ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๒. ขณสูตร
ว่าด้วยขณะ
[๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอ ทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราเห็นนรก๒- ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุม @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งในภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปภายนอก @คำว่า “ความเพียร” หมายเอาทั้งความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน @ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดิน @จงกรมด้วยการนั่งตลอดวัน (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) และความเพียรทางจิต เช่น เพียรพยายาม @ผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะ @หลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) @ นรก ในที่นี้หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร

ในนรกทั้ง ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะ รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็น รูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่ น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้ แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นสวรรค์๑- ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้ เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์”
ขณสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ สวรรค์ ในที่นี้หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=115              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3253&Z=3276                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=214              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=214&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1111              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=214&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1111                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i213-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.135.than.html https://suttacentral.net/sn35.135/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.135/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :