ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๗. นฬกลาปิสูตร
ว่าด้วยกำไม้อ้อ
[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะพักอยู่ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นถึงเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออก จากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ- มหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชราและมรณะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่น กระทำให้ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ หามิได้ แต่เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี” “ท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชาติเกิดขึ้นเพราะอาศัย เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ” “ท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งชาติเกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี” “ท่านสารีบุตร ภพเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ฯลฯ อุปาทานเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... ตัณหาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... เวทนาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... ผัสสะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... สฬายตนะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่านามรูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำ เองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ” “ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี” “ท่านสารีบุตร วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง ที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” “เราเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง” “ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี” “อนึ่ง เราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง” “ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” “ท่านสารีบุตร ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร” “ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบเทียบให้ท่านฟัง บุรุษทั้งหลายผู้มีความรู้ในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยการเปรียบเทียบ เปรียบเหมือนไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยกันและกัน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนไม้อ้อทั้ง ๒ กำนั้น ถ้าดึงออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม ถ้าดึงออกอีกกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะ นามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้” “ท่านสารีบุตร สุภาษิตตามที่ท่านกล่าวมานี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ผมชื่นชมคำสุภาษิตของท่านสารีบุตรจำนวน ๓๖ เรื่องนี้”๑- “ท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานใน ปัจจุบัน’ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขารทั้งหลาย ... ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
นฬกลาปิสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ๓๖ เรื่องนี้ หมายถึงองค์ปฏิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ ซึ่งแต่ละองค์ท่านจำแนกออกเป็น ๓ เหตุ คือ (๑) การ @แสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ เรียกว่าคุณของธรรมกถึก @(๒) การปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย ฯลฯ เรียกว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (๓) ผลการปฏิบัติคือ @การบรรลุนิพพานเพราะความเบื่อหน่าย ฯลฯ เรียกว่า ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน (๑๒ x ๓ = ๓๖) @(สํ.นิ.อ. ๒/๖๗/๑๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๓๔-๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=3006&Z=3073                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=263              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=263&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3093              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=263&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3093                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i230-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.067.than.html https://suttacentral.net/sn12.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.67/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :