่ง @สงสารคือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม และเพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ (ตาย) และอุบัติ @(เกิด) ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณ @ที่เป็นวิปัสสนา (๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ @(๕) เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดจิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๒. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” ๓. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ ถูกทาง๑- ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก” @เชิงอรรถ : @(๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ @จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ @(๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบ @ความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ @ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน @(๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่า ผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว @และยังมีอรรถว่าตรัสไว้ดี เพราะทรงกล่าวคำที่ควรในฐานะที่ควร @๕. ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความ @ดับโลก (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่า สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา @มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ @ด้วยประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน @สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส @(๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ @ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม @(๖) ทรงคายตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมี @ส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ @ยอดเยี่ยม (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) @ ปฏิบัติถูกทาง ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน (วิสุทฺธิ. ๑/๒๕๕/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๔. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ ถูกต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้ ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน”
ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๘๓-๘๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=1812&Z=1883                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=151              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=151&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1841              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=151&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1841                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i151-e.php# https://suttacentral.net/sn12.41/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.41/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :