ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๙. ปาลิเลยยสูตร
ว่าด้วยป่าปาลิเลยยกะ
[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยัง กรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรง เก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ได้เข้าไป หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับ สั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม” ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ สมัยใด พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำ เสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม สมัยนั้น พระผู้มี พระภาคมีพระประสงค์จะประทับอยู่เพียงลำพัง จึงไม่ควรที่ใครๆ จะพึงติดตาม” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิเลยยกะ ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังอันงาม ต่อมา ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พากันกล่าวกับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ นานมาแล้วที่พวกผมได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะฟังธรรมีกถาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาค ณ โคนไม้รังอันงามในป่าปาลิเลยยกะ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ” พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุนั้นด้วยพระทัยจึงรับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการวิจัย (การเลือกเฟ้น) แสดง สติปัฏฐาน ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงสัมมัปปธาน ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงอิทธิบาท ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงอินทรีย์ ๕ ประการโดยการวิจัย แสดงพละ ๕ ประการโดยการวิจัย แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการโดยการวิจัย แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยการวิจัย ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการ วิจัยเช่นนี้ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยการวิจัยเช่นนี้ แต่ก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้ยังเกิดความคิดคำนึงว่า ‘เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดย ลำดับ’ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป แต่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัด เป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป แต่พิจารณาเห็นเวทนา โดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา เห็นสังขารในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความ เป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย ความเป็นอัตตา แต่มีทิฏฐิ (ความเห็น) อย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ ก็สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) นั้นจัดเป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย ความเป็นอัตตา ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้น ละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ แต่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเรา ก็จักไม่มี’ ก็อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) นั้นจัดเป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย ความเป็นอัตตา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

คงทน ไม่ผันแปร’ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’ แต่ยังมีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรม ก็ความเป็นผู้สงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมนั้นจัด เป็นสังขาร สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”
ปาลิเลยยสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=81              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2111&Z=2227                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=170              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=170&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7340              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=170&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7340                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i149-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.081.than.html https://suttacentral.net/sn22.81/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.81/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :